โลกมองอนาคตการพัฒนาของเศรษฐกิจจีน -1
  2016-03-30 14:53:41  cri

เมื่อกลางเดือนนี้ การประชุม " 2 สภา" หรือการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติและการประชุมสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนปี 2016 สิ้นสุดลงที่กรุงปักกิ่ง สื่อจีนเห็นว่า การประชุม " 2 สภา" ปีนี้มีความหมายพิเศษยิ่ง เพราะเป็นจุดเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปีฉบับที่ 13 หรือพูดง่ายๆ ว่า "สือซานอู่" ของจีน

ผู้นำจีนใช้คำเปรียบเทียบที่มีเอกลักษณ์ของจีนว่า 5 ปีข้างหน้า จีนจะเข้าการแข่งสู่รอบชิงชนะเลิศเพื่อบรรลุเป้าหมายการสร้างสังคมมีกินมีใช้ทุกด้าน ซึ่งเป้าหมายนี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการบรรลุความฝันของจีน

แต่สื่อมวลชนทั่วโลกยังคงมีข้อสงสัยระดับโลกหลายประการ อาทิระหว่างการบรรลุเป้าหมายดังกล่าว จีนจะเผชิญกับปัญหาและความยากลำบากอะไรบ้าง จีนจะสามารถรับมือกับการท้าทายเหล่านี้หรือไม่ 5 ปีข้างหน้ามีความสำคัญมากน้อยแค่ไหนสำหรับจีนและทั่วโลก

เริ่มต้นปี 2016 เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างเชื่องช้า ส่งผลกระทบต่อบริษัทระดับยักษ์ของโลกหลายแห่ง เช่น กลุ่มบริษัทเหล็กกล้าทาทา(Tata) ของอินเดียมีแผนจะปลดพนักงาน 1,050 ตำแหน่งในอังกฤษ ส่วนธนาคารบาร์เคลย์ (Barclays) ของอังกฤษจะปิดสาขาในออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ไทย อินโดนีเซีย มาเลซียและฟิลิปปินส์ ส่วนเมื่อเร็วๆ นี้ ธนาคารโลกประกาศรายงานเศรษฐกิจล่าสุด โดยปรับคาดการณ์อัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกเหลือ 2.9%

สื่อมวลชนโลกพากันแสดงความกังวลว่า ปี 2016 เป็นปีที่เปี่ยมไปด้วยการท้าทายและการเปลี่ยนแปลงสำหรับเศรษฐกิจโลก

ส่วนประเทศจีน การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อที่ที่ประชุม " 2 สภา" ระบุว่า ปีนี้ การพัฒนาของจีนจะเผชิญกับความยากลำบากมากขึ้น ใหญ่โตขึ้น มีการท้าทายหนักยิ่งขึ้น จีนต้องมีความพร้อมทางจิตใจที่จะสู้กับสถานการณ์หนัก ๆ

นายเฉิน เซี่ยงหยาง ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันความสัมพันพันธ์ระหว่างประเทศจีนชี้ให้เห็นว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกอ่อนแรง ความต้องการของตลาดโลกไม่เพิ่ม จึงส่งผลกระทบต่อการส่งออกของจีน นอกจากนั้น การเงินระหว่างประเทศและตลาดสินค้าสำคัญไม่มั่นคง ทำให้เศรษฐกิจจีนมีความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น ความผันผวนของสถานการณ์การเมืองภูมิภาคบางแห่งก็มีแรงกดดันเศรฐกิจจีน เพราะว่า เขตที่มีสถานการณ์วุ่นวายส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลางและเขตรอบข้างของจีน ซึ่งเขตเหล่านี้เป็นช่องทางขนส่งหรือแหล่งสนองพลังงานให้แก่จีน

เมื่อปี 2015 อัตราเติบโตด้านการนำเข้าส่งออกของจีนติดลบเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตที่คาดไว้ ทั้งนี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงการค้าทั่วโลกที่ซบเซา ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อจีน

สำหรับสถานการณ์ดังกล่าว สื่อโลกและชาวโลกมีท่าทีอย่างไร

เมื่อเร็วๆ นี้ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ เดอะ เดลี่ เทเลกราฟ(The Daily Telegraph) ของอังกฤษออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนว่า ปีหลังๆ นี้ บรรดาผู้นำประเทศตะวันตกล้วนจับตามองผู้นำจีนบริหารเศรษฐกิจ และเห็นว่า จีนมีความสามารถควบคุมเศรษฐกิจ

สาเหตุที่ทำให้สื่อต่างประเทศออกคำวิจารณ์เช่นนี้ก็เพราะว่า เมื่อรัฐบาลจีนเผชิญกับสถานการณ์ที่สลับซับซ้อน มักจะมีความสามารถพิเศษในการค้นหาและกุมโอกาสได้ดี อย่างที่รายงานผลการดำเนินงานและการแถลงนโยบายของรัฐบาลจีนต่อที่ประชุม " 2 สภา" ของปีนี้ก็มีคำชี้แจงว่า การพัฒนาของจีนดำเนินไปพร้อมกับการท้าทายและความเสี่ยงมาโดยตลอด แต่เราไม่เคยมีปัญหาที่แก้ไขไม่ได้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040