ปีนี้เป็นปีแรกการเดินหน้าตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปีฉบับที่ 13 และเป็นปีสำคัญในการฟันฝ่าต่อสู้เพื่อบรรลุเป้าหมายสร้างสรรค์สังคมพอกินพอใช้ให้สำเร็จรอบด้าน แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจจีนได้รับความสนใจอย่างสูงจากทั้งในจีนและต่างประเทศ
ปัจจุบัน ความเร็วการเติบโตของเศรษฐกิจจีนดิ่งลงจากอัตราไม่ต่ำกว่า 10% ของปี 2010มาเหลือเพียง 6.7% ในไตรมาสแรกปีนี้ นับเป็นการหดตัวลงของเศรษฐกิจจีนยาวนานที่สุดหลังจีนดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ นายหลิน อี้ ฟู นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก อดีตรองผู้ว่าการธนาคารโลกเห็นว่า นอกจากระบบและกลไกการดำเนินการ ปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจจีนเต็บโตลดลงอย่างมาก มาจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา
เขากล่าวว่า หากสรุปในภาพรวม ประเทศพัฒนาแล้วยังคงไม่สามารถก้าวข้ามเงามืดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2008 อย่างแท้จริง เศรษฐกิจของหลายประเทศในยุโรปที่เติบโตต่อไปได้ก็ด้วยแรงกระตุ้นของนโยบายเงินฝืด เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงซบเซาลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนเศรษฐกิจอเมริกาถึงแม้มีสัญญาณที่ดีกว่าหน่อยในช่วงต้นปี แต่มักจะต้องปรับตัวขึ้นลงช่วงกลางปี จริงๆ แล้ว สัดส่วนมูลค่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนามีถึงกว่า 50% ของเศรษฐกิจโลก แต่ก็ไม่ได้ฟื้นฟูการเติบโต รายได้ครัวเรือนที่โตช้าลงทำให้การบริโภคฟื้นตัวอ่อนแรง สถานการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้การค้ากับประเทศพัฒนาของจีน โดยเฉพาะการส่งออกเติบโตอย่างเชื่องช้า
นายหลิน อี้ ฟูอธิบายว่า ภายหลังปี 2010 หลายประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงสมาชิกกลุ่มประเทศบริคส์ ต้องเผชิญกับสถานการณ์เศรษฐกิจดิ่งลง แม้แต่ประเทศรายได้สูงที่มีสัดส่วนการส่งออกค่อนข้างสูง เช่นสิงคโปร์และเกาหลีใต้ก็หนีไม่พ้นเผชิญปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว และยังมากกว่าจีนเสียอีก มองในอนาคต สิ่งการเติบโตจากภายนอกยังคงอ่อนแรงต่อไป ขณะนี้ รัฐบาลจีนเสนอให้ปรับขยายความต้องการภายในพอสมควร พิจารณาจากการลงทุนและการบริโภคแล้ว การเติบโตของเศรษฐกิจจีนจะครองเงื่อนไขและโอกาสที่ประเทศอื่นๆ ไม่มี
T/F