บทวิเคราะห์ : ไม่ว่าสหรัฐอเมริกาและไต้หวันจะสมรู้ร่วมคิดอย่างไร ก็ไม่สามารถเปลี่ยนหลักการจีนเดียวได้

2024-05-23 14:30:29 | CMG
Share with:

ล่าย ชิงเต๋อ ซึ่งเรียกตัวเองว่า "ผู้ทำงานเพื่อเอกราชของไต้หวันเชิงปฏิบัติ" ได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำไต้หวันของจีน ในสุนทรพจน์เข้ารับตำแหน่ง เขาประกาศอย่างเปิดเผยว่า สองฝั่งช่องแคบไต้หวัน "ไม่เกี่ยวข้องกัน" และกระตุ้น "ภัยคุกคามทางทหาร" จากจีนแผ่นดินใหญ่ ตั้งใจที่จะพึ่งพาต่างประเทศและใช้กำลังอาวุธเพื่อแสวงหาเอกราชต่อไป ในเวลาเดียวกัน แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แสดงความยินดีกับล่าย ชิงเต๋อ ในการเข้ารับตำแหน่ง สหรัฐฯ ยังได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมพิธีรับตำแหน่งด้วย

ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น หรือการเปลี่ยนแปลงของผู้ว่าการ ทั้งหมดนี้เป็นกิจการท้องถิ่นภายในประเทศจีน ปัญหาไต้หวันเป็นศูนย์กลางในผลประโยชน์หลักของจีน เป็นพื้นฐานขั้นต้นทางการเมืองของความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ และแกนหลัก ( เส้นแดง ) ของความสัมพันธ์สองประเทศ

ช่วงล่าสุดนี้ ตั้งแต่การเผยแพร่ข้อโต้แย้งในทางร้ายเกี่ยวกับ “สถานะของไต้หวันยังไม่ได้รับการแก้ไข” ในมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 2758 ไปจนถึงรัฐสภาสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายช่วยเหลือต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงความช่วยเหลือทางทหารแก่ไต้หวัน รวมถึงการที่สหรัฐ ฯ ผลักดันให้ไต้หวันเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่ WHO ครั้งที่ 77 ในฐานะผู้สังเกตการณ์ สหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้ไต้หวันเป็นตัวเดินหมาก ขัดขวางการพัฒนาจีน 


Ying/Chu/Zhou

  • เสียงข่าวประจำวัน (21-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (21-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (21-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (20-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (20-11-2567)