ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาอาเซียนของจีนกล่าวว่า วัตถุประสงค์ของความร่วมมือครั้งนี้คือ เพิ่มความผาสุกของประชาชนประเทศลุ่มแม่น้ำ ผลสำเร็จของการประชุมจะนำมาซึ่งผลประโยชน์ที่แท้จริงแก่ประชาชนประเทศต่างๆ
ผู้นำ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขงได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ระบุลงในปฏิญญาซานย่าว่า 6 ประเทศมีภาระหน้าที่ร่วมกันด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างสมาชิกภายในภูมิภาค
นายสวี่ ลี่ผิง หัวหน้านักวิจัยปัญหาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาสังคมศาสตร์จีนเห็นว่า เอกลักษณ์เด่นสุดของกรอบความร่วมมือน้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขงคือมุ่งปฏิบัติให้ได้ผลจริง โดยมีการเสนอบัญชีรายชื่อโครงการร่วมมือ 100 โครงการในขั้นตอนแรก เมื่อโครงการเหล่านี้เริ่มต้นแล้ว ก็จะนำผลประโยน์ที่แท้จริงมากมายสู่ประชาชน ยกตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อสำคัญต่างๆ อาทิ เส้นทางการคมนาคมทางอากาศ และทางบก ตลอดจนการเข้าถึงสื่ออินเตอร์เน็ตเป็นต้น โครงการร่วมมือดังกล่าวจะดำเนินการก่อกสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จำนวนมาก เพื่อให้เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
นายซ่ง ชิงรุ่น รองหัวหน้านักวิจัยเอเชียตะวันออกสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนเห็นว่า วัตถุประสงค์สำคัญที่สุดของกลไกความร่วมมือน้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขงก็เพื่อผลักดันการพัฒนาของ 6 ประเทศในภูมิภาค ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองและความมั่นคง เพิ่มความผาสุกของประชาชน
(Doon/Lin)