หลังจากผ่านการเดินทาง 16 ชั่วโมง เราเดินทางถึงตำบลเจ๋ยกู่ สถานที่ทำการของเขตยวี่ซู่ มณฑลชิงไห่ เขตยวี่ซู่เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำล้านช้าง เมื่อกล่างถึงยวี่ซู่ ชาวจีนมักจะนึกถึงแผ่นดินไหว 7.1 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นในที่นี่เมื่อปี 2010 เวลานั้น แผ่นดินไหวทำให้มีผู้เสียชีวิต 2,698 คน สิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ในเมืองถูกทำลายอย่างหนัก แล้วขณะนี้ ยวี่ซู่มีการฟื้นฟูได้แค่ไหน?
วันที่ 15 ตุลาคม ผมเดินทางถึงหอรำลึกกู้ภัยแผ่นดินไหวยวี่ซู่ หอรำลึกแห่งนี้เป็นหนึ่งในสิบสิ่งก่อสร้างที่เป็นหลักไมล์ของยวี่ซู่ซึ่งสร้างขึ้นใหม่หลังแผ่นดินไหว ก็ได้บันทึกประวัติของยวี่ซู่ที่เกิดใหม่หลังแผ่นดินไหว โดยหอรำลึกใช้ตัวหนังสือ ภาพ สิ่งของจริงและคลิปวีดีโอได้สะท้อนให้เห็นถึงนโยบายเด็ดขาดของจีน ความช่วยเหลือจากวงการต่าง ๆ ของสังคม ความบากบั่นต่อสู้ของชาวบ้านพื้นที่ประสบภัย จิตใจยิ่งใหญ่ที่รู้ความกตัญญู เป็นต้น เจ้าหน้าที่บรรยายแนะนำว่า เวลานั้น สิ่งก่อสร้างยวี่ซู่ส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างดินและไม้ พังทลายในแผ่นดินไหวเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจำนวนมากถูกฝัง ทหารปลดปล่อยประชาชนจีนและตำรวจติดอาวุธที่เข้ามาช่วยเหลือ เพื่อไม่ให้ทำร้ายชาวบ้าน จึงใช้มือเปล่าขุด จนถอดเล็บมือ แต่พวกเขาไม่ได้บ่นอะไร ยืนหยัดช่วยเหลืออย่างไม่ลดละ
สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกซาบซึ้งใจคือเรื่องราวของ “ลูกขนมปัง” เวลานั้น เด็กที่มีอายุเพียง 7 เดือนถูกฝังมาเกือบ 48 ชั่วโมง ทีมช่วยเหลือใช้ความพยายามขุดเธออกมาจากซากปรักหักพัง และเอาขนมปังชิ้นหนึ่งส่งให้เธอ เธอยึดไว้ในมืออย่างแน่น ๆ ทำให้ผู้คนเห็นใจเป็นอย่างยิ่ง
นอกหอรำลึกมีสิ่งก่อสร้างหลังแผ่นดินไหวที่ถูกอนุรักษ์ไว้แห่งหนึ่ง โดยซากปรักหักพังเหมือนบอกเล่าประวัติศาสตร์ในสมัยนั้น ส่วนผู้คนที่มีอายุเท่ากับยวี่ซู่ใหม่ อาทิ “ลูกขนมปัง” บ่งบอกถึงการเกิดใหม่ของยวี่ซู่ พวกเขาเป็นผู้สัมผัสและสักขีพยานการเปลี่ยนแปลงของเมืองแห่งนี้
เมื่อเดินทางตามถนนยวี่ซู่ ผมสามารถสัมผัสได้ถึงความเป็นระเบียบของเมืองแห่งนี้ เมื่อยืนอยู่บนจุดชมวิวภูเขาตัวไต้ซานมองเมืองยวี่ซู่ ก็สามารถดูการพัฒนาแบบทันสมัยของเมืองแห่งนี้ด้วยโดยตรง ในมุมมองของผม การพัฒนาก้าวหน้าเหล่านี้มาจากความช่วยเหลือจากทั่วประเทศจีน ก็มาจากความร่วมทุกข์ร่วมสุขของชาวยวี่ซู่ กำลังเหล่านี้รวมตัวกัน ร่วมสร้างอนาคตสดใสของเมืองแห่งนี้
เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน(CMG)