แต่เมื่อป่าไม้มีพื้นที่กว้างขึ้น ก็จะเกิดไฟป่าง่าย ดังนั้น การป้องกันไฟป่าจึงเป็นปัญหาสำคัญที่สุด
ในไซ่ห่านป้า มีหอเฝ้าระวังป้องกันไฟป่าทั้งหมด 9 แห่ง แต่ละแห่งมีพนักงานประจำอยู่ทุกวัน
นายลู่ อ้ายกั๋วและภรรยาหวัง ชุนเยี่ยน ทำงานในหอเฝ้าระวังหน่วยฉวนจื่อนานถึง 15 ปีแล้ว ในห้องทำงานหรือบ้านของพวกเขา มีเพียงเตียงนอน 1 เตียง โต๊ะ 1 ตัว โทรทัศน์ 1 เครื่อง โทรศัพท์ 1 เครื่อง บนผนังแขวนแผนที่และปฏิทินเท่านั้น
นายลู่ อ้ายกั๋ว บอกว่าไม่กล้าผ่อนสักวัน โดยเฉพาะในช่วงระหว่างวันที่ 15 มีนาคมถึงวันที่ 15 มิถุนายน และช่วงระหว่างวันที่ 15 กันยายนถึงวันที่ 15 ธันวาคม ซึ่งเป็น 6 เดือนที่เกิดไฟป่าง่าย ต้องเฝ่าดูแลป่าตลอดทั้งวัน และรายงานทางโทรศัพท์ทุกๆ 15 นาที นายลู่ อ้ายกั๋วกล่าวว่า "คุณพ่อของผมปลูกต้นไม้เหล่านี้จนโตขึ้น ผมจะทำลายด้วยมือตนเองไม่ได้เด็ดขาด"
ข้างๆ หอวางถังใหญ่ๆ 3 ถัง นายหวัง ชุนเยี่ยนเล่าให้ฟังว่า ถังเหล่านี้วางไว้เพื่อเก็บหิมะ เพราะในหน้าหนาว หิมะตกหนักมาก ทางเข้าออกป่าปิดหมด การใช้น้ำจึงมีปัญหา จึงละลายหิมะใช้น้ำหิมะซักเสื้อ หรือต้มน้ำจากหิมะดื่ม
นายลู่ อ้ายกั๋วเกิดที่ป่าปลูกไซ่ห่านป้า พ่อของเขาเป็นผู้ปลูกป่ารุ่นแรก ปัจจุบัน ลูกชายของเขาก็ทำงานในหน่วยตับเพลิงของป่าด้วย กล่าวได้ว่า คนทั้ง 3 รุ่นของครอบครัวเขามีชะตากรรมเชื่อมกับไซ่ห่านป้า เขาไม่ยอมให้ป่าไม้ถูกทำลายสักนิด ไม่ว่าจะลำบากอย่างไร ก็ยอมเป็นผู้เฝ่าดูแลไซ่ห่านป้าโดยตลอด ในช่วง 50 ปีตั้งแต่เริ่มปลูกป่าขึ้นจนถึงทุกวันนี้ ไซ่ห่านป้าไม่เคยเกิดไฟป่าแม้สักครั้ง
แต่อยู่ในป่าไม้บนภูเขานานๆ จะรู้สึกว้าเหว่เงียบเหงาอย่างแน่นนอน นางหวัง ชุนเยี่ยนเล่าว่า อยู่กันสองคนค่อยยังชั่ว แต่ก็ยังเงียบเหงาเหมือนกัน บางทีสองคนไม่มีอะไรคุย รู้สึกกลุ้มใจ ก็หาเรื่องเล็กน้อยมาทะเลาะกัน เพื่อระบายอารมณ์ได้บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม สัตว์ในป่า เช่น กระต่าย หมูป่า ไก่ป่า ก็มีมาให้เห็นอยู่ตลอด ทำให้พวกเขารู้สึกว่าไม่ได้โดดเดี่ยวบนภูเขา ยังมีเพื่อนอีกไม่น้อย