เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สหรัฐฯ จะไม่ยอมให้ประเทศใด ๆ ติดต่อทางการค้ากับอิหร่าน รวมทั้งสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นประเทศพันธมิตร แต่ประเทศสหภาพยุโรปมีความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและพลังงานกับรัสเซียและอิหร่านมานานแล้ว ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ เคยใช้มาตรการคว่ำบาตรรัสเซียหลายรอบ จนส่งผลกระทบต่อสหภาพยุโรป คราวนี้สหรัฐฯ คว่ำบาตรอิหร่านแถมขู่ว่าจะใช้มาตรการหนักขึ้น และอาจบีบให้อิหร่านตอบโต้ด้วยการปิดช่องแคบฮอร์มุซ หากอิหร่านทำเช่นนี้ ยุโรปจะต้องเผชิญกับภัยคุกคามด้านพลังงานอย่างมาก
การกระทำของสหรัฐฯ เกินความอดทนของสหภาพยุโรปอย่างเห็นได้ชัด และสหภาพยุโรปต้องการใช้มาตรการตอบโต้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ สหภาพยุโรปแก้กฎหมายและข้อบังคับบางอย่างเพื่อคุ้มครองธุรกิจของประเทศสหภาพยุโรปจากมาตรการค่ำบาตรของสหรัฐฯ วันที่ 23 สิงหาคม สหภาพยุโรปประกาศให้การสนับสนุนทางการเงินเป็นมูลค่า 18 ล้านยูโรแก่อิหร่าน เพื่อช่วยเหลืออิหร่านพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ลดความเสียหายที่เกิดจากการถูกสหรัฐฯ คว่ำบาตร และฟื้นฟูข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน
ความไม่พอใจของสหภาพยุโรปไม่ได้เกิดจากการที่สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านเพียงเรื่องเดียว รัฐบาลสหรัฐฯ ในปัจจุบันกำหนดนโยบายสหรัฐฯ มาก่อน มุ่งใช้ปฏิบัติการตามลัทธิลำพังฝ่ายเดียว ส่งผลให้สหรัฐฯ กับสหภาพยุโรปนับวันยิ่งขัดแย้งกันในด้านนโยบายการค้า ความมั่นคงของนาโต้ ความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป นโยบายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยและผู้อพยพ ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับประเทศทั่วโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ จนสองฝ่ายแสดงความไม่พอใจต่อกันบ่อยครั้ง
สหรัฐฯ กับประเทศยุโรปผูกกันเป็นพันธมิตรแอตแลนติกมาเกือบ 70 ปี เคยร่วมทุกข์ร่วมสุขมาโดยตลอด แต่ทุกวันนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ จัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศด้วยแนวคิดแพ้-ชนะที่มีผลรวมเป็นศูนย์ ไม่เคารพความต้องการของสหภาพยุโรป ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศพันธมิตร ชี้มือชี้ไม้และปฏิบัติกับมิตรเก่าอย่างไม่เสมอภาคและยุติธรรม จนทำให้ความร้าวฉานระหว่างสองฝ่ายนับวันยิ่งลึกลงไปเรื่อย ๆ
Min/Tim/Ci