หนังสือพิมพ์เหรินหมินยึเป้าฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ได้ลงบทความของนายเจิ้ง หย่งเหนียน ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยรัฐของสิงคโปร์ ซึ่งมีหัวข้อว่า "เอเชียมีรูปแบบการพัฒนาที่เป็นเอกลักษณ์ของตน"
บทความระบุว่า ปีหลังๆนี้ ภูมิภาคเอเชียได้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านแนวความคิดที่มองข้ามไม่ได้ รวมทั้งลักษณะเชิงหัวรุนแรงทางการเมือง เชิงหัวรุนแรงทางศาสนาและลัทธิเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่เป็นต้น
ในอดีต ประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากรูปแบบการเติบโตของลัทธิเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ซึ่งเป็นแนวความคิดสายหลักในโลกตะวันตก เมื่อทศวรรษปี 1980 ญี่ปุ่นได้ดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตามรูปแบบของฝ่ายตะวันตกแต่ประสบความล้มเหลว ปัจจุบัน แนวทางเศรษฐศาสตร์ของนายชินโซ อาเบะ ซึ่งเป็นลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่กลายพันธุ์ก็ใกล้จะเดินมาถึงทางตันแล้ว แต่โชคดีคือ กลุ่มเศรษฐกิจมากมายในเอเชียเริ่มสำนึกถึงการซัดกระหน่ำของลัทธิเสรีนิยมใหม่ที่มีต่อสังคม และได้รับทราบว่า แม้ว่า GDP มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ แต่ต้องมีความสมดุลกับความต้องการในสังคมด้วย
ปัจจุบัน ในเอเชียสามารถพบเห็นประเทศที่เลียนแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจตามอย่างประเทศตะวันตกแต่ประสบความล้มเหลวมากมาย แต่บางประเทศที่มีเจตนาไม่ยอมใช้รูปแบบการเติบโตอย่างตะวันตกกลับมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า สิงคโปร์ในปัจจุบันก็เป็นตัวอย่างที่ดี แม้ว่า ปีหลังๆนี้ สิงคโปร์ก็ประสบการท้าทายต่างๆนาๆที่คล้ายกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่นๆก็ตาม แต่สิงคโปร์ได้ใช้รูปแบบการเติบโตของตน และพยายามแสวงหาวิถีทางเพื่อให้เงินทุนกับสังคมมีความสมดุลกัน
สิ่งที่น่าพิจารณาคือ ในกระบวนการเป็นเศรษฐกิจตลาดนั้น จีนยังคงรักษารัฐวิสาหกิจมากมาย และได้ขยายบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย ในประเทศตะวันตกไม่มีรัฐวิสาหกิจแบบนี้เลย ในกระบวนการปรับตัวทางเศรษฐกิจนั้น มีเครื่องมือทางการเงินและการคลังสองอย่าง ซึ่งบางครั้งรู้สึกว่าไม่พอใช้เพื่อรับมือกับการกระหน่ำทางลบจากตลาด ปัจจุบัน มีคนจำนวนมากยิ่งขึ้นได้ค่อยๆรับรู้ว่า รูปแบบการพัฒนาของตะวันตกไม่ใช่รูปแบบที่ดีที่สุด และรูปแบบการพัฒนาของจีนกลับมีความได้เปรียบมากกว่า
บทความระบุในตอนท้ายว่า สังคมเอเชียมีทักษะะแห่งการพัฒนาของตน ปัจจุบัน ประเทศในเอเชียยังต้องแสวงหาวิถีทางการพัฒนาของตนบนพื้นฐานของตะวันตก YIM/lj