วันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา กองทัพเรือไทยแสดงว่า ถ้าหากผู้ลี้ภัยแสดงความปรารถนาที่จะขึ้นฝั่งไทย ก็คงจะรับผู้ลี้ภัยส่วนหนึ่ง วันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา หัวหน้าฝ่ายสารนิเทศทำเนียบประธานาธิบดีฟิลิปปินส์กล่าวว่า ฟิลิปปินส์ยอมที่จะรับผู้ลี้ภัยจากพม่าและบังคลาเทศจำนวน 3,000 คน ซึ่งนับเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่แสดงท่าทีดังกล่าว
ขณะเดียวกัน ประเทศอาเซียนที่เกี่ยวข้องก็ได้เสริมการประสานงาน โดยวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย มาเลเซียและอินโดนีเซียจะจัดประชุมที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อหารือปัญหาการค้ามนุษย์และการอพยพที่ผิดกฎหมาย นอกจากนั้น วันที่ 29 พฤษภาคมนี้ ที่กรุงเทพฯ ผู้แทนประเทศอาเซียนและประเทศอื่นๆ รวม 15 ประเทศ จะจัดการประชุมภูมิภาค เพื่อหารือแผนการรับมือแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญาอพยพ รัฐบาลไทยประกาศแถลงการณ์ว่า ประเทศที่เป็นแหล่งที่มาของผู้อพยพผิดกฎหมาย ประเทศกลางทางและประเทศเป้าหมายของผู้ลี้ภัยควรร่วมมือกันจัดการปัญหา กระทั่งขจัดต้นตอของปัญหา ดาโต๊ะ ซรี นาจิบ ราซัค ประธานหมุนเวียนอาเซียน นายกรัฐมนตรีมาเลซียกล่าวว่า จะติดต่อกับทางการพม่าเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า วันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าแสดงความเข้าใจต่อความกังวลของประชาคมโลก แต่ก็ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาชาวโรฮิงญาเร็วๆ นี้นั้น ไม่ใช่เรื่องของพม่าเพียงประเทศเดียว การประณามพม่าคงไม่มีส่วนช่วยแก้ไขปัญหา ประเทศอาเซียนควรร่วมมือกันช่วยเหลือผู้ลักลอบข้ามแดนที่ยังลอยเรืออยู่กลางทะเล
(Doon/Lin)