วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่ผมทำข่าวในประเด็นเส้นทางสายชิงไห่-ทิเบต พวกเราได้เดินทางถึงจัตุรัสพระราชวังโปตาลาซึ่งอยู่ใจกลางเมืองลาซา
คาดว่า พระราชวังโปตาลาเป็นที่รู้จักกันของชาวไทยทุกคนอยู่แล้ว นี่เป็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองลาซา ก็เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ส่วนจัตุรัสพระราชวังโปตาลาอยู่ฝั่งตรงข้ามของพระราชวังโปตาลา เป็นสถานที่จัดกิจกรรมสำคัญของเขตปกครองตนเองทิเบตและเมืองลาซา ก็เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวทั้งจีนและต่างชาติพลาดไม่ได้ เป็นจัตุรัสทันสมัยที่อเนกประสงค์ซึ่งรวมทั้งการบันเทิง วัฒนธรรมและการชุมนุม ก็เป็นจัตุรัสเมืองสูงสุดในโลก โดยสี่รอบจัตุรัสได้สร้างหอสมุด สวนสนุกเด็ก และตลาดกลางแจ้ง เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว วัฒนธรรมและการบันเทิงของเมืองลาซา
ทางทิศใต้ของจัตุรัสพระราชวังโปตาลาคืออนุสาวรีย์การปลดปล่อยทิเบตด้วยสันติภาพ โดยอนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2001 เนื่องในครบรอบ 50 ปีการปลดปล่อยทิเบตด้วยสันติภาพ ส่วนปีนี้ ตรงกับครบรอบ 70 ปีการปลดปล่อยทิเบตด้วยสันติภาพ
ในปีที่มีความหมายสำคัญนี้ ชาวบ้านท้องถิ่นเมืองลาซาทยอยเดินทางมาถึงจัตุรัสพระราชวังโปตาลาเพื่อฉลองนาทีนี้ พวกเขาใส่เสื้อชนเผ่าทิเบต ล้อมวงเป็นกลม ร้องเพลง “สี อีเกอ” เต้นรำ “กัวจวง” ซึ่งเป็นนาฏศิลป์พื้นเมืองของทิเบต ก็เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องมิได้ มีประโยคหนึ่งที่ว่า เมื่อประชาชนชนเผ่าทิเบตพูดได้ก็ร้องเพลงได้ เมื่อประชาชนชนเผ่าทิเบตเดินได้ก็เต้นรำได้
เมื่อชาวบ้านทิเบตร้องเพลงและเต้นรำที่จัตุรัสพระราชวังโปตาลา ก็ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเข้าร่วม ทุกคนร่วมฉลองครบรอบ 70 ปีการปลดปล่อยทิเบตด้วยสันติภาพ อวยพรให้ทิเบตมีอนาคมที่สดใสมากขึ้น
ส่วนผม ก็ยืนอยู่ใจกลางของวงล้อมการเต้นรำ “กัวจวง” ถ่ายรูปและวิดีโอเก็บนาทีที่ยากจะลืมนี้ ในวันสุดท้ายของการเดินทางผม สามารถสัมผัสได้ถึงความเบิกบานของชาวทิเบตท้องถิ่นที่ฉลองครบรอบ 70 ปีการปลดปล่อยทิเบตด้วยสันติภาพ ผมก็รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่ง
ที่ว่า จะเป็นสังคมพอกินพอใช้ได้แล้วหรือไม่ ตัวชี้วัดสำคัญมากก็อยู่ที่ชาวบ้าน โดยชาวบ้านชุมนุมกันร้องเพลงและเต้นรำที่จัตุรัสพระราชวังโปตาลาด้วยตนเอง ก็เป็นปรากฏการณ์ที่ใช้ชีวิตอย่างร่ำรวย ผมก็หวังว่า บันทึกของผู้สื่อข่าว 15 ชิ้นที่ผมเขียนมาในครึ่งเดือนที่ผ่านมานี้ จะให้เพื่อนคนไทยสัมผัสได้ถึงชีวิตที่มีความสุขของชาวทิเบตในวันนี้ สัมผัสได้ถึงความงามทุกด้านของทิเบต
ชุย อี๋เหมิง วันที่ 30 กรกฎาคม
ที่เมืองลาซา เขตปกครองตนเองทิเทต