สถานีวิทยุซีอาร์ไอรายงานว่า การประชุมผู้นำเอเชีย-แอฟริกา และงานรำลึกครบรอบ 60 ปีการประชุมบันดุงจัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีซียระหว่างวันที่ 22-24 เมษายนนี้ หลายวันมานี้ สื่อมวบชนกลุ่มประเทศอาเซียนพากันชื่นชมการประชุมครั้งนี้
หนังสือพิมพ์ห่าโหน่ยเหมยหรือฮานอยใหม่ของเวียดนามออกบทความในหัวข้อ "พลังขับเคลื่อนใหม่แห่งความร่วมมือเอเชีย-แอฟริกา"ว่า การประชุมผู้นำเอเชีย-แอฟริกา และงานรำลึกครบรอบ 60 ปีการประชุมบันดุงได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วโลก เพราะผู้ร่วมประชุมมีการอภิปรายและพูดคุยในประเด็นปัญหาสำคัญทั้งระดับโลกและระดับภูมิภาค จึงกล่าวได้ว่า การประชุมครั้งนี้เป็นพลังขับเคลื่อนใหม่แห่งความร่วมมือระหว่าง ประเทศเอเชีย-แอฟริกา บทความยังระบุว่า การประชุมบันดุงที่จัดขึ้นเมื่อ 60 ปีที่แล้วไม่เพียงแต่ได้สร้างรากฐานความร่วมมือระหว่างประเทศ เอเชีย-แอฟริกาเท่านั้น หากยังช่วยให้ประชาชนประเทศเอเชีย-แอฟริกามีความตื่นตัวในเอกราช และการพัฒนาประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ประชุมได้ชูหลักการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 10 ประการ ซึ่งถือเป็นเป็นการสร้างพื้นฐานใหม่แก่การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ
บทความยังกล่าวอีกว่า ช่วง 60 ผ่านไปแล้ว โลกมีการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก ขณะเดียวกัน ก็เกิดการท้าทายหลายอย่าง เช่นลัทธิก่อการร้าย สงคราม ความยากจน และโรคระบาดร้ายแรง ซึ่งล้วนเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้ ประเทศเอเชีย-แอฟริกาที่มีประชากร 75% ของโลกจึงต้องกระชับความร่วมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียกล่าวในที่ประชุมว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศเอเชีย-แอฟริกาไม่เพียงแต่มีความหมาย เชิงสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ยังมีความหมายที่เป็นรูปธรรมต่ออนาคตของภูมิภาคนี้ด้วย
ด้านสื่อไทยได้รายงานปาฐกถาของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่กล่าวในการประชุมครั้งนี้ สื่อส่วนใหญ่แสดงความเห็นว่า การที่ผู้นำจากกว่า 100 ประเทศเอเชีย-แอฟริกาเดินทางไปร่วมประชุมที่กรุงจาการ์ตานั้นเป็น เรื่องที่มีความหมายสำคัญยิ่งภายใต้สถานการณ์โลกปัจจุบัน ประเทศไทยได้สืบทอดและเชิดชูส่งเสริมเจตนารมณ์การประชุมบันดุง มาโดยตลอด โดยได้ใช้ความพยายามส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศเอเชีย-แอฟริกา ซึ่งถือเป็นคุณูปการสำคัญต่อการพัฒนาภูมิภาคนี้
หนังสือพิมพ์ซิงโจว ของมาเลเซียรายงานว่า ผู้นำประเทศที่ร่วมประชุมครั้งนี้เรียกร้องให้สร้างระเบียบ ใหม่ทางการเงินระหว่างประเทศ และยกเลิกระเบียบที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลกใน ปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่การพัฒนาเศรษฐกิจเกิดใหม่ หนังสือพิมพ์ฉบับนี้ยังอ้างคำพูดของนายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซียในพิธีเปิดประชุมว่า จำเป็นต้องสร้างระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศใหม่ เพื่อสร้าง โอกาสมากขึ้นให้แก่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ แนวความคิดที่ให้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลกโดยผ่านเฉพาะธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ และธนาคารเพื่อพัฒนาเอเชียนั้นล้าสมัยไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง
(YIN/cai)