เที่ยงวันเดียวกัน พล.อ เต็ง เส่งและนางอังเกลา แมร์เคิลร่วมงานเลี้ยงอาหารเที่ยง ผู้นำประเทศทั้งสองได้หารือปัญหาการศึกษา เศรษฐกิจ เสรีภาพของสื่อมวลชนตลอดจนกระบวนการประชาธิปไตยของเมียนมาร์ เป็นต้น หลังจากนั้น นางอังเกลา แมร์เคิลกล่าวในการแถลงข่าวร่วมว่า กระบวนการประชธิปไตยของเมียนมาร์ประสบผลคืบหน้า เยอรมนีสนับสนุนการปฏิรูปประชาธิปไตยในปัจจุบันของเมียนมาร์ ทั้งสองฝ่ายยังจะส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการศึกษา ในขณะที่เยอรมนีกับเมียนมาร์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูครบรอบ 60 ปี การมาเยือนของพล.อ เต็ง เส่งมีความหมายสำคัญพิเศษ หวังว่าการเยือนครั้งนี้จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ เยอรมนียินดีที่จะเพิ่มการลงทุนในเมียนมาร์ และสร้างโอกาสการมีงานทำมากขึ้น แต่เมียนมาร์ก็ควรรักษาบรรยากาศการลงทุนที่ปลอดภัยให้กับนักธุรกิจ
ด้านพล.อ เต็ง เส่งกล่าวว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ก็มีนักธุรกิจเยอรมนีไปลงทุนในเมียนมาร์ แต่ช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศอยู่ในสภาพชงักงัน เขาเป็นประธานาธิบดีเมียนมาร์คนแรกที่ไปเยือนเยอมนีรอบ 30 ปี หวังว่าการเยือนครั้งนี้จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ กระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ดึงดูดนักธุรกิจเยอรมนีไปลงทุนในเมียนมาร์มากยิ่งขึ้น พร้อมกล่าวว่า กระบวนการปะชาธิปไตยของเมียนมาร์เริ่มขึ้นเพียง 3 ปีเท่านั้น แต่ยังมีความยากลำบากมาก เขาจะใช้ความพยายามขับเคลื่อนการปฏิรูปประชาธิปไตยอย่างสันติต่อไป
นักวิเคราะห์เห็นว่า การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเยอรมนีกับเมียนมาร์มีอนาคตที่ดี ปีนี้เป็นวาระครบรอบ 60 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ต้นปีนี้ ประธานาธิบดีโยอาคิม เกาค์ แห่งเยอรมนีไปเยือนกรุงเนปิดอร์เมืองหลวงเมียนมาร์ ตั้งสำนักงานการค้าต่างประเทศในเมียนมาร์ และตั้งสถาบันเกอเธ่ที่เป็นหน่วยงานในการศึกษาวัฒนธรรมเยอรมนีแห่งแรกในเมียนมาร์ เดือนเมษายนที่ผ่านมา นางอองซาน ซูจีไปเยือนกรุงเบอร์ลิน ได้พบปะกับประธานาธิบดีนายกรัฐมนตรีของเยอรมนี และการเยือนครั้งนี้ของพล.อ เต็ง เส่งนับเป็นครั้งแรกที่ผู้นำสูงสุดของเมียนมาร์ไปเยือนกรุงเบอร์ลินตั้งแต่ปี 1978 เป็นต้นมา
(In/Lin)