นายกฯไทยระบุ เร่งขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ "ประเทศไทย 4.0"
  2017-02-21 16:59:31  cri

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคสช. ปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "โอกาสกับประเทศไทย 4.0 " ในงานสัมมนาและนิทรรศการ "โอกาสกับประเทศไทย" ซึ่งจัดโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานีว่า รัฐบาลได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ "ประเทศไทย 4.0" ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า และเน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม

ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักลงทุนชาวไทยและต่างประเทศและสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศรวมประมาณ 3,000 คนได้เดินทางมาร่วมงานครั้งนี้

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชากล่าวว่า เนื่องด้วยสถานการณ์ของโลกในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงผันผวน อาจส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทำให้แต่ละประเทศจะต้องคิดกลยุทธ์ เพื่อรักษาระดับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รวมทั้งประเทศไทย จึงพยายามผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการค้า การลงทุนของภูมิภาค

แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้นำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ มาเป็นตัวขับเคลื่อนในการยกระดับภาคอุตสาหกรรมและบริการที่ไทยมีพื้นฐานดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น และนำความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งเป็นจุดแข็งของไทยมาพัฒนาให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศผ่านมาตรการดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติ และหุ่นยนต์ อากาศยาน ดิจิทัล อุตสาหกรรมชีวภาพ และการแพทย์ครบวงจร ตลอดจนส่งเสริมให้ประเทศเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนของภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ทำให้ประเทศไทยเป็นแหล่งรองรับการลงทุนชั้นนำ และเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอย่างแท้จริง

นอกจากมุ่งเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายและเทคโนโลยีแล้ว รัฐบาลไทยยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ เพื่อกระจายความเจริญไปยังพื้นที่ต่างๆ ในประเทศอย่างทั่วถึง ซึ่งดำเนินการแล้วได้แก่ การพัฒนาพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านในรูปของ "เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ" ทั้ง 10 จังหวัด และการพัฒนาพื้นที่ตอนในโดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงของห่วงโซ่มูลค่าในภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาในพื้นที่ และที่สำคัญรัฐบาลได้กำหนดนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยมีนโยบายที่จะเร่งการพัฒนาความพร้อมในทุกด้าน เพื่อรองรับการลงทุนและการขยายตัวทาง

เศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งด้านสาธารณูปโภค ระบบคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจให้มีความสะดวกรวดเร็วที่สุด

(TOON/cai)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040