ปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญายังคงน่าเป็นห่วง
  2015-05-20 17:47:54  cri

หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้ารายงานว่า จากข้อมูลล่าสุดของรัฐบาลมาเลเซียและอินโดนีเซีย ช่วงไม่กี่วันมานี้ มีผู้อพยพจากบังกลาเทศและพม่ารวมประมาณ 2,000 คนได้ขึ้นฝั่งสองประเทศนี้แล้ว คาดการณ์ว่าขณะนี้ยังมีผู้อพยพอีก 6,000-8,000 คนอยู่บนเรือที่ลอยลำในทะเล คนเหล่านี้กำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนอาหารและน้ำดื่ม และตกอยู่ในสภาวะที่น่าเป็นห่วง

สื่อรายงานว่า ผู้อพยพเหล่านี้ที่สำคัญเป็นชาวโรฮิงญาจากพม่าและบังกลาเทศ หลายปีมานี้ ชาวโรฮิงญาจำนวนมากจากพม่า และชาวบังกลาเทศจำนวนหนึ่งพยายามอพยพหลบหนีเข้าไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพื่อพ้นจากภาวะยากลำบาก ทั้งนี้เกิดขึ้นโดยมีขบวนการค้ามนุษย์อยู่เบื้องหลัง จึงทำให้ผู้อพยพชาวโรฮิงญาและชาวบังกลาเทศต้องเสี่ยงต่ออันตราย เสียชีวิตระหว่างการเดินทาง ผู้อพยพบางส่วนถูกลักพาตัว และถูกนำไปค้าขายเป็นผู้ใช้แรงงาน

เมื่อเร็วนี้ สำนักผู้ลี้ภัยสหประชาชาติประกาศรายงานฉบับหนึ่งว่า ช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมปีนี้ มีชาวโรฮิงญาและชาวบังกลาเทศรวมประมาณ 25,000 คนขึ้นเรือของขบวนการค้ามนุษย์ เพื่อเดินทางหลบหนีเข้าประเทศที่สาม ซึ่งจำนวนผู้อพยพดังกล่าวคิดเป็นสองเท่าของเมื่อระยะเดียวกันของปีที่ แล้ว

สำนักผู้ลี้ภัยสหประชาชาติคาดการณ์ว่า ไตรมาสแรกปีนี้ มีผู้อพยพชาวโรฮิงญาจำนวนประมาณ 300 คนเสียชีวิตจากการขาดอาหาร น้ำดื่ม หรือถูกทรมาน ผู้อพยพที่มีประสบการณ์คล้ายกันจำนวนมากเล่าให้สื่อมวลชนฟังว่า ภายในค่ายกักขังผู้อพยพชาวโรฮิงญา มีเหตุการณ์ทุบตี ข่มขืนผู้อพยพเกิดขึ้นบ่อยมาก ผู้ที่อยากหลบหนีออกไป มีความเป็นไปได้สูงมากที่จะถูกยิงเสียชีวิต

ตั้งแต่ต้นเดือนนี้เป็นต้นมา รัฐบาลไทยเร่งปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ ทำให้ผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่อยู่บนเรือของขบวนการค้ามนุษย์ไม่ สามารถขึ้นฝั่งได้ ปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญาจึงโผล่ออกมาให้เห็น

กระทรวงการต่างประเทศไทยกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ยินดีที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาผู้อพยพชาวโรฮิงญาที่จะจัดขึ้นในวันที่ 29 เดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บังกลาเทศ พม่า ออสเตรเลีย สหรัฐฯ และอื่นๆรวม 15 ประเทศจะส่งตัวแทนร่วมประชุมครั้งนี้ เพื่อร่วมกันหาทางออกแก้ไขวิกฤตผู้อพยพชาวโรฮิงญา ส่วนการประชุมครั้งนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขณะนี้ยังคาดการณ์ได้ยาก เพราะว่าก่อนหน้านี้หลายประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนแสดงท่าทีว่า ยังไม่พร้อมที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลมาเลเซียย้ำหลายครั้งแล้วว่า มาเลเซียไม่มีเจตนาที่จะลงนามในสนธิสัญญาว่าด้วยสถานะผู้ลี้ภัย และข้อตกลงเกี่ยวกับสถานะผู้ลี้ภัย รวมทั้งไม่รับรองสถานะผู้ลี้ภัยของผู้ที่อยากอพยพเข้ามาพักพิงอยู่ใน ประเทศมาเลเซีย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกระแสผู้ลี้ภัยที่ทะลักเข้ามาเลเซีย

(YIM/cai)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040