โรงงานต่างๆ จะพากันหันมาออกแบบและผลิตจักรยานไฟฟ้ามากขึ้น เพราะมีตลาดที่กว้างขึ้นตามกระแสความนิยม แม้จะมีคู่แข่งรายใหญ่เป็นสินค้าจากญี่ปุ่น ซึ่งมีแกนนำเป็นแบรนด์ชั้นนำอย่างยามาฮ่า ซึ่งมีทั้งความน่าเชื่อถือในด้านเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย และมีความปลอดภัย แต่บริษัทของจีนก็ยังมีศักยภาพในด้านปริมาณเช่นเคย ที่สามารถครองตลาดได้มากกว่า โดยเฉพาะตลาดในประเทศ
จักรยานยี่ห้อฟูจิ ที่ผลิตในปี 1931
ตอนนี้ใครๆ ที่มาปักกิ่งก็จะเห็นจักยานไฟฟ้าวิ่งอยู่ในเลนส์จักรยานมากขึ้น และเวลาเดินถนนก็ขอให้ระวัง เพราะว่าจักรยานไฟฟ้านั้นไม่มีเสียงเครื่องยนต์เหมือนมอเตอร์ไซค์ มาไวไปไวเหมือนลมพัด และยิ่งวัยรุ่นเป็นคนขี่ ยังไงก็ยังเป็นวัยรุ่นไม่ว่าจะเป็นคนเชื้อชาติใดก็ตาม
สิ่งที่น่าสนใจมากในสำนักงานของ "บ้านเกิดจักรยาน" ที่เราได้ไปเยี่ยมชมคือ พิพิธภัณฑ์จักรยานขนาดย่อม ที่จัดแสดงจักรยานโบราณหายากรุ่นต่างๆ พร้อมทั้งบอกเล่าถึงพัฒนาการ และความสำคัญของจักรยานในยุคต่างๆ
จักรยานเสือภูเขายี่ห้อบีเอ็มดับเบิ้ลยู จักรยานเหล็กปล้องของไต้หวัน ปี 1970
เช่น จักรยานไม้ซึ่งถือเป็นต้นแบบจักรยานของโลก ซึ่งผลิตขึ้นในปี 1791 โดยชาวฝรั่งเศส ซึ่งรุ่นแรกนี้มีสามารถบังคับให้เลี้ยวได้ ไม่มีเบรกหรือห้ามล้อ ใช้วิธีไสเอา มีอานคล้ายอานม้า มือจับก็ทำคล้ายสายบังคับม้า โดยคันที่แสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นแบบจำลอง มิใช่ของจริง
ต่อมาเป็นจักรยานไม้อีกคัน ซึ่งประดิษฐ์โดยปิแอร์ มิตเชล และลูก เป็นจักรยานแบบที่มีบันไดสำหรับปั่นแล้ว ออกแบบให้ล้อหน้าใหญ่กว่าล้อหลัง และบันไดปั่นอยู่ติดกับล้อหน้า สร้างขึ้นในปี 1860
ในยุคนี้จักรยานยังได้รับการคิดค้นหาทางพัฒนาก้าวหน้า ต่อยอดทางความคิดของคนอื่นไปเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่ได้มีรูปแบบอย่างเช่นที่เราเห็นอยู่ในทุกวันนี้ คือแบบที่มีโซ่ มีจานส่งแรงถีบ มีเฟืองหมุน มีแฮนด์ที่ปรับเลี้ยวได้ และมีเบรก จักรยานได้เริ่มพัฒนาสู่ยุคใหม่จริงๆ ก็เมื่อย่างเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 มาแล้วนี่เอง และแพร่กระจายไปทั่วโลก เพราะแม้แต่ในพระราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศสยามของเราก็ได้ร่วมใช้นวัตกรรมชิ้นเอกของยุคนั้นด้วย
1 2 3 4 5 6
|