เมื่อเร็วๆนี้ จีนประกาศดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือนมกราคมปีนี้เป็น 49.8% ต่ำกว่ามาตรฐานซึ่งเป็น 50% เป็นครั้งแรกในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รายงานจากศูนย์ข้อมูลโลจิสติกส์จีนระบุว่า ปัจจุบัน เศรษฐกิจจีนยังคงเผชิญหน้ากับความกดดันอย่างสูง ขณะเดียวกัน สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนได้ออกประกาศสถิติเศรษฐกิจปีที่แล้วซึ่งมีแนวโน้มที่ไม่ดีเช่นกัน ผู้เชี่ยญชาญด้านเศรษฐกิจเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจีนอาจตกอยู่ในภาวะเงินฝืด จีนต้องเตรียมใช้นโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือ
ดัชนี PMI ถูกมองว่าเป็นดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญตัวหนึ่ง ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ดัชนี PMI ของจีนต่ำกว่า 50% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่หากมองจากข้อมูลทางสถิติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้แนวโน้ม PMI ในเดือนมกราคมส่วนใหญ่จะลดต่ำลงเนื่องจากปัจจัยช่วงเทศกาล และ PMI เดือนมกราคมปีนี้ไม่ได้ลดลงมากเกินเป็นพิเศษ หากยังอยู่ในระดับเฉลี่ยของช่วงเดียวกันในอดีต
ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ขณะที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญกับความกดดันที่ซบเซาลง จีนมีความเป็นไปได้ที่จะปรับนโยบายด้านการเงินเพื่อรับมือกับภาวะดังกล่าว นายเฉิน เย่า นักวิจัยสถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมสภาสัมคมศาสตร์แห่งชาติจีนกล่าวว่า ช่วงนี้วิสาหกิจ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนมากยังมีต้นทุนการรวบรวมเงินทุนค่อนข้างสูง และกำลังรอคอยนโยบายการลดดอกเบี้ยรอบใหม่อยู่ นี่เป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญ แรงกดดันทางเศรษฐกิจอาจบังคับให้รัฐบาลจีนใช้มาตรการลดดอกเบี้ยรอบใหม่จริงๆ
นายหนิว หลี ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยทางเศรษฐกิจภาครวมศูนย์ข่าวสารแห่งชาติจีนเห็นว่า จีนต้องออกนโยบายใหม่เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะสลับซับซ้อนที่ปัจจุบันทั้งจีนและต่างประเทศ กำลังเผชิญอยู่ นั่นก็คือภาวะเงินฝืด สหภาพยุโรปประกาศใช้นโบยายทางการเงินผ่อนคลายรอบใหม่ ซึ่งก็มีเกือบ 10 ประเทศที่ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ประเทศจีนก็กำลังเผชิญกับความกดดันทางเศรษฐกิจ กระทั่งอาจเกิดภาวะเงินฝืดเช่นกัน จีนจึงต้องปรับนโยบายทางการเงินที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม