สำนักข่าวซินหวารายงานว่า ปี2016 เป็นปีแรกของประชาคมอาเซียน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก
ปีนี้ การเปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งเป็นปัจจัยภายใน สหพันธ์ประชาธิปไตยแห่งชาติพม่าขึ้นบริหารประเทศอย่างเป็นทางการ พรรคปฏิวัติประชาชนลาวและพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามมีการปรับปรุงสมาชิก นายโรดริโก ดูเตร์เตดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนใหม่ กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซียทยอยกันปรับสมาชิกรัฐบาล ส่วนไทยมีพระมหากษัตริย์องค์ใหม่ขึ้นครองราช และจัดการหยั่งประชามติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นต้น
ปีนี้ การเปลี่ยนแปลงอีกจำนวนหนึ่งมาจากภายนอก ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯทำให้ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดความกังวลต่ออนาคตของยุทธศาสตร์สหรัฐฯที่มีต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯละทิ้งข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP ทำให้ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ไทย และอินโดนีเซีย เป็นต้น ซึ่งเป็นสมาชิก TPP หรือประเทศที่กำลังเตรียมเข้าร่วม TPP ตกใจอย่างยิ่ง
แม้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกมากมาย แต่ปีนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้เกิดความวุ่นวาย ความร่วมมือกับการพัฒนายังเป็นกระแสนิยมหลักในภูมิภาคนี้ แม้ประเทศต่างๆมีการปรับปรุงด้านบุคคลในรัฐบาล แต่ไม่ได้เกิดการปั่นป่วนตามที่ประเทศตะวันตกจำนวนหนึ่งคาดหมาย พม่า กัมพูชา ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เป็นต้น ต่างเปิดโฉมหน้าใหม่ต่อทั่วโลก
ประเทศต่างๆในอาเซียนคาดว่า ปี 2016 ยกเว้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจำนวนน้อยอย่างสิงคโปร์ชะลอตัว สภาพเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่นับว่าค่อนข้างน่าพอใจ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซียจะอยู่ที่ 5.2-5.6% มาเลเซียอยู่ที่ 4-5% ฟิลิปปินส์อยู่ที่ 7% ไทยอยู่ที่ 3.5-4% เวียดนามอยู่ที่ 6.7% ในช่วง 10 ปีข้างหน้า อัตราการเติบโตของยอดเศรษฐกิจอาเซียนอาจเกิน 7% อาเซียนกำลังขยับเข้าใกล้เป้าหมายที่เป็นองค์เศรษฐกิจใหญ่อันดับที่ 4 ของโลก