สำนักข่าวซินหวารายงานว่า เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐมนตรีการคลัง 10 ประเทศอาเซียนได้จัดการประชุมเป็นเวลา 20 วันที่โคตาบารู(kota bharu) เมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซีย เพื่ออภิปรายมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการประสานกันทางเศรษฐกิจของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้มากยิ่งขึ้น
บุคคลที่เข้าร่วมประชุมกล่าวว่า วาระสำคัญของการประชุมครั้งนี้คืออภิปรายปัญหาต่างๆ ที่ต้องแก้ไขในการจัดตั้งประชาคมอาเซียน และได้เสนอข้อเสนอและมาตรการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การประชุมระดับผู้นำประเทศอาเซียนที่จะจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวงของมาเลเซียในปลายเดือนเมษายนนี้ทำการพิจารณา
นายมูเนอร์ มาจิต(Munir majid) ประธานคณะกรรมการให้คำปรึกษาทางพาณิชย์อาเซียนให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า วงการเศรษฐกิจของประเทศอาเซียนมีความคิดเห็นเล็งผลเลิศต่อการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เมื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว ประเทศอาเซียนจะมีพื้นฐานการผลิตสินค้าและตลาดที่ค่อนข้างเป็นเอกภาพ ซึ่งเป็นเหตุทำให้สินค้า การลงทุน และบุคลากรหมุนเวียนอย่างมีเสรีภาพยิ่งขึ้น เขาระบุว่า การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนย่อมจะเพิ่มพูนกำลังแข่งขันของอาเซียนในสากลในฐานะเป็นภูมิภาคเดียวกัน
นายมูเนอร์ มาจิตเห็นว่า การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนยังต้องเผชิญหน้ากับการท้าทายมากมาย อย่างเช่นประเทศอาเซียนมีระดับพัฒนาเศรษฐกิจแตกต่างกันมาก ไม่มีกฎหมายและข้อระเบียบที่เป็นเอกภาพ เมื่อพิจารณาจากวงการธุรกิจอุสาหกรรม เนื่องจากต้องการลดหรือยกเว้นภาษีศุลกากร ระหว่างกระบวนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาจจะได้ส่งผลกระทบใหญ่หลวงแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้วยเหตุนี้ประเทศอาเซียนต้องพยายามเสนอมาตรการดียิ่งขึ้นให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในขณะเผชิญหน้ากับการท้าทาย เขากล่าวว่า คณะกรรมการให้คำปรึกษาทางพาณิชย์อาเซียนได้ให้ข้อเสนอในนามของวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งจะอภิปรายในที่ประชุมการคลังอาเซียนครั้งนี้
(Yim/zheng)