"เวลานั้นคุณพ่อและคุณแม่ทำงานยุ่งมาก และสลับกันออกไปทำงานต่างจังหวัด ดิฉันจบอนุบาลแล้ว แต่ก็ยังไม่เข้าโรงเรียนประถม วันหนึ่งคุณแม่กลับจากทำงาน เห็นลูกยังอยู่บ้านเฉย ไม่ได้ไปเรียน จึงรีบพาไปเข้าโรงเรียนประถมทันที"
เมื่อเติบโตขึ้นแล้ว หลินลี่จึงได้รู้ว่า ช่วงนั้นเป็นวาระสำคัญของแผนการพัฒนาเศรษฐกิจประชาชาติและสังคมระยะ 5 ปีฉบับแรกของจีน ตั้งแต่เมื่อปี 1953 จีนเริ่มกระบวนการพัฒนาเป็นแบบอุตสาหกรรม
เวลานั้นคุณแม่ของหลินลี่ทำงานที่กระทรวงการรถไฟ รับผิดชอบงานวิเทศสัมพันธ์ของโครงการก่อสร้างโครงการหนึ่งที่ได้รับความช่วยเหลือจากอดีตสหภาพโซเวียต ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแยงซีเมืองอู่ฮั่น เป็นต้น
ก่อนสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน อุตสาหกรรมหนักของจีนเกือบเไม่มีเลย แต่หลังจากเริ่มแผนการพัฒนาระยะ 5 ปี ฉบับแรกแล้ว ภายในเวลาไม่กี่ปี โรงงานอุตสาหกรรมหนักหลายแห่งได้ก่อตั้งขึ้นบนแผ่นดินจีน มีการก่อสร้างทางหลวง ทางรถไฟ และสะพานเชื่อมโยงทั่วประเทศจีน ได้เริ่มผิตรถยนต์คันแรก เครื่องบินลำแรก สะพานข้ามแม่น้ำแยงซีแห่งแรก เหตุการณ์แต่ละครั้งล้วนทำให้ชาวจีนตื่นเต้นและภาคภูมิใจอย่างยิ่ง
แต่สาธารณรัฐประชาชนจีนยังเหมือนหนุ่มที่เพิ่งเริ่มต้นชีวิต ขาดประสบการณ์ด้านการพัฒนา ผู้คนขยันทำงานเพื่อพยายามเปลี่ยนโฉมความยากจนและล้าหลังของประเทศ แต่คงใจร้อนเกินไป เมืองใหญ่ต่าง ๆ จึงระดมกำลังคนากมายไปทำงานถลุงเหล็กกล้า
เมื่อปลายปี 1958 หลี่หมิงฉายไปทำงานในโรงงานแห่งหนึ่งในเมือง เขากล่าวว่า
"เวลานั้นรู้สึกดีใจที่ได้ทำงานในโรงงาน เพราะมีวันพักผ่อน และมีเงินเดือนด้วย อาหารของโรงงานก็ดี มีชุดทำงานให้ด้วย ใส่ 1 ปีก็ยังไม่ขาด"
ทว่าเขาทำงานได้ 1 ปีกว่า (นโยบายเกี่ยวกับการถลุงเหล็กกล้าทั่วประเทศไม่สำเร็จ) หลี่หมิงฉายต้องกลับคืนสู่หมู่บ้านอีกครั้ง ในระยะนี้ คนในหมู่บ้านบางคนขยันทำงานจนมีชีวิตที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่บางครอบครัวถึงกับยากจนลงอย่างมาก เนื่องจากขาดคนทำงาน ประสบภัยธรรมชาติ และสุขภาพไม่ดี ขณะเดียวกัน กระบวนการพัฒนาแบบอุตสาหกรรมยังทำให้ประชากรในเมืองเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีความต้องการในการบริโภคเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
เพื่อประกันให้ชาวเมืองมีธัญญาหารที่เพียงพอ ทางการจีนได้ดำเนินการปฏิรูประบบที่ดินในชนบทอีกครั้ง ที่ดินทำนาที่แบ่งให้เกษตรกรแต่ก่อนนั้นต้องเอากลับมาปรับเปลี่ยนเป็นที่ดินกรรมสิทธ์ส่วนรวม ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้เข้ามาควบคุมการจัดซื้อธัญญาหาร น้ำมันบริโภคและผ้าฝ้ายทั่วประเทศ เกษตรกรไม่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางเกษตรได้เอง นโยบายเหล่านี้ทำให้เกษตรกรสูญเสียความกระตือรือร้นในการทำงาน นายหลี่หมิงฉายกล่าวว่า
"เราทำนาตามการกำหนดของหลวง ตอนเช้าออกไปทำนาพร้อมกัน และทานข้าวด้วยกันในโรงอาหารของสหกรณ์ เลิกงานพร้อมกัน ทำงานมากหรือน้อยก็ไม่สำคัญ เพราะแบ่งผลผลิตเท่ากัน ผู้คนจึงไม่ขยันทำงาน ทำให้ปริมาณการผลิตต่ำมาก"
1 2 3 4 5 6
|