ปัจจุบัน ญี่ปุ่นและประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงด้านการเกษตรด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากร ทั้งนี้ทำให้ญี่ปุ่นต้องพัฒนาเทคโนโลยีของตน พร้อมเสาะหาทรัพยากรข้างนอกด้วย ส่วนประเทศเอเชียตะวันออกส่วนใหญ่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ แต่ด้อยด้านเทคโนโลยี สองฝ่ายจึงสามารถร่วมมือกันอย่างสอดคล้องกับความต้องการของแต่ละฝ่าย
เทคโนโลยีด้านการเกษตรของญี่ปุ่นค่อนข้างพัฒนา นับเป็นจุดที่ดึงดูดความร่วมมือจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะรัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแก่โครงการความร่วมมือด้านการเกษตรกับประเทศอาเซียนหลายประเทศ จึงทำให้ประเทศอาเซียนให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตรกับญี่ปุ่น ส่วนญี่ปุ่นก็หวังว่าจะกลายเป็นเป้าหมายใหม่ของความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการเกษตรในหมู่ประเทศอาเซียน แต่หากจะเข้าใจว่า ญี่ปุ่นจะแทนที่จีนและกลายเป็นประเทศเป้าหมายหลักด้านความร่วมมือนั้น เป็นความคิดที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง
ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ เช่นเวียดนามและไทย ต่างเป็นประเทศใหญ่ด้านการส่งออกธัญญาหาร โดยเฉพาะข้าว ในฐานะเป็นประเทศเพื่อนบ้านสำคัญของประเทศอาเซียน จีนจึงกลายเป็นตลาดส่งออกผลิตผลการเกษตรที่สำคัญของประเทศอาเซียน จีนยินดีที่จะลงนามข้อตกลงด้านการค้าผลิตผลการเกษตรระยะยาวกับอาเซียน พยายามขยายการนำเข้าสินค้าจากประเทศอาเซียนที่มีกำลังแข่งขันในตลาดจีน พยายามส่งเสริมให้ยอดการค้า่ทวิภาคีมีมูลค่าถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 และในเวลา 8 ปีข้างหน้า จะเพิ่มการลงทุนแก่กันเป็นมูลค่า 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนญี่ปุ่นมีตลาดภายในประเทศที่จำกัด จึงไม่สามารถกลายเป็นตลาดหลักในการค้าผลิตผลการเกษตรกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้
In/Ldan