China Radio International
ข่าวภายใน
    ประเทศ
ข่าวต่างประเทศ
 ข่าวการเมืองและ
 การต่างประเทศ
 ข่าวเศรษฐกิจ
 ข่าววัฒนธรรม

 ข่าววิทยาศาสตร์
  เทคโนโลยี่

 ข่าวกีฬา
 ข่าวอื่น
วันที่ 13 พฤศจิกายน ปี ค.ศ.2009
อ่านต่อ>>

จีนปัจจุบัน

เศรษฐกิจ

พาเที่ยวจีน

วัฒนธรรม

ชนชาติส่วนน้อย

การเมือง
(GMT+08:00) 2008-04-04 14:31:12    
ทางหลวงสายคุนหมิง-กรุงเทพฯ ลู่ทางเศรษฐกิจที่เชื่อมจีนกับอาเซียน(ภ)

cri

ท่านผู้ฟังที่เคารพ ยินดีต้อนรับเข้าสู่รายการ"จับมืออาเซียน" อีกครั้ง ในรายการวันนี้จะนําเสนอเรื่อง"ทางหลวงคุนหมิง-กรุงเทพฯ ลู่ทางเศรษฐกิจที่เชื่อมจีนกับอาเซียน"

เมื่อวันที่ 30 มีนาคมที่ผ่านมา ทางหลวงสายคุนหมิง-กรุงเทพฯช่องที่อยู่ในประเทศลาวซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือสําคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขงเริ่มเปิดใช้แล้ว ทางหลวงสายคุนหมิง-กรุงเทพฯช่วงที่อยู่ในประเทศจีนเริ่มใช้เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมานี้ เมื่อรวมทางหลวงช่วงที่อยู่ในประเทศไทย ปัจจุบัน นอกจากสะพานข้ามแม่นํ้าโขงข้ามชายแดนไทยกับลาวยังไม่ได้เริ่มก่อสร้างแล้ว ทางหลวงสําคัญที่เชื่อมโยงไปยังคาบสมุทรอินโดไชน่า(Indo-China Peninsula)เริ่มใช้ในขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้เชื่อมเครือข่ายทางหลวงมณฑลยูนนานของจีนกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นเส้นทางหลักที่สําคัญในการเชื่อมเศรษฐกิจจีนกับอาเซียน

ทางหลวงสายคุนหมิง-กรุงเทพฯเริ่มก่อสร้างโดยการริเริ่มของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย จากเมืองคุนหมิงผ่านลาวไปถึงกรุงเทพฯของไทย ระยะยาวทั้งหมด 1,807 กิโลเมตร และยังได้เชื่อมกับเครือข่ายทางหลวงของมาเลเซียและสิงคโปร์

มณฑลยูนนานตั้งอยู่ในชายแดนตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า แต่ภูเขาที่ทอดยาวเหยียดเป็นอุปสรรคสําคัญของชาวยูนนาน ทําให้จากเมืองคุนหมิงไปถึงกรุงเวียงจันทน์เมืองหลวงของลาว ต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่าไปยุโรป เมื่อพูดถึงความยากลําบากด้านการคมนาคม นายฟั่น กวางหยู่ อุปนายกสมาคมการค้าลาวของจีน ผู้จัดการใหญ่ของบริษัทหงยุ่ยของเวียงจันทน์กล่าวว่า

"ขณะเดินอยู่ในเขตภูเขา ทางหลวงค่อนข้างแคบ ถ้าวิ่งก็ยิ่งรู้สึกยาก ในเวลานั้นซึ่งรวมปี 1999 สิ่งของขนมาไม่ได้ พ่อค้าจีนในลาวนั้นประกอบกิจการยากมาก"

ความไม่สะดวกของการคมนาคมได้เป็นอุปสรรคสําคัญของการติดต่อธุรกิจระหว่างมณฑลยูนนานกับประเทศเพื่อนบ้าน การพัฒนาการคมนาคมจึงกลายเป็นเรื่องที่สําคัญมาก หลังจากทางหลวงสายคุนหมิง-กรุงเทพฯสร้างเสร็จแล้ว จะมีลู่ทางการท่องเที่ยว ลู่ทางการไปมาหาสู่ของบุคคลได้ ซึ่งในที่สุดจะกลายเป็นลู่ทางโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ กลายเป็นลู่ทางเศรษฐกิจสําคัญที่สุดของมณฑลยูนนานกับประเทศอาเซียน นายหลิว จื้อ อธิการบดีสถาบันวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยยูนนานกล่าวถึงความจําเป็นของการสร้างทางหลวงคุนหมิง-กรุงเทพฯว่า

"เมื่อการสร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียนและความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขงได้พัฒนาลุ่มลึกขึ้น ก็ต้องการเร่งการสร้างลู่ทางภายในภูมิภาค ภายใต้สภาพเช่นนี้ การสร้างเส้นทางการค้ายูนนานก็ได้รับการสนับสนุนทั้งภายในและต่างประเทศ"

1 2