5. ดื่มน้ำชาขณะเป็นไข้ ใบชามีด่างชา ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้น
6. ผู้ป่วยโรคเป็นแผลในกระเพาะอาหารดื่มน้ำชาแล้ว คาเฟอินในใบชาจะทำให้น้ำย่อยอาหารในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น ทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผลกระทั่งเป็นรูก็ได้
7. การดื่มน้ำชาในช่วงมีประจำเดือน โดยเพฉาะดื่มน้ำชาข้น จะทำให้อาการไม่สบายในช่วงประจำเดือนหนักขึ้นเป็น 2.4 เท่าของผู้ที่ไม่ดื่มน้ำชา
8. การดื่มน้ำชาอย่างเดียวตลอดปี ควรดื่มน้ำชาตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ฤดูใบไม้ผลิควรดื่มน้ำชาดอกไม้ ฤดูร้อนดื่มน้ำชาเขียว ช่วยแก้ร้อนใน ขจัดสารพิษ เสริมสมรรถนะของกระเพาะอาหารและลำไส้ ป้องกันท้องเสีย ฤดูใบไม้ร่วงควรดื่มชาอูหลง ไม่ร้อนไม่เย็น สามารถขจัดความร้อนออกจากร่างกาย ส่วนฤดูหนาวดื่มชาแดงดีกว่า เพราะว่าชาแดงอุดมด้วยสารโปรตีน บำรุงร่างกายได้
9. กินยาด้วยน้ำชา จะทำให้ส่วนประกอบบางอย่างในยาเกิดตะกอน จนลดสมรรถภาพของยา
10. การดื่มน้ำชาเย็น ไม่เหมาะสำหรับผู้แพ้คาเฟอิน ผู้หญิงมีครรภ์ เด็ก ผู้มีโรคหัวใจ ผู้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร
11. เติมน้ำตาลในน้ำชา น้ำชาหวานไม่เหมาะสำหรับผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและผู้ที่กำลังลดความอ้วน
12. การดื่มน้ำชามากเกินควร ผลการวิจัยปรากฎว่า แต่ละวันดื่มน้ำชา 150 กรัม.ก็จะได้ผลบำรุงสุขภาพ แต่บางคนเข้าใจว่า ดื่มน้ำชายิ่งมากยิ่งดี จนส่งผลกระทบต่อการนอนหรืออาการไม่สะบายอื่นๆ
13. ใบชาไม่ใช่ยิ่งเก็บนานยิ่งดี โดยเฉพาะชาผลไม้และดอกไม้ เนื่องจากมีน้ำเยอะ จึงขึ้นราง่าย ควรเก็บไว้ในตู้เย็น ส่วนใบชาอื่นๆ เมื่อหมดอายุแล้ว ไม่ควรดื่ม เพราะว่าอาจเกิดสารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพขึ้น
วิธีการที่ชงน้ำชาที่ถูกต้องคือ
การชงชาเขียว ใช้น้ำร้อนอุณหภูมิ 80-90 องศา ถ้าชงผงชาเขียว ควรใช้น้ำอุ่น อุณหภูมิ 40-60 องศา
น้ำชาที่ชงเสร็จแล้ว ควรดื่มให้หมดภายใน 30-60 นาที เพราะว่าสารโภชนาการอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิน 60 นาที
น้ำชาเขียวไม่ควรเข้นข้นเกินไป เพื่อจะไม่ส่งผลกระทบต่อการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร 1 2
|