"แม้จะเป็นพื้นที่เดียวกัน แต่ย่อมเห็นไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะงานศิลปะในยุคปัจจุบัน"
  2011-01-18 15:57:01  cri

ผมคิดว่าสิ่งที่ตามมาก็คือ แกลเลอรี่จากยุโรป อเมริกาจะมาลงที่นี่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากสเปน เบลเยียม ฝรั่งเศส อเมริกา จะมาลงใน 798 เยอะขึ้น หากเรามองว่า ในต้นศตวรรษที่ 20 ศิลปะไหลจากฝรั่งเศส จากยุโรปเข้าสู่อเมริกา ผมจึงคิดว่าแต่ในศตวรรษที่ 21 นี้ ศิลปะจากยุโรปและอเมริกาไหลเข้าสู่จีน อันนี้เห็นชัดเจนมาก

ที่เห็นชัดเจนอีกอย่างก็คือ ศิลปินจีนที่ไปอยู่ในยุโรปและอเมริกาได้กลับมาอยู่ที่จีนมากขึ้น ผมไม่ได้มองว่าพวกกลับมาสร้างบ้านแปลงเมือง หรือกลับมาสนับสนุนประเทศชาติ แต่ผมมองว่า เขาเข้าใจระบบ และกฎเกณฑ์การตลาด และสิ่งสำคัญก็คือเขาไม่ทิ้งแผ่นดินของเขา แต่ผมเองก็ไม่ได้เรียกร้องให้ศิลปินไทยกลับมาทำอย่างเขานะ เพราะถ้าไม่มีสำนึกเองก็เรียกร้องอะไรไม่ได้

ก็ไม่ต้องไปไกล ผมมองว่าในระยะ 5-10 ปีข้างหน้านี่ ไม่ต้องไปยุโรป ไม่ต้องไปอเมริกา มาที่ปักกิ่งนี่แหละ หรือว่าไปเซี่ยงไฮ้ หรือว่าไปหลายๆ เมือง เฉิงตูผมก็เคยไปเมื่อประมาณ 3 เดือนที่แล้ว ก็เห็นว่าลักษณะโครงสร้างไม่ได้ต่างจากที่นี่ สถาบันศิลปะที่เฉิงตูก็ค่อนข้างดัง

ระหว่างเซี่ยงไฮ้กับปักกิ่งในฐานะที่เป็นเมืองใหญ่ทางเศรษฐกิจ และเมืองใหญ่ทางศิลปะ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ผมว่าแตกต่าง เซี่ยงไฮ้ก็เคยไปเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งก็เคยได้คุยกับเจ้าของแกลเลอรี่ที่เป็นคนสวิตเซอร์แลนด์ สิ่งหนึ่งคือสองกลุ่มนี่ค่อนข้างไม่ลงรอยกัน ศิลปินปักกิ่งก็จะมองว่าพวกเซี่ยงไฮ้นั้นเป็นพวกพานิชย์ เป็นศิลปินที่ไม่มีมิติในการทำงานด้านศิลปะมากนัก มุ่งแต่การขายอย่างเดียว ดังนั้นงานที่เป็นคอนเซ็ปช่วล หรือที่เป็นแนวคิดทางศิลปะจริงๆ ก็ต้องอยู่ที่ปักกิ่งเท่านั้น มันจึงมีลักษณะหยันกันจริงๆ ฉะนั้นการยืนพื้นที่ทางศิลปะของสองแห่งนี่ค่อนข้างไม่เหมือนกัน ซึ่งจริงๆ แล้วงานก็ไม่เหมือนกันเลย

ถ้าเช่นนั้นคนที่ต้องการศึกษางานทางด้านศิลปะก็ต้องมากที่ปักกิ่งมากกว่า

คือผมคิดว่า ถ้าเรามาดูงานที่ปักกิ่งเราจะเห็นกระแสโลกของศิลปะทั้งหมดได้ มันเหมือนย่อส่วนเข้ามาแล้ว เราสามารถเห็นเทรนด์ของมัน ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่ศิลปินจีนมีอิทธิพลทางความคิดต่อศิลปินในนานาชาติค่อนข้างสูง และสูงมากด้วยซ้ำไป ถ้าจะว่าไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นงานเพอฟอร์มแมนซ์หรืองานศิลปะการแสดงสดนี่ ผมว่าจีนไปไกลกว่าที่ไหนในโลกด้วยซ้ำไป งานในลักษณะแบบคอนเซ็ปช่วล หรือว่างานที่เป็นแบบมิกซ์มีเดีย งานที่ใช้สื่อผสมพวกนี้จีนไปไกลมาก อย่างกรณีที่แสดงอยู่ที่ยูซีซีเอ เห็นชัดเจนมากว่าศิลปินจีนสามารถที่จะสามารถเล่นเรื่องเดียว แต่นำไปอ่านเหตุการณ์สะเทือนขวัญทั่วโลกได้ เช่น งานศิลปะชุด HopeTunel หรืออุโมงค์แห่งความหวัง ของใครผมจำไม่ได้ คือเขาไปเอาซากรถไฟที่เกิดจากอุบัติเหตุ แล้วนำมาแสดงทั้งขบวนเลย คือแนวคิดของเขาง่ายๆ ว่า หลังจากความหายนะก็จะมีความหวัง แล้วเขาก็เอาเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว น้ำท่วมอะไรต่างๆ มาเชื่อมโยงกับแนนวความคิดนี้ คล้ายๆ กับว่าหลังจากพายุฟ้าก็จะสดใส

หรือว่างานเพอร์ฟอร์มแมนซ์ที่แสดงอยู่ที่เพจแกลเลอรี่ก็เห็นชัดเจนแล้วว่างานเพอร์ฟอร์มแมนซ์ของจีนไปไกลจริงๆ ซึ่งผมไม่เชื่อว่าคนอื่นจะกล้าทำ และที่สำคัญอย่างหนึ่งผมมองว่า ศิลปินจีนร่วมสมัยใช้ร่างกายของตัวเองในลักษณะเชิงวิพากษ์ ไม่ว่าจะเป็นการวิพากษ์อำนาจรัฐ วิพากษ์กฎเกณฑ์ ระเบียบสังคมทุกอย่าง โดยใช้ตัวเอง ใช้ความเจ็บปวดของตัวเองมาเป็นการวิพากษ์กลไกและระบบของอำนาจรัฐ ถ้าเรามองว่า "รัฐ" คือเรือนร่างของคนคนหนึ่ง ซึ่งศิลปินจีนใช้ตัวนี้แหละเป็นตัวบอก ไม่ว่าเป็นการกรีดเนื้อตัวเองแล้วเอาหญ้าลงไปปลูก ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าสัตว์ ไม่ว่าจะการอะไรต่ออะไรพวกนี้ ผมว่าลักษณะของศิลปินจีนร่วมสมัยก็คือ มีลักษณะเชิงวิพากษ์สูงมาก

อ.ถนอมกำลังสนุกกับการชมงานที่แหวกแนวของศิลปินจีน

1 2 3 4
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040