เนื่องในโอกาสวันเด็กสากล ซึ่งตรงกับวันเสาร์ที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมานี้ แม้ผ่านไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังสนใจเรื่องการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของเด็ก จริงๆ แล้วควรคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของเด็กทุกเมื่อ วันนี้ขอคุยเรื่องสื่อโซเซียลมีเดีย (Social Media) กับการคุ้มครองเด็ก เพราะว่าในสื่อโซเซียลมีเดีย ทั้งไมโครบล็อก เวยซิ่น (วีแชต) หรืออื่นๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นนั้น สิ่งที่ผู้ใหญ่สามารถอ่านได้ดูได้ เด็กก็สามารถอ่านได้ดูได้เช่นกัน ดังนั้น จึงควรระวังข้อเสียจากการใช้สื่อโซเซียลมีเดียที่อาจจะมีต่อเด็กเป็นพิเศษ
ข้อถกเถียงกันประการแรกคือ การใช้สื่อโซเซียลมีเดียเป็นสิทธิของเด็ก เพราะเป็นช่องทางที่เข้าถึงแหล่งความรู้ที่กว้างขวางและสะดวกยิ่งขึ้น กล่าวคือ ในแง่จิตวิทยา เด็กๆ มีความอยากรู้อยากเห็นมาก ซึ่งสามารถตอบสนองได้จากสื่อโซเซียลมีเดีย นอกจากนี้ เด็กๆ ก็ชอบแสดงความคิดเห็นของตนอย่างอิสระเช่นกัน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการฝึกความคิดของเด็กให้สูงและกว้างขึ้น
แต่ผู้ใหญ่ควรมีความรับผิดชอบและปฏิบัติตามหน้าที่ให้ดี หนึ่งคือ ควรสอนให้เด็กใช้ข้อมูลอย่างมีเหตุมีผล มีความสามารถในการจำแนกเนื้อความที่เป็นประโยชน์ ป้องกันตัวเองไม่ให้ถูกทำลายจากบทความอันไม่พึงประสงค์ อีกทั้งมีความรับผิดชอบโดยไม่เผยแพร่บทความอันไม่พึงประสงค์ด้วย ทั้งนี้ แต่ละคนล้วนควรมีสำนึกความรับชอบต่อสังคม
ค่านิยม ความหลากหลายทางวัฒนธรรม การใช้กำลังรุนแรง สิ่งลามกอนาจาร การนับถือทางศาสนา สงคราม และเนื้อหาสาระอื่นๆ ที่ปรากฏบนสื่อโซเซียลมีเดีย จะส่งผลกระทบต่อเด็กรุนแรง นี่เป็นสิ่งที่ไม่อาจประมาทได้ วิธีการคบหาสมาคมแบบผู้ใหญ่ย่อมไม่เหมาะกับเด็ก และไม่เป็นผลดีต่อการเจริญเติบโตทั้งกายและใจของเด็ก จึงควรป้องกันไม่ให้เด็กได้รับผลกระทบจากสิ่งดังกล่าว
(YIM/LING)