บทสัมภาษณ์อาจารย์ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยความร่วมมือภายใต้กรอบ RCEP

2021-12-29 21:41:06 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทสัมภาษณ์อาจารย์ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าด้วยความร่วมมือภายใต้กรอบ RCEP

1.ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือ RCEP จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคมปี 2022 ท่านคิดว่า อันจะมีการเปลี่ยนแปลงกับธุรกิจ วิสาหกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของไทยได้อย่างไร?

อาจารย์ปิติ:ต้องแยกเป็นประชาชนทั่วไป ภาคธุรกิจและภาครัฐ

ผมคิดว่าประชาชนทั่วไป คุณภาพชีวิตน่าจะดีขึ้น เพราะว่า ด้วยความที่ RCEP จะทำให้ตลาดเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น มาตรการกีดกันทางการค้าต่าง ๆ ลดลงใน 15 ประเทศ เพราะฉะนั้น ผู้บริโภคทั้งหมดก็จะสามารถเข้าถึงสินค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นในราคาที่ถูกลง

ผู้ผลิตเองก็แน่นอน ถ้าเกิดว่า เขาเตรียมความพร้อมดี เขาก็จะสามารถใช้ประโยชน์จาก RCEP ได้ นั่นก็แปลว่า เขาสามารถที่จะนำเข้าวัตถุดิบจากหลากหลายประเทศได้ในราคาที่ถูกลง รวบรวมถิ่นกำเนิด ทำให้ที่จะสามารถส่งออกไปในต่างประเทศ แล้วใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้า ทำให้ไม่โดนมาตรการกีดกันทางภาษีในตลาดที่กว้างขึ้น แต่ถ้าผู้ประกอบการที่ยังเตรียมตัวไม่ดี ต้องอาจเผชิญหน้ากับการแข่งขันกัน ผู้ประกอบการของประเทศอื่นที่เขาเองก็เข้าสู่ตลาดประเทศไทยได้ในต้นทุนที่ต่ำลงเช่นเดียวกัน

สำหรับภาครัฐเอง แน่นอนภาครัฐเองก็ต้องมีการปรับตัวเรื่องของกฎระเบียบต่าง ๆ เรื่องของกฎหมายที่ประเทศไทยเราคงจะต้องไปปรับแก้เพิ่มขึ้นในอนาคต ถึงแม้ตอนนี้นี่ การเปิด RCEP นี่ กฎระเบียบต่าง ๆ แทบจะไม่แตกต่างจากสิ่งที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว แต่ในอนาคต ผมเชื่อว่า RCEP เองก็คงจะมีพัฒนาการต่อไปเรื่อย ๆ ในการที่จะขยายขอบเขตความร่วมมือให้มันกว้างขึ้นให้มันลึกลง อาจจะมีประเทศอื่น ๆ เข้ามาร่วมสมาชิกด้วย เพราะฉะนั้นในอนาคตนี่ ภาครัฐเองก็คงจะต้องเตรียมการเรื่องพวกนี้ไปด้วยครับ

 

2.ในสายตาของท่าน ภายใต้กรอบ RCEP ควรผลักดันความร่วมมือทวิภาคีและพหุภาคีอย่างไร?

อาจารย์ปิติ:ผมคิดว่าข้อดีของ RCEP ก็คือมันจะเป็นเหมือนกับสะพาน เพราะ RCEP เป็นกรอบความร่วมมือแรก ๆ ที่เราพูดถึงเรื่องไม่เคยมีในกรอบความร่วมมืออื่น ๆ อย่างเช่น การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ อย่างนี้เราไม่เคยมี ข้อตกลงนี้จะเป็นข้อตกลงที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น มีมาตรฐานสูงมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ถ้าเราสามารถทำได้ดีใน RCEP นั่นก็แปลว่า พอเราต้องไปเจรจากรอบการค้าอื่น ๆ อย่างเช่น CPTPP ซึ่งจีนตอนนี้เองก็อยากสมัครเข้าร่วม ประเทศไทยตอนนี้ก็ซ้อมล่ะ ถ้า RCEP ทำได้ดี เราก็จะปรับตัวไปสู่กรอบที่ยาก ๆ พวกนี้ได้ต่อไป ในขณะเดียวกัน ในกรอบที่เป็นพหุภาคี ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กรอบความร่วมมือในระดับ 15 ประเทศนี่ มันก็จะเป็นแรง ที่จะทำให้ทั้ง 15 ประเทศนี่เดินหน้ามีมติร่วมกัน มีความเห็นร่วมกันในการที่จะผลักดันกรอบพหุภาคีให้มันจะเดินก้าวหน้า แล้วก็ปรับมามีบทบาทในเวทีโลกมากยิ่งขึ้น

 

3.ในมุมมองของท่าน ประเทศไทยควรยึดโอกาสนี้อย่างไรเพื่อบุกเบิกตลาดจีนที่ใหญ่โตมโหฬาร? เท่าที่ท่านทราบ นักธุรกิจและนักวิสาหกิจไทยมีความคาดหวังต่อ RCEP อย่างไร?

อาจารย์ปิติ:ผมคิดว่าเราเองมองตลาดนะครับว่า ตลาดที่ใหญ่ขึ้น นั่นก็หมายถึงโอกาส การเปิดตลาดก็น่าจะกลายเป็นโอกาส จีนมีประชากรกว่า 1,400 ล้านคน เข้าต้องมีความต้องการ สิ่งต้องการใช้เยอะ ไทยใช้การผลิตของน้อย ๆ ไปให้คนจำนวนเยอะ ๆ ฉะนั้น ไทยคงจะได้ประโยชน์จากกรอบนี้ในการเข้าสู่ตลาดจีน จริง ๆ แล้ว ไทยกับจีนก็มีกรอบอาเซียน-จีนซึ่งมันก็ลดภาษีไปเยอะอยู่แล้ว เที่ยวนี้เมื่อเราลดมาตรการกีดกันทางการค้าลงไปอีก ซึ่งแน่นอนสำหรับผู้บริโภคก็โชคดีได้ของดีราคาถูก เพราะฉะนั้น RCEP จะทำให้ประเทศที่เป็นสมาชิกมีโอกาสที่จะค้าขายกันเองมากยิ่งขึ้น แล้วเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การค้าขายกันเองจะช่วยเสริมทำให้สมาชิก RCEP สามารถที่ไม่ใช่ให้ค้าขายกับ RCEP หรอก แต่ค้าขายกับทั้งโลกได้ด้วย

(Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (16-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (15-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (14-11-2567)

崔沂蒙