อำนาจตามประวัติศาสตร์เป็นอำนาจในการเดินเรือ การทำประมงและการควบคุมบริหารที่ปฏิบัติมาแต่อดีตเป็นเวลานานของจีน มีการอ้างอิงได้จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่แข็งแรงและแน่ชัด แต่ปัจจุบันฟิลิปปินส์ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนและยากที่จะเสนอรายละเอียดต่างๆ
ฟิลิปปินส์ขัดแย้งในตัวเอง ปัญหาทางพรมแดนไม่เหมาะกับการใช้อนุสัญญาดังกล่าวมาแก้ไข ฟิลิปปินส์ใช้วิธีต่างๆ เสนอคำขอ พยายามให้ตัดสินปัญหานี้โดยทำเหมือนไม่เกี่ยวกับอธิปไตย มองข้ามจีนที่มีหลักฐานชัดเจนในการค้นพบ การตั้งชื่อ การใช้สิทธิ์และการบริหาร ทั้งเน้นว่า เส้นพรมแดนใต้ที่สุดของจีนไม่เกินเกาะไห่หนาน และจนถึงปี 1933 จึงเสนอใช้สิทธิ์อธิปไตย และไม่เคยใช้สิทธิ์บริหารกับหมู่เกาะทะเลจีนใต้ เป็นต้น
ฟิลิปปินส์บิดเบือนข้อมูลที่เป็นจริง อ้างอิงข้อมูลทางลายลักษณ์อักษรเพียงบางส่วนออกมาขยายความ เพื่อสนับสนุนท่าทีของตน อย่างคำพูดที่ว่า "เมื่อปี 1937 รัฐบาลจีนมีเอกสารยืนยันว่าหมู่เกาะซีซาเป็นจุดใต้สุดของพรมแดนจีน" ที่จริงแล้ว ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์หมิงต่างมีแผนที่ที่รวมเกาะสือถังและเกาะฉางซาแล้ว ช่วงปี 1934-1935 จีนได้กำหนดชื่อของเกาะต่างๆ และลงพิมพ์ "แผนที่หมู่เกาะทะเลจีนใต้" กำหนดแผนที่ทางทะเลของจีนอย่างชัดเจน
ฟิลิปปินส์ปกปิดความจริง โดยระบุว่าก่อนปี 1947 จีนไม่เคยตั้งชื่อให้เกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ การเดินเรือก็พยายามหลีกเลี่ยงน่านน้ำที่อันตราย ความจริงคือ ตั้งแต่ราชวงศ์หมิงและชิง ชาวประมงของจีนได้จับปลาที่น่านน้ำทะเลจีนใต้ และเป็นเจ้าของมานานแล้ว และหนังสือคู่มือเส้นทางการเดินเรือ "เกิงลู่ปู้" สามารถอ้างอิงได้ นอกจากนี้ เอกสารต่างชาติช่วงศตวรรษที่ 19 ก็เคยกล่าวถึงประวัติศาสตร์ช่วงนี้อย่างชัดเจน เช่น เมื่อปี 1868 มีหนังสือ "คู่มือการเดินเรือทะเลจีน"ของราชนาวีอังกฤษ และเมื่อปี 1923 กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือสหรัฐฯ มีหนังสือ "นำร่องเอเชีย" รวมถึงเมื่อปี 1940 มีหนังสือ "เกาะแห่งพายุหนัก"ของนายโอคูระ อูโนสุเกะ อดีตทหารเรือญี่ปุ่น Yim/Lei