เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท A.T.Kearney ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการบริหารที่มีชื่อเสียงของโลกได้ประกาศรายงานว่า 64% ของบรรดาผู้บริหารบริษัทในประเทศอาเซียนที่เข้าร่วมทำสำรวจเห็นว่า เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสร้างแล้วเสร็จ ก็จะเร่งความเร็วในการเข้าตลาดภายในของประเทศอาเซียนอื่นๆ รายงานฉบับนี้ระบุว่า บริษัทในภูมิภาคอาเซียนต้องลงมือกำหนดแผนปฏิบัติงานทางยุทธศาสตร์ใหม่ เพื่อรับมือกับการแข่งขันอันดุเดือดภายหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า งานสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของประชาคมอาเซียนกำลังดำเนินการอย่างมีเสถียรภาพ แต่อาจจะต้องเผชิญกับการท้าทายที่เข้มงวด
ประเทศอาเซียนตั้งเป้าจะสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้เสร็จสมบูรณ์ในปี 2015 ขณะนี้เหลือเพียง 2 ปีในการบรรลุเป้าหมาย ตามที่พิมพ์เขียวการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนระบุไว้ ได้ดำเนินมาตรการจัดตั้งไปแล้ว 279 รายการ คิดเป็น 79.7% ของมาตรการทั้งหมด สถิติล่าสุดแสดงว่า ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียนที่เศรษฐกิจค่อนข้างเจริญ ต่างยกเลิกการเก็บภาษีต่อ 99.65% ของสินค้านำเข้าแล้ว ขณะที่กัมพูชา ลาว เวียดนามและเมียนมาร์ ซึ่งเป็นสมาชิกที่เศรษฐกิจยังไม่พัฒนาเท่าที่ควรก็ได้ลดอัตราภาษาศุลกากรให้ต่ำกว่า 5% สำหรับสินค้านำเข้า 98.86% ของทั้งหมด
ตลาดร่วมกับแหล่งผลิต การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันภายในภูมิภาค ร่วมแบ่งปันผลประโยชน์จากเศรษฐกิจที่เติบโต การปรับตัวให้เข้ากับเศรษฐกิจโลก นับเป็น 4 ประเด็นสำคัญที่สุดของการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นักวิจัยจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ของไทยเห็นว่า เกี่ยวกับการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บรรดาประเทศสมาชิกจะต่อรองถกเถียงเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ตลาดร่วมมากที่สุด โดยเฉพาะการหมุนเวียนอย่างอิสระของสินค้า การบริการ เงินทุนและแรงงานภายในภูมิภาค
YIM/FENG