เสียงบันทึกกาลเวลา
รายการพิเศษประกอบกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลท่องเที่ยวจีน
นื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี สถานีวิทยุซีอาร์ไอ
ท่านผู้ฟังครับ ปีนี้ สถานีวิทยุซีอาร์ไอก่อตั้งขึ้นครบรอบ 70 ปี ปัจจุบันสถานีวิทยุที่ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางเพลิงสงครามต่อต้านฟาสซิสต์แห่งนี้ ได้พัฒนาเติบโตเป็นองค์กรสื่อสารระหว่างประเทศที่ออกอากาศสู่ทั่วโลกด้วย 61 ภาษา ตลอด 70 ปีที่ผ่านมา ซีอาร์ไอได้ถ่ายทอดความปรารถนาดีและมิตรภาพสู่ประชาชนประเทศต่างๆ ทั่วโลก มุ่งใฝ่หาและพิทักษ์สันติภาพกับความเที่ยงธรรม ทะนุถนอมและเคารพอารธรรมอันหลากหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ซีอาร์ไอจะออกอากาศรายการพิเศษ 4 ตอน เพื่อย้อนหลังประวัติศาสตร์ 70 ปีและมองอนาคตของซีอาร์ไอ ขอเชิญท่านเข้าร่วมกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลท่องเที่ยวประเทศจีน เพื่อรำลึก 70 ซีอาร์ไอ
คำถามของรายการวันนี้คือ
1. ซีอาร์ไอออกอากาศครั้งแรกด้วยภาษาอะไร
2. สถานีวิทยุเอฟเอ็มแห่งแรกในต่างประเทศของซีอาร์ไอตั้งอยู่ที่เมืองอะไร
(เสียง1: ดนตรีเปิดรายการซีอาร์ไอ)
ท่านผู้ฟังที่รับฟังรายการของซีอาร์ไอเป็นประจำคงค้นหูกับ
เสียงดนตรีนี้มาก เสีัยงดนตรีนี้ได้นำข้อมูลข่าวสารอันหลากหลายและไมตรีจิตมิตรภาพสู่ท่านผู้ฟังทุกมุมโลก จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของซีอาร์ไอ
ต้นทศวรรษ 1940 ประชาชนจีนดำเนินสงครามต่อต้านฟาสซิสต์ และสงครามต่อต้านทหารญี่ปุ่นที่รุกรานจีนอย่างแข็งแกร่ง เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วประเทศลุกขึ้นต่อต้านญี่ปุ่น พรรคคอมมิวนิสต์จีนก่อตั้งสถานีวิทยุซินหัวขึ้นที่เมืองหยันอัน ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน วันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ.1941 สถานีวิทยุซินหัวเริ่มออกอากาศครั้งแรกด้วยภาษาญี่ปุ่น โดยเจาะจงผู้ฟังที่เป็นทหารญี่ปุ่นผู้รุกรานจีน ผู้ประกาศคนแรกคือนางฮารา คิโยชิ ชาวญี่ปุ่นผู้ต่อต้านสงครามซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศจีน
วันนั้น ถือเป็นวันเกิดของสถานีวิทยุซีอาร์ไอ
ภายหลังจีนชนะสงครามต่อต้านญี่ปุ่น เมื่อ ค.ศ.1947 สถานีวิทยุซินหัวเริ่มออกอากาศด้วยภาษาอังกฤษ ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของมุมโลก
ก็สามารถรับฟังรายการภาษาอังกฤษของซีอาร์ไอได้
เดือนมิถุนายน ค.ศ.1949 ก่อนสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน สถานีวิทยุซินหัวย้ายมาตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง เริ่มออกอากาศด้วยภาษาจีนท้องถิ่น 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาแต้จิ๋ว ภาษากวางตุ้งและภาษาฮกเกี้ยน สู่ภาคใต้ของจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวลานั้น ชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากมายพากันกลับมาทำงานให้กับซีอาร์ไอ เพื่อสนับสนุนภารกิจการกระจายเสียงสู่ต่างประเทศของจีน นางกัว หลงหลง ชาวอินโดนีเซียเชื้อสายจีน กลับมาทำงานเป็นผู้ประกาศรุ่นแรกของซีอาร์ไอภาคภาษาอินโดนีเซีย เธอเล่าให้ฟังว่า
( เสียง 2: กัว หลงหลง )
"ฉันมาทำงานตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ.1949 ตอนนั้นเพิ่งเปิดสถานี ชื่อสถานีวิทยุประชาชนซินหัว ตอนนั้นยังไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล ภาษาที่ออกอากาศมีภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ นอกนั้นก็เป็นภาษาท้องถิ่น ทุกรายการต้องออกอากาศสด หากมีความจำเป็นต้องอัดเสียง จะใช้เครื่องบันทึกเสียงเส้นลวด"
ในพิธีสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งจัดขึ้นเมื่อค.ศ. 1949 นางติง อีหลัน ผู้ประกาศของซีอาร์ไอเป็นผู้ดำเนินรายการถ่ายทอดสดพิธีฯ บนพลับพลาเทียนอันเหมิน ต่อมา เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการคนแรกของสถานีวิทยุซีอาร์ไอ
( เสียง 3: ติง อีหลันถ่ายทอดสดพิธีฯ)
ตอนนั้น สถานีวิทยุซินหัวย้ายมาตั้งในกรุงปักกิ่ง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสถานีหลายครั้ง ในที่สุดใช้ชื่อ"สถานีวิทยุกระจายเสียงระหว่างประเทศแห่งชาติจีน" หรือ"ซีอาร์ไอ"ปัจจุบัน ออกอากาศด้วย 61 ภาษา เป็นองค์กรสื่อสารระหว่างประเทศที่ใช้ภาษามากที่สุดในโลก
ปลายทศวรรษ 1970 จีนเริ่มดำเนินนโยบายการปฏิรูปและเปิดประเทศ ซีอาร์ไอก็ได้ดำเนินการปฏิรูปในด้านแนวคิด เนื้อหาและรูปแบบการจัดรายการ นางติง อีหลัน ผู้อำนวยการซีอาร์ไอในสมัยนั้นนำคณะไปเยือนสหรัฐอเมริกา เยอรมนีและทวีปอเมริกาใต้ เพื่อเตรียมจัดตั้งสำนักงานผู้สื่อข่าวประจำต่างประเทศ
ปัจจุบัน ซีอาร์ไอมีสำนักงานผู้สื่อข่าวอยู่ในประเทศและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกรวม 32 แห่ง และตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะก่อตั้งสำนักงานใหญ่ในทวีีปเอเชีย แอฟริกา ภูมิภาคตะวันออกลาง ยุโรปและทวีปอเมริกาอีก 8 แห่ง
เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.2006 ซีอาร์ไอเปิดสถานีวิทยุเอฟเอ็มแห่งแรกในต่างประเทศที่กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา
หลังจากนั้น 9 เดือน ซีอาร์ไอเปิดสถานีวิทยุเอฟเอ็มแห่งที่ 2 ที่กรุงเวียงจันทน์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นายหู จิ่นเทา ประธานธิบดีจีนซึ่งกำลังเยือนลาวพร้อมกับนายจูมมาลี ไซยะสอน ประธานประเทศลาวได้เข้าร่วมพิธีเปิด ต่อมา นายจูมมาลี ไซยะสอนและครอบครัวกลายเป็นแฟนพันธุ์แท้ของซีอาร์ไอ
(เสียง 4 :นายจูมมาลี)
......
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2011 ซีอาร์ไอเปิดสถานีวิทยุเอฟเอ็มอีกแห่งที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี
จนถึงวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ.2011 ซีอาร์ไอได้เปิดสถานีคลื่นหลักในประเทศต่างๆ ทั่วโลกทั้งหมด 60 แห่ง ออกอากาศรวมวันละ 1,200 ชั่วโมง
ดร.ฉาวลู่ อาจารย์สอนระดับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยสื่อสารมวลชนจีนเห็นว่า การที่รายการของซีอาร์ไอได้รับการชื่มชอบจากผู้ฟังและแฟนๆ ทางอินเตอร์เน็ตก็เพราะว่าซีอาร์ไอมีวิสัยทัศน์กว้างไกลและยืนหยัดในการบริการสาธารณชน ดร.ฉาวลู่กล่าวว่า
( เสียง 5: ดร.ฉาวลู่)
"สถานการณ์โลกในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก บทบาทของภารกิจการกระจายเสียงระหว่างประเทศเปลี่ยนจากการสลายกำลังของข้าศึกในยุคสงครามมาเป็นการชนะใจคน เปลี่ยนจากสงครามวิทยุมาเป็นการพยายามทำให้ผู้ฟังเลือกรับฟังรายการของเรา ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับสถานีวิทยุกระจายเสียงระหว่างประเทศ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซีอาร์ไอได้ปรับปรุงพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อจัดรายการให้มีความเป็นมืออาชีพและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟังมากขึ้น ทั้งนี้สอดคล้องกับแนวคิดการสื่อสารมวลชนสมัยใหม่"
เพื่อให้การสื่อสารระหว่างประเทศมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ซีอาร์
ไอพัฒนารูปแบบการสื่อสารให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยเปิด
เว็บไซต์ CRI Online ให้บริการแก่ผู้ฟังและแฟนอินเตอร์เน็ตทั่วโลก
ต้นปี 2011 ซีอาร์ไอจัดตั้งเครือข่ายสื่อสาร CIBN หรือ China International Broadcasting Network ซึ่งหลอมรวมรายการทางอินเตอร์เน็ต รายการโทรทัศน์่ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ IPTV รายการโทรทัศน์ทางอินเตอร์เน็ต และสื่อรูปแบบใหม่อื่นๆ เข้าด้วยกัน นายหวาง เกิงเหนียน ผู้อำนวยการซีอาร์ไอกล่าวว่า ทั้งนี้แสดงว่าสถานีวิทยุซีอาร์ไอที่มีประวัติ 70 ปีได้เข้าสู่ยุคสื่อใหม่ ขณะกล่าวถึงแผนพัฒนาใน 5 ปีข้างหน้า นายหวาง เกิงเหนียนกล่าวว่า
(เสียง6: หวาง เกิงเหนียน)
"ใน 5 ปีข้างหน้า ซีอาร์ไอจะอาศัยความเหนือกว่าในด้านภาษา บุคลากรและทรัพยากรสื่อ พัฒนา CIBN ให้เป็นองค์กรสื่อสารระหว่างประเทศระดับแถวหน้าของโลก"
ท่านผู้ฟังครับ รายการวันนี้ขอจบลงเพียงเท่านี้ เราเตรียมคำถามไว้ 2 ข้อสำหรับท่านผู้ฟังที่สนใจร่วมสนุกกับกิจกรรมตอบคำถามชิงรางวัลท่องเที่ยวประเทศจีนครับ
1. ซีอาร์ไอออกอากาศครั้งแรกด้วยภาษาอะไร
2.สถานีวิทยุเอฟเอ็มแห่งแรกในต่างประเทศของซีอาร์ไอตั้งอยู่ที่เมืองอะไร
ขอขอบคุณท่านผู้ฟังทุกๆ ท่านที่สนับสนุนและเอาใจใส่ซีอาร์ไอมาโดยตลอด สวัสดีครับ