วันที่ 22 เมษายนนี้ การประชุมผู้นำเอเชีย-แอฟริกา และ งานรำลึกครบรอบ 60 ปีการประชุมบันดุงเริ่มขึ้นที่ที่กรุงจาการ์ตา นายโจโค วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียกล่าวในพิธีเปิดประชุมว่า การประชุมบันดุงที่จัดขึ้นเมื่อ 60 ที่แล้วสะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียเอเชียและแอฟริกา ถึงแม้ว่าผ่านไป 60 ปีแล้ว แต่เจตนารมณ์ของการประชุมบันดุงยังคงมีความหมายสำคัญยิ่ง ปัจจุบัน ปรากฎการณ์ที่ไม่เที่ยงธรรม ไม่เสมอภาคเท่าเทียมกันยังคงมีอยู่มากในประชาคมระหว่างประเทศ อินโดนีเซียจึงยินดีที่จะร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาทุกประเทศ พยายามผลักดันการสร้างระเบียบใหม่ทางการเมือง และเศรษฐกิจโลกที่มีความเที่ยงธรรม และสมเหตุสมผลมากขึ้น อีกทั้งทุ่มเทกำลังเพื่อการสร้างความเจริญรุ่งเรือง และความมั่นคงในโลก
นายหัน เฟิง รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเอเชีย-แปซิฟิค สภาวิทยาศาสตร์สังคมแห่งชาติจีนกล่าวว่า การที่อินโดนีเซียเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเอเชีย-แอฟริกาครั้งแรก เมื่อ 60 ปีที่แล้วและครั้งนี้ นั้นแสดงให้เห็นถึงสติปัญญาและวิสัยทัศน์ด้านการเมืองของผู้นำ อินโดนีเซีย เขากล่าวว่า เมื่อก่อน อินโดนีเซียอยู่ภายใต้การปกครองของลัทธิล่าอาณานิคม และลัทธิ จักรวรรดินิยม ผู้นำอินโดนีเซียในสมัยนั้นต้องการหาทางออกเพื่อพัฒนาประเทศอย่าง เร่งด่วน จึงได้ริเริ่มให้จัดการประชุมบันดุง ปัจจุบัน อินโดนีเซียเป็นสมาชิกจี 20 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศใหญ่ในโลก และยังเป็นแกนนำกลุ่มประเทศอาเซียนด้วย จึงมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนา ความร่วมมือ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียน
ด้านนายสี่ว์ ลี่ผิง นักวิจัย สภาวิทยาศาสตร์สังคมแห่งชาติจีนแสดงความเห็นว่า อาเซียนอาจไม่เกิด หากไม่มีการประชุมบันดุง เขากล่าวว่า
อินโดนีเซียเป็นผู้ริเริ่ม และเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมบันดุง หลังจากนั้น อินโดนีเซียได้ร่วมกับประเทศอื่น ริเริ่มให้ก่อตั้งอาเซียนขึ้น หลังประสบความสำเร็จ สำนักงานใหญ่อาเซียนได้ตั้งที่อินโดนีเซีย ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า อินโดนีเซียมีบทบาทมากทั้งเรื่องจัดประชุมบันดุง และก่อตั้งอาเซียน สองเรื่องนี้มีส่วนเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิดมาก อาเซียนอาจไม่เกิด หากไม่มีการประชุมบันดุง
ช่วง 48 ปีมานี้ อาเซียนดำเนินนโยบายที่เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง เป็นกลาง และไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด มุ่งสร้างความสามัคคีภายในอาเซียน และแก้ไขความขัดแย้งต่างๆ ระหว่างประเทศอาเซียน ทำให้สถานการณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนจากความปั่นป่วนสู่ความมั่นคง จากความเป็นปรปักษ์สู่ความร่วมมือ จากความยากจนสู่ความมั่งคั่ง
(YIN/cai)