บทสัมภาษณ์ ฯณฯ โภคิน พลกุล นายกสมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน (ตอนที่ 3)
  2015-07-06 17:36:29  cri

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ:ในฐานะที่ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒและเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ท่านมองปัญหาทะเลจีนใต้อย่างไร?

รศ.ดร.โภคิน พลกุล:ปัญหาทะเลจีนใต้ก็เหมือนปัญหาในที่อื่นๆ ที่เขตแดนมันไม่ชัดเจน เมื่อไม่ชัดเจน แต่ละประเทศก็จะบอกว่านี่เป็นของข้าพเจ้า กฎหมายทะเลกำหนดว่า เขตดินแดนนั้น ในทะเลห่างจากพื้นดิน จากนั้นจะเป็นเขตเศรษฐกิจต่างๆ มันก็ชนกันหมด ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นในทะเลจีนใต้เท่านั้น และปัญหาทะเลจีนใต้ก็ไม่ใช่เพิ่งเกิด ก็เกิดกันมาโดยตลอด ที่แน่ๆ ก็คือญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อะไรที่เกี่ยวข้องก็จะผ่านกันอยู่แถวนี้ ไม่มีทางที่เราจะบอกได้ว่าตรงไหนเป็นของใคร เพราะว่ามันตอบยาก ทางเดียวเท่านั้นก็คือ ทำอย่างไรเราจะคุยกัน แล้วก็ทำอย่างไร ถ้าเป็นปัญหามากๆ ก็อาจจะเอาเป็นเขตว่างเปล่าดีไหม เป็นโซนที่เราไม่ค่อยไปเกี่ยวข้องไม่ทะเลาะกัน หรือไม่อย่างนั้นก็เอามาพัฒนาร่วมกันดีไหม ต้องมีประเทศที่กล้าเสนอแนวคิดนี้ออกมา แต่ถ้าบอกว่า อันนี้เป็นของข้าพเจ้า อย่างก็มีวันลงตัว อย่างไทยกับมาเลเซียก็เคยมีปัญหาตรงนี้ ต้องเป็นเขตปลอดที่ไม่ต้องไปทำอะไร แต่ไทยกับกัมพูชาเพราะเรื่องเขาพระวิหารเป็นปัญหา เพราะว่าแผนที่ไทยบอกว่าอย่างนี้ กัมพูชาบอกอย่างนี้ และสุดก็ไปสู่ศาลโลกตัดสินว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ ใจผมมองว่า จีนเป็นประเทศใหญ่ เป็นประเทศมหาอำนาจด้วย จีนต้องใช้ความอดทนให้มาก และต้องใช้ท่าทีที่อ่อนน้อมที่สุด ถ้าจีนใช้ท่าทีแข็งกร้าว และไม่อดทนพอ ก็จะไปทำลายในข้อเสนอเส้นทางสายไหมทางทะเลทันที ตรงนั้นเราเสนอว่าเป็นเรื่องของมิตรภาพ เป็นเรื่องของการวินวินด้วยกัน เป็นเรื่องของการปรึกษาหารือกัน แต่พอเกิดข้อพิพาท เราไม่ใช้วิถีนั้น มันก็จะขัดกันเองในตัว ผมว่าจีนต้องระมันระวังเรื่องนี้ และต้องอดทนอย่างมาก

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ:ปีนี้เป็นโอกาสครบรอบ 70 ปีแห่งสงครามต่อต้านฟาร์ซิสของโลกและสงครามต่อต้านการรุกรานจีนของทหารญี่ปุ่น ซึ่งจีนและหลายประเทศจะมีกิจกรรมรำลึก ขอให้ท่านแสดงทัศนะในโอกาสนี้ด้วย

รศ.ดร.โภคิน พลกุล:สงครามโลกที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้ง ก็เกิดจากความอยากจะครอบงำ ความอยากจะเอาชนะต่างๆ ก็โดยผ่านความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นศาสนา ไม่ว่าจะเป็นลัทธิการเมืองต่างๆ ยุคก่อนยุคโรมานก็ก่อส่งครามรุกรานคนอื่น เพื่อจะเอาทรัพยากร ทุกอย่างเอาปรนปรือคนของตัวให้มีความสุข วิถีชีวิตแบบโรมานที่ฟุ่มเฟือนเป็นวิถีชีวิตที่เป็นบาป วิถีชีวิตที่ดีที่ถูกต้องคือวิถีชีวิตที่สมาถะที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ลัทธ์ฟาร์ซิสที่ก่อส่งครามโลกครั้งที่ 2 โดยฮิตเลอร์ก็แบบเดียวกัน ไปอ่านงานของคนอังกฤษ เรื่องชาวเยอร์มันเป็นชนชาติที่สูงส่ง ก็เลยคลั่งชาติ มองว่าคนเยอรมันนั้นสูงส่ง และก็ไปรังแกชนชาติยิว และก็ผลประโยชน์ต่างๆ ความเจ็บช้ำที่แพ้สงครามโลกที่ 1 และการทำลายล้างคนตาย 40-50 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งก็ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลย ผมว่าสงครมมทุกครั้ง ไม่เพียงสงครามฟาร์สิซหรืออิตาลีเท่านั้น หรือแม้แต่ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็ต้องการจะออกไปครอบงำโลก ลงมาดีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ก็เพื่อสร้างมหาอณาจักรของญี่ปุ่น วิธีคิดอย่างนี้ หวังว่าจะไปรุกรามและครอบงำคนอื่น เป็นวิธีที่จะทำลายตัวเองด้วย เราต้องร่วมกันหยุดยั้ง ต้องร่วมกันย้อนประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคไหนที่ออกไปรุกรานคนอื่น ดังนั้น การครบรอบ 70 ปียิ่งต้องให้การศึกษาให้คนเห็นว่า สิ่งนี้เป็นอันตรายต่อโลก และต่อทุกประเทศ ถ้าคนรุ่นใหม่รู้ถึงความเลวร้ายของสิ่งนี้ เขาก็จะไม่สนับสนุนแนวคิดนี้ ผู้นำคนไหนเกิดเพี้ยนไป ผู้คนจะได้ต่อต้านว่า อย่างทำเช่นนั้น สิ่งที่น่ากังวลก็คือ อย่าไปสร้างลัทธิชาตินิยมจนเกินเหตุ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นเพราะลัทธิชาตินิยม เพื่อไปรุกรานคนอื่น

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ:ในทัศนะของท่าน ธนาคาร AIIB ที่จีนเสนอก่อตั้งขึ้น และขณะนี้ 57 ประเทศได้ลงนามในระเบียบว่าด้วยการก่อตั้งธนาคารดังกล่าวแล้ว ท่านคิดว่าประเทศไทยและประเทศทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชีย จะได้รับประโยชน์จากการนี้อย่างไรบ้าง

รศ.ดร.โภคิน พลกุล:ชื่อของธนาคารบอกชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นธนาคารลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานในเอเชีย ผมคิดว่าทุกประเทศ และไทยน่าจะเป็นประเทศแรกๆ ที่ร่วมลงนาม ประโยชน์ตรงที่ว่ากองทุนที่จะพัฒนาต่างๆ เราเห็นว่าระดับโลกมีธนาคารโลก ระดับเอเชียก็มี ADB ซึ่งWorld Bank นั้น อเมริกาก็จะมีอิทธิพลค่อนข้างมาก ADB ญี่ปุ่นก็จะมีอิทธิพลพอสมควร การที่จีนได้สร้างกองทุนอีกกองทุนหนึ่งขึ้นมา ก็เป็นผลดี ทำให้ประเทศในเอเชียมีทางเลือกมาขึ้น เช่นจะลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ต้องกู้เงิน เดิมแหล่งกู้เงินก็มีอยู่ 2-3 แห่ง ตอนนี้มีเพิ่มอีกหนึ่งแห่ง และก็เน้นในเอเชียโดยเฉพาะ มันเป็นประโยชน์ เราสามารถเข้าถึงแหล่งลงทุนอันใหม่นี้ได้ ไทยเองจะได้ประโยชน์ เทียบกับประเทศอื่นๆ แล้ว จะได้ประโยชน์มากพอสมควร เพราะว่าประเทศไทยตั้งอยู่ตรงกลางของอาเซียน แน่นอนผ่านทางอากาศคงไม่ค่อยมีปัญหา แต่การผ่านทางบก และทางเรือ ถ้าไปช้องแคบมะละกา เราศึกษาแล้ว ถ้ามันเป็นไปได้ มีคลองตัดผ่านประเทศไทย มันจะเส็ฟเวลาไป 3 วัน เส็ฟค่าใช้จ่านมหาศาล สิ่งเหล่านี้ คิดว่าคงจะต้องมาสู่ธนาคาร AIIB แน่นอน

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ:ความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนด้านใดที่ท่านคิดว่าน่าจะส่งเสริมมากเป็นพิเศษ เพราะเหตุใด

รศ.ดร.โภคิน พลกุล:จริงๆ แล้วก็มีหลายด้าน แต่ด้านที่ผมคิดว่าน่าจะส่งเสริมคือด้านการท่องเที่ยว ถามว่าเพราะอะไร เพราะเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุดและเร็วที่สุด ด้านอื่น จะสร้างรถไฟความเร็วสูง มีปัญหาว่า เส้นทางจากเหนือลงใต้ เป็นแบบไหน อย่างไร จะใช้เวลาหลายปี แต่เรื่องการท่องเที่ยว ถ้าเรายกเลิกวีซ่า เราอยากเห็นคนไปมาหาสู่ อยากเห็นคนแลกเปลี่ยน ก็คือคน ถ้าคนไปมาหาสู่กันไม่ได้ เรื่องอื่นๆ จะไม่มีทางเกิด คนไม่รู้จักกัน เมื่อคนไม่รู้จัก ความไว้ใจไม่มี และจะไม่มีการค้าขาย ไม่มีใครลงทุนกัน เรื่องแรกก็คือ ทำยังไงจะได้ไม่มีข้อจำกัดให้การไปมาหาสู่ให้เร็วที่สุด ส่วนนักท่องเที่ยวจีน จีนก็ห่วงว่า อาจจะไม่ค่อยมีมารยาทแบบมาตรฐานสากล อย่าไปห่วงมากมาย รัฐบาลจีนก็กังวล พยายามออกมาตรการต่างๆ เรื่องหนึ่งที่เราต้องกังวลก็คือ ทัวร์ "0 เหรียญ" หรือเกือย 0 หรียญทั้งหลาย เป็นนักท่องเที่ยวที่ไม่ค่อยมีดัง และก็ถูกขู่ตั้งแต่จีนมาแล้ว ส่งมาที่เมืองไทย ทัวร์ไทยก็ต้องดูแลหาทางให้ไปซื้อนี่ซื้อนุ่น เพื่อเอาค่าเปอร์เซนต่างๆ อย่างนี้ต้องช่วยกันแก้ไข ให้นักท่องเที่ยวที่มาทั้งสองฝ่ายมีคุณภาพ เมื่อมีคุณภาพแล้วทุกอย่างมันจะดีขึ้นเอง ในกิริยามารยาท เมื่อเขาเดินทางบ่อยๆ เขาจะอินเตอร์เอง เราต้องเชื่อในพัฒนการณ์ตรงนี้ ถ้าเราเป็นห่วงกังวลไปหมด สรุปว่าเราไม่ต้องทำอะไร ทุกอย่างมีปัญหาทั้งสิ้น ต้องแก้ไป

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ:ปีนี้นอกจากจะเป็นการครบรอบ 40 ปีความสัมพันธ์ไทยจีนแล้วยังเป็นโอกาสครบรอบ 65 ปีภาคภาษาไทยสถานีวิทยุซีอาร์ไอ ท่านมองซีอาร์ไออย่างไร และมีข้อเสนอแนะกับซีอาร์ไออย่างไรบ้าง

รศ.ดร.โภคิน พลกุล:ผมว่าซีอาร์ไอก็เหมือนบีบีซี เหมือนอีกหลายประเทศที่เป็นสถานีวิทยุแบบสื่อกลางของประเทศจีน มี 65 ปีแล้วที่มีภาคภาษาไทย ในยุคที่ผมเด็กๆ ภาคภาษาไทยเป็นวิทยุคลื่นสั้น เปิดฟัง บางที่ได้บ้างไม่ได้บ้าง เดี๋ยวยี้ไปออกที่เมืองไทย เป็นวิทยุ FM แต่ FM อาจจะมีข้อจำกัด เช่น FM 101.5 จะครอบคลุมกรุงเทพฯ และบริมณฑล ไม่แน่ใจว่า คนในพื้นที่อื่นๆ ได้ฟังวิทยุนี้หรือเปล่า ตอนนี้ในเมืองไทยมีวิทยุชุมชนเยอะ เขาจะเสนอข่าวชุมชนของเขาเอง เพลงหรือสาระแบบชุมชน FM มีข้อขัดข้องคือคลื่นมันไปไม่ได้ไกล ทำอย่างไรที่ทางซีอาร์ไอ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกรมประชาสัมพันธ์และส.ว.ท.ว่าจะออกอากาสให้มีขอบเขตที่กว้างขวางยิ่งกว่าเดิม นั่งรถบางที่คนฟังวิทยุ ทำยังไงที่สถานีวิทยุที่คนชอบฟังเป็นเพลง เป็นสาระอะไรบ้าง ทำยังไงจะให้สาระไทยจีนทำให้คนอยากเปิดฟัง อยู่ที่ตรงสาระ ถ้าสาระดี เป็นประโยชน์ต่อเขา เขาจะหาทางเปิดฟังเอง อยากขอให้ซีอาร์ไอซึ่งทำดีอยู่แล้ว ปรับปรุงคุณภาพเนื้อหาให้ดึงดูดคนมาฟัง แล้วก็ประชาสัมพันธ์ว่าให้ไปฟังนะ วันนี้มีเรื่องดีๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเขา ถ้าทำอย่างนี้ได้ ผมคิดว่า คนจะหันมาสนใจรายการที่ซีอาร์ไอทำมากยิ่งขึ้น

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอ:ขอบคุณท่านโภคินมากค่ะ

รศ.ดร.โภคิน พลกุล: ขอบคุณครับ

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040