สถาบันอีเล็กตรอน สภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับประเทศไทยเป็นเวลายาวนาน โดยเมื่อปี 2005 สมเด็จพระเทพฯ รัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จมาเยือนตามคำเชิญของสถาบันฯ ด้วย หลังจากทรงรับฟังรายงานเกี่ยวกับความเป็นมา พัฒนาการ เนื้อหาการเรียนการสอนและผลงานของสถาบันฯ แล้ว พระองค์ทรงสนพระทัยผลงานของสถาบันฯ เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผลงานด้านเซ็นเซอร์ทางไกลด้วยไมโครเวฟ พระองค์หวังว่าไทยจีนจะมีความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับความรู้ในด้านนี้รวมทั้งความก้าวหน้าทางสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาไปพร้อมกัน
สถาบันฯ ยังมีความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งความร่วมมือทวิภาคีกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 16 กันยายน ปีค.ศ..2003ภาครัฐจีนกับมาเลเซียจัดพิธีลงนามความร่วมมือเชิงพาณิชย์ที่มหาศาลาประชาคม สถาบันฯ ได้ลงนามกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของมาเลเซีย เพื่อส่งออกเรด้าร์ประเภท L-SAR นับเป็นครั้งแรกที่จีนส่งออกผลิตภัณ์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับซาร์ (SAR)
นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังได้ตีพิมพ์และจำหน่ายวารสารที่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ เช่น วารสารอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ ((ประเทศจีน))และวารสารเรด้าร์ เป็นต้น
สถาบันฯ ประสบความสำเร็จในการค้นคว้าวิจัยเทคโนโลยีในการจัดการรูปถ่ายไมโครเวฟ รวมทั้งเทคโนโลยีทางด้านระบบ Space-borne SAR ระบบ Air-borne SAR และเทคโนโลยีเซ็นเซอร์และสารสนเทศไมโครเวฟ เป็นต้น นับได้ว่าเป็นผู้นำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไมโครเวฟของจีน ขณะนี้มีเจ้าหน้าที่กว่า 400 คนกำลังดำเนินการวิจัยและผลิตในด้านนี้ ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำกว่า 40 คนเป็นผู้ดูแลโครงการ มีนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกกว่า 300 คนร่วมปฏิบัติงานด้วย ปัจจุบัน สถาบันฯ สามารถวิจัยและผลิตระบบซาร์จากคลื่นความถี่ P-band ไปถึง Ku-band และ Ka-band
ตั้งแต่จีนประสบความสำเร็จในการยิงดาวเทียมเซ็นเซอร์หมายเลขหนึ่งเมื่อเดือนเมษายนปี 2006 เป็นต้นมา จนถึงการส่งดาวเทียม C หมายเลขหนึ่งด้านสิ่งแวดล้อมของจีนเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2012 สถาบันฯ ได้วิจัยและผลิตดาวเทียมที่ใช้ระบบซาร์ 6 ดวง 3 ประเภทปฏิบัติงานในวงโคจร
Air-borne SAR มีการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวาง เมื่อปี 2008 เขตเวิ่นชวน มณฑลเสฉวนของจีนเกิดภัยแผ่นดินไหวร้ายแรง ทางรัฐบาลให้ความสำคัญกับการกู้ภัยและบรรเทาภัย แต่เนื่องจากเขตเวิ่นชวนมีสภาพอากาศปิด แสงน้อย จึงยากที่จะถ่ายรูปด้วยอุปกรณ์ที่ต้องใช้แสง ระบบ Air-borne SAR สามารถถ่ายรูปทุกเวลา ทุกสภาพอากาศและพื้นที่ ดังนั้น ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ สถาบันฯ จึงได้รับมอบหมาย ให้ใช้ระบบซาร์ถ่ายรูปพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ในปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชน จนได้รับคำชื่นชมอย่างมากจากรัฐบาล
เมื่อปี 2008 ผลงานของสถาบันฯ ได้ใช้ในการถ่ายภาพทะเลสาบสันดอนกั้นในเขตประสบภัยแผ่นดินไหวเวิ่นชวน มณฑลเสฉวน เป็นข้อมูลที่เสนอให้รัฐบาลเพื่อใช้บรรเทาภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที
เมื่อปี 2010 เขตอี้ว์ซู่ มณฑลชิงไห่ของจีนเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรง ระบบ Air-borne SAR ของสถาบันฯ ได้มีบทบาทสำคัญอีกครั้ง ภาพนี้เป็นภาพถ่ายจากเรด้าร์ที่มีความละเอียด 0.5 เมตรพิกเซลหลังเกิดแผนดินไหว
สถาบันฯ เป็นสถาบันวิจัยเทคโนโลยีด้านเซ็นเซอร์อันดับหนึ่งของจีน ยินดีที่จะเสนอเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดให้ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนประเทศไทยพัฒนาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านเรด้าร์ หวังว่าจีนกับไทยทั้งสองประเทศ สามารถร่วมมือกันใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติและป้องกันเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น เพื่อสร้างความผาสุขให้แก่ประชาชนได้ต่อไป
(Nune/Ping)