ในระยะต้นๆ ของงานปลูกป่านั้น เขตไซ่ห่านป้าไม่มีบ้านอยู่อาศัย ผู้ที่ทำหน้าที่ปลูกป่าจึงสร้างบ้านง่ายๆ พักกระโจมหรือขุดอุโมงค์ใต้ดินอยู่ ในหน้าหนาว มักผจญกับหิมะที่ตกหนักมาก หิมะหนาๆ ทำให้บ้านพังลง แต่อุโมงค์ทั้งหนาวและชื้น ก็อยู่ไม่ได้ อีกปัญหาหนึ่งคืออาหาร เนื่องจากไซ่ห่านป้าอากาศหนาว และภาวะนิเวศยังไม่เหมาะกับการปลูกพืชผลการเกษตร ปลูกได้แต่ผักกาดขาว มันฝรั่งและข้าวโอ๊ต พวกเขากินแต่ผักกาดต้ม มันฝรั่งต้มทุกวัน ไม่มีผักเขียว มะเขือเทศ ส่วนผลไม้ยิ่งไม่มีเลย
นอกจากขาดที่อยู่อาศัยและอาหารแล้ว การเดินทางก็ลำบากมาก ช่วงนั้น จากไซ่ห่านป้าถึงอำเภอเมืองที่ใกล้ที่สุด มีระยะทางกว่า 100 กิโลเมตร แต่พวกเขาต้องเดินทาง 2-3 วัน อีกทั้ง ไม่มีไฟ จึงไม่มีกิจกรรมบันเทิงใดๆ เลิกงานแล้ว ก็คืออ่านหนังสืออย่างเดียว แต่ไม่มีสักคนบ่นหรือท้อแท้ใจ หรือหนีกลับบ้าน ทุกคนยืนหยัดจนถึงทุกวันนี้
การสร้างป่าปลูกให้คล้ายป่าไม้ธรรมชาติ เป็นประเด็นของชาวไซ่ห่านป้ารุ่นใหม่ ด้วยการใช้มาตรการปลูกไม้นานาพันธุ์ ปัจจุบัน ไซ่ห่านป้าเกิดกลุ่มภาวะนิเวศของป่าธรรมชาติในขั้นต้นแล้ว คือปลูกทั้งต้นไม้ ต้นหญ้าและพุ่มไม้เตี้ย ผสมผสานกัน
ต้นเดือนธันวาคม อากาศในไซ่ห่านป้าหนาวจัด ลบ 20 กว่าองศา ฤดูหนาวเป็นช่วงที่ต้นไม้เติบโตช้าที่สุดในตลอดทั้งปี ดังนั้น การตัดกิ่งก้านสาขาจึงส่งผลกระทบต่อการเติบโตของต้นไม้น้อยที่สุด ดังนั้น จึงทนฝ่าความหนาวไปตัดกิ่งไม้ เพื่อให้ต้นไม้โตขึ้นดีในปีต่อไป
แต่ป่าไซ่ห่านป้าก็ยังมีปัญหาที่ปลูกต้นไม้หนาแน่นเกินไป ชาวไซ่ห่านป้าทดลองครั้งแล้วครั้งเล่าแล้ว ปรับความหนาแน่นจาก 100 ตารางเมตร 333 ต้น เหลือ 15-30 ต้น พื้นที่ว่างปลูกพืชพันธุ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มความหลากหลายของป่า และสร้างป่าปลูกให้เป็นเหมือนป่าธรรมชาติมากขึ้น ปัจจุบัน ป่าไซ่ห่านป้ามีพืช 625 ชนิด สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง 261 ชนิด แมลง 660 ชนิด และเห็ด 179 ชนิด