ระหว่างการเป็นกษัตริย์ ซุ่นบริหารประเทศได้ดีมาก และแก้ปัญหาที่เหยาไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น น้ำท่วมใหญ่ทั่วประเทศ ก่อนหน้านี้ ขุนนางทุกคนทำงานร่วมกัน โดยไม่ได้แบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน ซุ่นจึงแบ่งหน้าที่ให้ทุกคนรู้ว่าตัวเองต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
สิ่งที่ได้รับความชื่นชมมากที่สุดของซุ่นก็คือความกตัญญู ซึ่งเมิ่งจื่อ (孟子) หนึ่งในนักปรัชญาที่สำคัญที่สุดของลัทธิขงจื๊อเรียกร้องให้ประชาชนพยายามทำเหมือนซุ่น เพราะความกตัญญูของซุ่นเหมาะกับปรัชญาของลัทธิขงจื้อมาก เรื่องของซุ่นจึงส่งผลต่อวัฒนธรรมจีนอย่างลึกซึ้ง
ปัจจุบัน วันที่ 1 เดือนอ้าย ชาวจีนก็จะเซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษ นอกจากนี้ ยังมีการไปเยี่ยมเพื่อน ๆ ญาติมิตร อวยพรต่อกัน จึงเกิดคำว่า "拜年" (ป้ายเหนียน) "拜" ก็คือ "ไหว้" "年" ก็คือ "ปี" โดยเฉพาะผู้อายุน้อยต้อง "拜年" (ป้ายเหนียน) ให้กับผู้สูงอายุตั้งแต่ตอนเช้า เป็นวิธีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ และแสดงความปรารถนาที่ดีต่อกัน
จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ (汉武帝)
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลตรุษจีนอันดับสอง คือ จักรพรรดิอู่ตี้ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ชาวจีนเรียกกันว่า "ฮั่นอู่ตี้" โดยในสมัยนั้น ฮั่นอู่ตี้กำหนดให้เดือนอ้ายเป็นต้นปีของจีน ทำให้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ฮั่นอู่ตี้เป็นหนึ่งในจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีนโบราณ มีชื่อว่า "หลิว เช่อ" (刘彻) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 7 ของสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก หลิว เช่อ เป็นเด็กที่ฉลาดเมื่ออายุยังน้อย เมื่ออายุเพียง 3 ขวบ คุณพ่อจักรพรรดิฮั่นจิ่งตี้อุ้มเขา และถามว่า อยากเป็นจักรพรรดิไหม ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นคำถามที่ตอบยากมาก เพราะจักรพรรดิทุกองค์ถือความมุ่งมั่นของคนอื่นที่อยากจะมาแทนตัวเอง หลิว เช่อ ตอบว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับเทพเจ้า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวผมเอง ผมอยากเป็นเด็กที่ทำให้คุณพ่อดีใจทุกวัน ทำให้ฮั่นจิ่งตี้ฟังแล้วพอใจมาก
หลิว เช่อ ยังเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ หาความรู้ และอ่านหนังสือครั้งเดียวก็สามารถท่องจำได้ ทำให้ฮั่นจิ่งตี้รู้สึกประหลาดใจกับสติปัญญาของเด็กคนนี้