ณ.สิ้นปี 2016 จีนมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตกว่า 731 ล้านคน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตผ่านมือถือมีกว่า 695 ล้านคน การเชื่อมต่อไวไฟ คลาวด์คอมพิวเตอร์ บิ๊กดาต้า ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการเข้าถึงกิจการการเงิน การรักษาโรค การศึกษาและคมนาคมเป็นต้น ในรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลที่นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียงรายงานต่อที่ประชุมสองสภาเมื่อเร็วๆนี้ ได้กล่าวถึงเศรษฐกิจดิจิตอลด้วย ดังนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิตอลจึงกลายเป็นเรื่องที่จีนสนใจในช่วงหลายปีมานี้
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้ ธนาคารประชาชนจีนซึ่งเป็นธนาคารกลางจีนแถลงทางเว็บไซต์ โดยสรุปผลการประชุมสัมมนาเรื่อง เงินดิจิตอล ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ระบุว่า ธนาคารกลางจีนมีเป้าหมายจะนำเงินดิจิตอลมาใช้โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ และเห็นว่า สกุลเงินดิจิตอล ซึ่งเป็นเงินเสมือนจริง แต่ไม่ได้พิมพ์ออกมาเหมือนธนบัตร จะใช้ผ่านระบบดิจิตอล ที่สำคัญจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้ธนบัตรหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ และยังช่วยแก้ปัญหาการฟอกเงินด้วย
นอกจากนั้น สกุลเงินดิจิตอลนี้ยังจะช่วยให้ธนาคารกลางจีนสามารถปรับปรุงควบคุมปริมาณเงิน และประสิทธิภาพในการชำระเงินอีกด้วย
การประชุมสัมมนาของธนาคารกลางจีนครั้งนี้เป็นการหารือเกี่ยวกับการวางกรอบการทำงานและเทคโนโลยี่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินดิจิตอล เช่น การสร้างรหัสลับ
สกุลเงินดิจิตอลเป็นสกุลเงินที่ธนาคารกลางตามกฏหมายที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการสร้างและเก็บไว้เพื่อใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ที่ทุกๆคนยอมรับ เปรียบเสมือนธนบัตรที่เรากำลังใช้ในปัจจุบัน แต่ละประเทศมีเงินสกุลต่างๆของตนเพื่อใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ถ้ากล่าวแบบง่ายๆคือ สกุลเงินดิจิตอลเป็นรหัสลับหลายตัวซึ่งเกี่ยวพันกับเทคโนโลยีเครือข่ายอย่างใกล้ชิดและมีบทบาทการใช้จ่ายและการหมุนเวียน ซึ่งสามารถทดแทนธนบัตรปัจจุบันได้
จริงๆแล้ว ในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนคนรุ่นใหม่ ส่วนใหญ่ไม่ยอมพกกระเป๋าเงิน พกเพียงโทรศัพท์มือถือ เพราะในมือถือมีแอพลิเคชั่นจ่ายเงินต่างๆ เช่น อาลีเพย์(Alipay) วีแช็ทเพย์ และแอปเปิ้ลเพย์(Applepay)เป็นต้น ในกระบวนการใช้จ่ายทั้งหมดไม่ต้องใช้ธนบัตร กดแต่รหัส สแกน QR โค้ดหรือบาร์โค้ดเท่านั้น
แต่ว่า กระบวนการดังกล่าวยังไม่ใช่สกุลเงินดิจิตอล เป็นเพียงวิธีการใช้จ่ายแบบดิจิตอลเท่านั้น เพราะขณะดำเนินการค้า สกุลเงินที่ต้องการยังต้องหมุนเวียนจากบัญชีหนึ่งสู่อีกบัญชีหนึ่งในธนาคาร แม้ว่าไม่มีกระบวนการแลกเปลี่ยนธนบัตรก็ตาม แต่เบื้องหลังยังเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่างธนบัตร ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า สกุลเงินดิจิตอลกับวิธีการใช้จ่ายแบบดิจิตอลสำหรับผู้บริโภคมีส่วนที่คล้ายกัน แต่ถ้ากล่าวในแง่หลักการแล้วจะมีความแตกต่างเป็นอย่างมาก
นอกจากนั้น ในสังคมปัจจุบัน เรายังจะเห็นสกุลเงินเสมือนจริงได้ เช่นตอนเล่นเกมส์ เราจะมีโอกาสได้สกุลเงินเสมือนจริงต่างๆ เช่นทองคำแท่ง อัญมณี หรือเงินเหรียญเป็นต้น ซึ่งสามารถซื้อของและอุปกรณ์ต่างๆในเกมส์ได้ แต่ทั้งเหล่านี้ล้วนเป็นสกุลเงินเสมือนจริง ไม่ใช่สกุลดิจิตอลจริงๆ