แม้ว่าเกี๊ยวเป็นอาหารของบรรดาชาวบ้านนับพันปีแล้วก็ตาม แต่คนจีนทางภาคเหนือยังชอบรับประทานมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเทศกาลสำคัญตามจันทรคติจีน คิดว่ายังมีสาเหตุสำคัญหลายอย่าง
ในเบื้องตน เกี๊ยวเป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลี ดังนั้น คุณภาพของแป้งสาลีจะเป็นเรื่องสำคัญ ด้วยผลกระทบจากดินฟ้าอากาศและภูมิประเทศ จะพบว่า ข้าวสาลีที่ผลิตจากเขตละติจูดราว 36 องศามีคุณภาพดีที่สุดและรับประทานอร่อยที่สุด แล้วคนจีนทางภาคเหนือก็พอดีอาศัยอยู่เขตนี้และมีโอกาสรับทานแป้งสาลีที่มีคุณภาพดี
ในช่วงการพัฒนาเป็นเวลายาวนานของจีน ระดับชีวิตความเป็นอยู่ของบรรดาชาวบ้านในจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางภาคเหนือจีนค่อนข้างต่ำ เนื้อเป็นอาหารที่ค่อนข้างขาดแคลนมาโดยตลอด และมีราคาแพง จึงไม่สามารถจะรับประทานได้บ่อยครั้ง ดังนั้น การกินเกี๊ยวซึ่งมีใส้ทำด้วยเนื้อหมูก็เท่ากับกินอาหารหรูในความคิดผู้คน มีแต่ช่วงเทศกาลสำคัญๆถึงจะมีโอกาสรับประทานได้ ด้วยเหตุนี้จึงค่อยสืบทอดคำกล่าวที่ว่า ตอนถึงเทศกาลสำคัญของทุกปีต้องมีอาหารหรูหรือเกี๊ยวมาฉลองด้วย
ด้วยการพัฒนาเป็นเวลากว่าพันปี การทำเกี๊ยวมีความหมายถึงการแสวงหาความสุขมากมาย เช่น เกี๊ยวมีรูปร่างคล้ายกับหยวนเป่า(元宝) ซึ่งเป็นเงินโบราณ การรับประทานเกี๊ยวมีความหมายแสวงหาความร่ำรวย เกี๊ยวยังบรรจุใส้และสามารถใส่ใส้นานาชนิด ซึ่งสามารถห่อความปรารถนาดีไว้ในเกี๊ยวและนำมาซึ่งความสุขในอนาคต เช่น ขณะทำเกี๊ยว บางคนยังใส่น้ำตาล พุทรา เกาลัด ถั่วลิสงเป็นต้น ซึ่งมีความหมายว่าอนาคต ชีวิตจะเจริญรุ่งเรือง มีความสุข สุขภาพแข็งแรง หรือมีลูกหลานรวดเร็ว มีความร่ำรวย เป็นต้น
เมื่อแป้งที่ห่อไส้เรียกว่า –เหอเมี่ยน(和面) คำว่า เหอ แปลว่าร่วมกัน และ เจี่ยวก็ออกเสียงคล้ายกับคำว่า ที่มีอีกความหมายว่า มีความสัมพันธ์ต่อกันด้วย