วันมรดกโลกทางวัฒนธรรมจีน(5)
  2017-06-21 13:07:28  cri

วันเสาร์ที่สองของมิถุนายนเป็นวันมรดกโลกทางวัฒนธรรมของจีน ถ้าเล่าถึงมรดกโลกทางวัฒนธรรม สถานที่ทางประวัติศาสตร์ของไทย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยองค์การยูเนสโก ให้เป็นแหล่งมรดกโลกมี 3 แห่งได้แก่ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

ปี 1987 หรือกว่า 30 ปีก่อน กำแพงเมืองจีน พระราชวังต้องห้าม ภูเขาไท่ซาน แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่ง-โจวโข่วเตี้ยน สุสานฉินซี และถ้ำโม่เกาแห่งตุนหวงต่างก็ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยองค์การยูเนสโก ซึ่งนั่นก็ทำให้จีนมีแหล่งมรดกโลกเป็นครั้งแรก

สำหรับวันนี้และวันพรุ่งนี้ เราจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับมรดกโลกทางวัฒนธรรม 6 แห่งแรกของประเทศจีนดังต่อไปนี้

วันมรดกโลกทางวัฒนธรรมจีน--แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่งโจวโข่วเตี้ยน

แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่งโจวโข่วเตี้ยนตั้งอยู่ชานกรุงปักกิ่ง เป็นแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่มีชื่อเสียงของจีนด้านฟอสซิลมนุษย์ ร่องรอยอารยธรรมและฟอสซิลสัตว์มีกระดูกสันหลัง สถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่อยู่ของ "มนุษย์ปักกิ่ง" เมื่อ 7 แสนถึง 2 แสนปีก่อน และยังพบร่องรอยวิวัฒนาการของมนุษย์นับตั้งแต่ยุค "มนุษย์ถ้ำใหม่"เมื่อประมาณ 2 แสนถึง 1 แสนปีที่แล้ว "มนุษย์ไร่นา"เมื่อประมาณ 42,000-35,000 ปีที่แล้ว และ "มนุษย์ถ้ำยอดเขา"เมื่อประมาณ 30,000 ปีที่แล้ว

เมื่อปี 1929 นายเผย เหวินจง นักโบราณคดีจีนได้ขุดพบฟอสซิลกระดูกฟัน กระดูกหน้าผากและกระดูกกะโหลกศีรษะมนุษย์ที่มีสภาพสมบูรณ์เป็นครั้งแรก ทั้งยังค้นพบร่องรอยการล่าสัตว์และใช้ไฟ ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันว่าในพื้นที่กรุงปักกิ่ง เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่เมื่อกว่า 5 แสนปีก่อน กระดูกกะโหลกศีรษะที่สมบูรณ์ที่สุดมีอายุห่างจากปัจจุบันประมาณ 6 แสนปี ทั้งนี้ นักโบราณคดียังขุดพบเครื่องมือที่ทำจากหินและร่องรอยการใช้ไฟในเขตภูเขาหลงกู่ด้วย

การค้นพบและวิจัยมนุษย์ปักกิ่งและร่องรอยอารยธรรมนั้น ได้ไขปริศนาที่ถกเถียงกันว่าฟอสซิลมนุษย์ชวาที่สามารถยืนเดินในศตวรรษที่ 19 นั้นเป็นวานรหรือมนุษย์ ผลก็คือ ในยุคเริ่มต้น มนุษย์เคยมีช่วงที่ยืนตรงได้ ด้วยสรีระร่างกาย หลักฐานการดำรงชีวิตและการอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทำให้มนุษย์ชวาจัดอยู่ในมนุษย์รุ่นหลัง "วานรใต้" และเป็นบรรพบุรุษของ "มนุษย์" ทุกวันนี้ ทฤษฏีการยืนของมนุษย์ยังคงใช้มนุษย์ปักกิ่งโจวโข่วเตี้ยนเป็นหลักในการตั้งข้อสันนิษฐาน และหลักฐานที่พบในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีมนุษย์ปักกิ่งโจวโข่วเตี้ยนยังเป็นแหล่งศึกษาฟอสซิลมนุษย์เก่าระยะเดียวกันของโลกที่มีข้อมูลมากที่สุด เป็นระบบ ทรงคุณค่าและเป็นคลังล้ำค่าของอารายธรรมมนุษย์โบราณ

การค้นพบกระดูกกะโหลกศีรษะของมนุษย์ปักกิ่งนั้น ทำให้โจวโข่วเตี้ยนกลายเป็นแหล่งศึกษาการกำเนิดมนุษย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก หลังการขุดค้นนานหลายสิบปี นักโบราณคดียังพบฟอสซิลและร่องรอยอารยธรรมในยุคต่างๆ อีกกว่า 27 จุด โดยเป็นฟอสซิลกะโหลกศรีษะมนุษย์ปักกิ่ง 40 ชิ้น ของใช้ยุคหินกว่าแสนชิ้น หลักฐานการใช้ไฟจำนวนมากและฟอสซิลสัตว์อีกกว่าร้อยชนิด ซึ่งนักโบราณคดีก็จะใช้หลักฐานเหล่านี้ในการศึกษาวิจัยวิวัฒนาการมนุษย์ สภาพทางธรณีวิทยาในยุคหินเก่าและยุคน้ำแข็ง

Yim/Patt

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040