หูถ้งในเขตกู่โหลวต้าเจียนี่ได้ถูกอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี คงไว้เช่นที่เคยเป็นมาเมื่อหลายร้อยปีก่อน ไม่ว่าสังคมรอบนอกจะเคลื่อนไปเช่นไร
ในรายการของซีอาร์ไอเมื่อนานมาแล้ว ได้เคยบรรยายภาพความเป็นหูถ้งในยุคก่อนไว้อย่างเห็นภาพว่า
"จำนวนหูถ้งในเขตกรุงปักกิ่งโบราณนั้นมีมากจนนับไม่ถ้วน จนมีคำพูดว่า "หูถ้งที่ขึ้นชื่อมีจำนวนถึง 360 แห่ง ส่วนหูถ้งทั่วไป มีจำนวนนับไม่ถ้วนไม่ต่างกับขนวัว" แม้คำกล่าวนี้จะดูเป็นการพูดเกินจริงไปสักหน่อย แต่จำนวนหูถ้งในปักกิ่งก็มีจำนวนมากมายสมดังคำพูดนั้นจริงๆ
แม้จะมีการพยายามอนุรักษ์ แต่บางบ้านก็ต้องการสร้างใหม่
หูถ้งปรากฏขึ้นภายหลังจากที่กรุงปักกิ่งได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นราชธานีในสมัยราชวงศ์หงวน เมื่อประมาณศตวรรษที่ 13 เวลานั้น "ฮูปิเลียต" หัวหน้าชนเผ่ามองโกลได้รวมจีนเข้าเป็นเอกภาพ หูถ้งในภาษามองโกลนั้นหมายถึง "บ่อน้ำ" แต่ต่อมามีคนบอกว่า หูถ้ง หมายถึง "แหล่งชุมชน" และยังมีอีกทรรศนะเห็นว่า หูถ้ง หมายถึง "ชนเผ่ามีขนาดใหญ่กว่าหมู่บ้านเล็กน้อย" แต่ไม่ว่าหูถ้งจะมีความหมายเดิมว่า อะไร หลังผ่านวิวัฒนาการมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ปัจจุบันคำว่า หูถ้งได้กลายมาเป็นชื่อเฉพาะคำหนึ่งในผังเมืองทางภาคเหนือของจีนซึ่งหมายถึง ทางผ่านที่มีลักษณะคล้ายกับตรอกซอกซอยที่เชื่อมระหว่างบ้านพักของชาวเมืองและเป็นทางสัญจรไปมาในเวลาเดียวกันด้วย กล่าวง่ายๆว่า หูถ้ง ก็คือตรอกซอกซอยทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กนั่นเอง เมื่อสมัยราชวงศ์หงวนนั้น ขนาดของหูถ้งนั้นได้มีการกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการ คือต้องมีความกว้าง 9 เมตร ถ้ามีความกว้างมากกว่า 9 เมตรจะเรียกว่า "เสี่ยวเจียน" และถ้ามีความกว้างมากกว่านี้ ก็จะเรียกว่า "ต้าเจียน" เมื่อถึงสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงได้มีการลดขนาดความกว้างของหูถ้งลง และต่อมาก็ได้พัฒนามาเป็นเส้นทางคมนาคมของตัวเมืองในที่สุด
ทางเข้าบ้านขนาดเล็ก สารถีแงดีของเรา
1 2 3 4 5 6
|