วัฒนธรรมและประเพณีของปีแพะ (1)
  2015-02-23 16:58:49  cri

(วันนี้ ผมนำเรื่องนักษัตรจีนมาฝาก นักษัตรจีนทั้ง 12 ปีใช้สัตว์ 12 ชนิดเป็นสัญลักษณ์ คล้ายของไทย ตามลำดับคือ เริ่มจากปีชวดคือหนู แล้วต่อด้วยวัวเสือกระต่ายมังกรงูม้าแพะสิงไก่หมาและหมูตามปฏิทินจันทรคติจีนปี 2015 ตรงกับปีแพะ)

ยินดีที่ได้พบกับท่านผู้ฟังอีกครั้ง วันนี้ ผมนำเรื่องนักษัตรจีนมาฝาก นักษัตรจีนทั้ง 12 ปีใช้สัตว์ 12 ชนิดเป็นสัญลักษณ์คล้ายของไทย ตามลำดับคือ เริ่มจากปีชวดคือหนู แล้วต่อด้วย วัวเสือกระต่ายมังกรงูม้าแพะสิงไก่หมาและหมู

ตามปฏิทินจันทรคติจีนปี 2015 ตรงกับปีแพะ "แพะ" ออกเสียงในภาษาจีนว่า "หยาง" ชาวจีนมีความเชื่อข้อห้าม และขนบทำเนียมประเพณีหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวพันกับนักษัตรปีแพะในรายการวันนี้เราจะมาพูดคุยในประเด็นนี้

สัตว์ 12 ชนิดที่ได้รับเลือกเป็นนักษัตรล้วนมีความหมายที่แฝงอยู่

เมื่อเร็วๆนี้ผู้สื่อข่าวไปทำข่าวเทศกาลฝูหยางที่เมืองสีว์โจวมณฑลเจียงซูทางภาคตะวันออกของจีนกิจกรรมหลักของเทศกาลนี้คือ เฉลิมฉลองเนื้อแพะได้กลายเป็นอาหารของมนุษย์ โดยมีการออกร้านจำหน่ายอาหารเนื้อแพะหลากหลายชนิดกว่าช่วงปกติตามย่านการค้าต่างๆ ในพื้นที่ จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีข้อมูลระบุชัดเจนว่า เทศกาลนี้เริ่มต้นเมื่อไหร่แต่สิ่งที่ชัดเจนคือเมื่อหลายพันปีก่อนชาวจีนก็เริ่มมีการเลี้ยงแพะและนำเนื้อแพะมาเป็นอาหารบนโต๊ะอาหารแล้ว

นายจูจินไฉนักวิจัยสภาวิทยาศาสตร์สังคมแห่งชาติจีนกล่าวว่าแพะไม่เพียงแต่เป็นอาหารที่โอชาชนิดหนึ่งของชาวจีนเท่านั้นหากยังมีบทบาทต่อวิวัฒนาการของอักษรจีนด้วยเช่น คำว่า "อร่อย"ในภาษาจีนออกเสียงว่า "เหม่ย" คำว่า "เหม่ย"ประกอบด้วยอักษร 2 ตัว คือ "แพะ" และ "ใหญ่" จากนี้จะเห็นได้ชัดว่า ชาวจีนโบราณคงเห็นว่าเนื้อของแพะตัวใหญ่อร่อยมากๆ จึงได้สร้างตัวอักษรที่ประกอบด้วย"แพะ" และ "ใหญ่" และกำหนดให้มีความหมายว่า "อร่อย"

อีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น คำว่า "อิจฉา"ในภาษาจีนออกเสียงว่า "เซี่ยนมู่" คำนี้ประกอบด้วยตัวอักษรหลายตัวในจำนวนนี้มีตัว "แพะ" "คน" และ "น้ำ" ซึ่งมีความหมายว่าคนใดคนหนึ่งเห็นเนื้อแพะก็อยากกินจนน้ำลายไหล ต่อมา คำนี้มีความหมายขยายออกไปอีกว่า เห็นของของคนอื่นดี ก็อยากได้ และเกิดความรู้สึกอิจฉา

ศาสตราจารย์เสี่ยวฟางจากมหาวิทยาลัยฝึกหัดครูปักกิ่งแสดงความเห็นว่า

แพะยังมีบทบาทต่อคุณธรรมจริยธรรมของชาวจีน ชาวจีนสมัยโบราณเห็นว่า แพะเป็นสัตว์ที่มีความอ่อนโยน ไม่ดุร้าย ไม่รังแกสัตว์อื่น ขณะเดียวกัน แพะยังเป็นสัตว์ที่มีความกล้าหาญ ในกรณีถูกสัตว์ชนิดอื่นรังแก มันจะต่อสู้กับศัตรูทันที โดยใช้เขาแทงศัตรู

ชาวจีนสมัยโบราณถือสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งดี และเห็นว่ามนนุษย์ต้องมีอุปนิสัยเหล่านี้ ทั้งนี้พิสูจน์ได้จากคำว่า "ธรรม"ในอักษรจีนสมัยโบราณที่ประกอบด้วยคำว่า "แพะ" และคำว่า "ตนเอง"

นอกจากนี้ ลูกแพะมักจะกินนมแม่ในท่าคุกเข่า ฉะนั้น ในสายตาของชาวจีน แพะยังเป็นเครื่องหมายแห่งความกตัญญูด้วย จนถึงทุกวันนี้ วันที่ 2 ของเดือนกรกฎาคมตามปฏิทินจันทรคติจีน บางพื้นที่ในจีน เช่น ที่มณฑลเหอเป่ย ยังมีประเพณีลุงหรือพี่ชายคุณแม่มอบแพะตัวหนึ่งให้แก่หลาน เพื่อเตือนให้หลานต้องมีความกตัญญูต่อพ่อแม่และผู้มีพระคุณ แน่นอน ลุงไม่ได้มอบแพะตัวจริงให้แก่หลาน แต่เป็นรูปแพะที่ทำจากแป้งสาลี ชาวบ้านเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่า "ซ่งหยางเจี่ย" ซึ่งแปลว่า เทศกาลมอบรูปแพะ

ประเพณีวัฒนธรรมที่มีส่วนเกี่ยวพันกับแพะไม่ใช่มีเฉพาะในหมู่ชาวฮั่นเท่านั้น แต่ยังมีในหมู่ชนกลุ่มน้อยของจีน เช่น ชนเผ่าอี๋ที่อาศัยอยู่ในเขตเขาเม่าติง มณฑลยูนนาน แทบทุกครอบครัวมีการเลี้ยงแพะ ในคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวมีประเพณีติดชุนเหลียน หรือกลอนคู่เทศกาลตรุษจีน ตรงประตูคอกแพะและเลี้ยงแพะด้วยอาหารพิเศษ

ชาวชนเผ่าคาซัคสถาน และชนเผ่าอุยกูร์ที่ใช้ชีวิตบนพื้นที่ทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ไพศาลทางภาคตะวันตกของจีนมีกีฬาที่เกี่ยวพันกับแพะหลายชนิด เช่น ขี่ม้าชิงแพะ วิธีการเล่นคือ ผู้เล่นแบ่งเป็นสองทีม จำนวนนักกีฬาในแต่ละทีมไม่จำกัด ระหว่างการแข่งขัน นักกีฬาขี่บนหลังม้า จะพยายามแย่งแพะตัวหนึ่งให้ได้ แล้ววิ่งไปที่จุดหมายที่กำหนดไว้ ทีมไหนถึงจุดหมายก่อน ถือว่าทีมนั้นชนะ

นายอี นา นักวิชาการทิเบตศึกษาจากสภาวิทยาศาสตร์สังคมแห่งชาติจีนกล่าวว่า

อาจเป็นเพราะแพะเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานที่สุด ชาวจีนในหลายพื้นที่ถือว่า แพะเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ประชาชนชาวทิเบตเชื่อว่าแพะเป็นพระเจ้าคุ้มครองชาวทิเบต จึงได้ใช้รูปแพะที่สลักบนเสาหินเป็นสัญลักษณ์ของชนเผ่า และทำการบูชาเป็นประจำ ครอบครัวชาวทิเบตส่วนใหญายังนิยมแขวนหัวแพะไว้ตรงหน้าประตู โดยเชื่อว่า หัวแพะจะช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปจากบ้าน

ศาสตราจารย์อี นา ยังกล่าวว่า เมื่อถึงนักษัตรปีแพะ ชาวทิเบตจำนวนมากจะเดินทางแสวงบุญที่ทะเลสาบนาม หนึ่งในทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ของชาวทิเบต ทะเลสาบแห่งนี้ห่างจากทิเบตหลายร้อยกิโลเมตร

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ชัดว่า อาหาร ภาษา และวัฒนธรรมของชาวจีนมีส่วนเกี่ยวพันกับสัตว์แพะอย่างใกล้ชิดมาก

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040