วันที่ 21 มีนาคม ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซียได้ลงนามสนธิสัญญาเกี่ยวกับการผนวกไครเมียเข้าร่วมรัสเซียที่ได้รับผ่านจากรัฐสภาและมาตราที่เกี่ยวข้องในรัฐธรรมนูญ ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า ไครเมียเข้าร่วมรัสเซียตามกฎหมายเรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกัน ยูเครนก็ไม่ได้หยุดการใช้ความพยายาม วันที่ 22 มีนาคม นายอาร์เซนี ยัตเซนยุค นายกรัฐมนตรียูเครนได้พบปะกับนายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติที่ไปเยือน สองฝ่ายอภิปรายถึงสถานการณ์ไครเมียและปัญหายูเครนกับสหภาพยุโรปลงนามข้อตกลงประเทศติดต่อกัน
นายอาร์เซนี ยัตเซนยุคกล่าวในระหว่างการพบปะว่า จะยอมรับการทำประชามติของไครเมีย นายบัน คีมูนกล่าวว่า เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้คือให้กำลังใจแก่ประชาชนและรัฐบาลยูเครนในช่วงเวลาที่สำคัญ นอกจากนี้ ขอแสดงความยินดีต่อนายเซนียัตที่ได้ลงนามกับสหภาพยุโรปในข้อตกลงทางการเมืองระหว่างกันที่กรุงบรัสเซล เรียกว่าเป็นสัญญลักษณ์ที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ายูเครนมีการตัดสินใจด้วยตนเอง
กรมข่าวสารกระทรวงกลาโหมยูเครนประกาศวันเดียวกันว่า เนื่องจากถูกกองทัพพิเศษของรัสเซียและกองทัพป้องกันตนเองไครเมียโจมตี ทหารของยูเครนที่ประจำไครเมียต้องถอนออกจากค่ายทหาร
วันที่ 22 มีนาคม นายลอเรนท์ ฟาบิอุส รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสประกาศแถลงการณ์ว่า องค์การความมั่นคงและความร่วมมือยุโรป(OSCE) ควรจัดส่งคณะสังเกตการณ์ไปยูเครนโดยเร็ว ขณะนี้ สหภาพยุโรปมีปัญหาเร่งด่วน 2 ประการคือ 1. ป้องกันสถานการณ์ความไม่สงบไต่บันไดสูงขึ้นอีก 2. เคียงข้างยูเครนให้ข้ามผ่านช่วงเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการปฏิรูปทางเศรษฐกิจไปได้ด้วยดี ส่วนยูเครนควรจัดการเจรจาทางการเมืองกับรัสเซีย
วันเดียวกัน กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียประกาศแถลงการณ์ว่า รัสเซียชี้ว่า OSCE ส่งคณะนักสังเกตการณ์ไปยูเครนเป็นผลจากการใช้ความพยายามทางการต่างประเทศของรัสเซียและฝ่ายต่างๆ เพื่อผ่อนคลายวิกฤตยูเครน และชี้ว่า รัสเซียหวังว่า การทำงานตามสภาพความเป็นจริงและยุติธรรมของนักสังเกตการณ์นานาชาติจะมีส่วนช่วยยับยั้งพวกลัทธิชยเผ่านิยมใช้ปฏิบัติการกำเริบเสิบสาน ขจัดอิทธิพลพวกหัวรุนแรง และบรรลุซึ่งความปรองดองระหว่างชนชาติต่างๆ เคารพสิทธิทางสังคม การเมือง การใช้ภาษา การศึกษา วัฒนธรรมและศาสนาของประชาชนในพื้นที่ทุกแห่งภายในดินแดนยูเครน
Yim/Lr