การปะทะกันในรัฐยะไข่ของเมียนมาร์เมื่อปีที่แล้ว ทำให้ชาวโรฮิงญาจำนวนมากหนีไปยังประเทศรอบข้าง จนกระทบถึงความมั่นคงของไทย มาเลเซีย และบังกลาเทศ ทูตจากกว่า 20 ประเทศ และเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยได้จัดการประชุมทางโทรศัพท์ เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวโรฮิงญาอย่างฉุกเฉิน และปัญหาทางกฏหมายที่เกี่ยวข้อง อาเซียนก็ระบุว่า หวังว่าทางการเมียนมาร์จะใช้มาตรการโดยเร็ว เพื่อคลี่คลายสถานการณ์
ทางการไทยระบุว่า ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา ชาวโรฮิงญาหลั่งไหลเข้าสู่เมืองไทย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกล่าวเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า ถึงแม้ว่าชาวโรฮิงญาเหล่านี้เข้าสู่ไทยอย่างผิดกฏหมาย แต่ไทยจะให้การดูแลเป็นชั่วคราวตามหลักการสิทธิมุษยธรรม และแสวงหาความช่วยเหลือจากสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศอื่นๆ กระทรวงการต่างประเทศไทยหวังว่า รัฐบาลเมียนมาร์และประชาคมโลกจะพยายามแสวงหาวิธีการแก้ไขปัญหาในระยะยาว
ชาวโรฮิงญาในเมียนมาร์ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในรัฐยะไข่ สหประชาชาติคาดว่า ประชากรโรฮิงญามีประมาณ 1 ล้า่นคน ชาวเมียนมาร์นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก ส่วนรัฐยะไข่ติดกับประเทศบังกลาเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ชาวโรฮิงญาที่เป็นชาวมุสลิมอพยพจากบังกลาเทศไปยังรัฐยะไข่ของเมียนมาร์เรื่อยๆ และมักจะมีปะทะกับชาวเมียนมาร์ที่นับถือพุทธศาสนา การที่ชาวโรฮิงญาถูกแยกแหล่งที่อยู่อาศัยกับประชาชนเมียนมาร์นั้น ทำให้เกิดความกังวนและวุ่นวายต่อความปลอดภัยและการใช้ชีวิต จึงมีผู้คนเริ่มหนีไปสู่ประเทศอื่นๆ
ปัญหาผู้อพยพโรฮิงญาเรียกความสนใจจากประเทศอาเซียนและประชาคมโลก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียเคยเยือนรัฐยะไข่ของเมียนมาร์เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อเยี่ยมชาวมุสลิม รัฐบาลอินโดนีเซียสัญญาว่าจะมอบเงินช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยธรรมจำนวน 1 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ แก่เมียนมาร์ และจะร่วมกันพิจารณาวิธีแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยชาวมุสลิม
นักวิเคราะห์เห็นว่า ปัญหาชาวมุสลิมโรฮิงญาไม่ใช่แค่กิจการภายในของเมียนมาร์อีกต่อไป หากได้กระทบถึงประเทศอื่นๆ ในอาเซียน การจัดการปัญหาชาวโรฮิงญาอย่างเหมาะสมนั้น จะเป็นการท้าทายต่อความสามารถด้านการประสานงาน รวมทั้งการจัดการเหตุการณ์ทางการเมืองและชนเผ่าของอาเซียน
Ton/Ldan