อาจารย์ทั้งจีนและไทยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลจีนประจำปี 2011 (2)
  2011-03-15 10:58:20  cri

คุณนรินรัตน์:ก็เป็นเรื่องที่ดีนะคะ เพราะว่า ในความร่วมมือแน่นอน ต้องการที่จะให้คุณภาพในด้านต่าง ๆ ของการศึกษามีการพัฒนาก้าวหน้าไป จะเรียนถามอาจารย์เกื้อพันธุ์นะครับ เนื่องจากว่า อาจารย์สอนภาษาไทยทั้งที่ประเทศไทยที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ แล้วก็สอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง ในมุมมองของอาจารย์ สถาบันอุดมศึกษาระหว่างจีนกับไทยมีข้อแตกต่างในด้านไหนบ้าง

อาจารย์เกื้อพันธุ์:ขอพูดถึงไทยก่อนนะครับ เมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้วนี่ ไทยนั้นเร่งรัดขยายการอุดมศึกษา ต้อนนั้น คุณนรินรัตน์จะเห็นว่า เราเปิดค่อนข้างมาก แล้วเรามองเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษานี่ คือนักศึกษา นักเรียนในชนบทก็ควรจะได้เรียนหรือทำนองนั้น เพราะฉันนั้น ถ้าดูกำเนิดของคำว่า มหาวิทยาลัยราชภัฎ ก็จะเห็นว่า พระเจ้าอยู่หัวอยากจะให้เป็นมหาวิทยาลัยที่จะช่วยเด็กในท้องถิ่นให้ได้เรียน เมื่อพูดอย่างนี้ เมื่อบอกว่า ทุกคนถ้าเป็นไปได้ มีสิทธิ์ได้เรียน แน่นอนว่า เราไม่ได้คัดตัวเลือกมากนัก ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น บางทีก็เป็นอย่างนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ในรอบประมาณ 10 ปีหรือ 15 ปีมานี้ คุณนรินรัตน์จะเห็นว่า มหาวิทยาลัยในไทยก็มีทั้ง เมื่อก่อนเรามีของรัฐบาล ของเอกชน เดี๋ยวนี้ก็จะเป็นว่า ในกำกับของรัฐ ซึ่งต้องพยายามเลี้ยงตัวให้ได้ หรืออะไรอย่างนั้น ฉะนั้น สถาบันอุดมศึกษาในไทย จึงมีหลากหลายรูปแบบ ทั้ง ๆ ที่เป็นประเทศเล็ก แต่ในขณะเดียวกัน เรื่องอย่างนี้ในจีนนั้น ดิฉันไม่รู้เรื่องของจีนมากนัก แต่เท่าที่เห็นนั้น มหาวิทยาลัยในจีนยังเหมือนเดิมคือ คัดหัวกะทิมาเรียน ปริญญาตรีนี่ที่ดูทั้งประเทศ เปิดภาษาไทยอยู่ 8 แห่ง นับมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง รับนักศึกษา 16 คน ตัวเลือกเท่าไร เป็นระดับหัวกะทิทั้งนั้นที่มา ถ้าจะมองเทียบในแย่อย่างนี้ ถ้าเราดูว่า ไทยอยากจะให้มีการพัฒนาอุดมศึกษาในชนบท เพราะฉะนั้น ตัวเด็กต่างกัน ไม่ใช่ว่าเราไม่มีอย่างนี้ คุณนรินรัตน์จะเห็นว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเก่าแก่ที่สุด ฉลอง 90 ปีผ่านมาแล้ว ก็บอกว่า จะไม่พัฒนาออกทางกว้าง แต่จะพัฒนาออกทางลึก นั่นแปลว่า ไม่ต้องการขยายใหญ่กว่านี้ แต่ในขณะเดียวกัน หลายมหาวิทยาลัยหลายก็ออกทางกว้าง ออกไปมีศูนย์ในที่ต่าง ๆ เพราะฉันนั้น ถ้าให้มองตรงนี้ จริง ๆ แล้ว การเลือกนักศึกษาเข้ามาต่างกัน นี่พูดถึงไทยกับไทย ถามต่อไปว่า เมื่อไทยเปิดสอนเยอะ ๆ นักศึกษาเป็นยังไง คุณชุย อีเหมิงจะรู้ว่า ถ้าคะแนนไม่ถึง คุณไม่ได้ทำปริญญานิพนธ์ คุณไม่มีสิทธิ์จบปริญญาตรี จบเรียน 4 ปีแล้วออกไปเท่านั้น จะบอกว่า ขอยกเลิกไว้สักปีได้ไหม ปีนี้ติดไม่ได้ เพราะฉันนั้นในจีน มีจบหรือไม่จบ มีสอง choice เท่านั้น ในขณะที่ในไทยมากมายมีกำหนดว่า หลักสูตร 4 ปีใช่ไหม ถ้าเรียนไม่ได้ คุณเรียนได้ถึง 8 ปีตามขอบเขต เช่น คะแนนยังถึง 1.8 อยู่ เรายังหน่วยกิตแล้ว มีสิทธิ์เรียนต่อไป ถ้าคะแนนไม่ถึงก็ออก เรียนไป ๆ จนครบหลักสูตร คะแนนถึง 2 คุณจบ อาจจะ 8 ปีก็ได้ นี่คือความแตกต่างเท่าที่มอง แม้แต่จุฒาเองก็ทำอย่างนี้ ตรงนี้คือความแตกต่าง เพราะฉันนั้น สถาบันอุดมศึกษาในไทยอาจจะเอื้อบางเรื่อง เพราะว่า เด็กต้องจำเป็น นั่งหลับตั้งแต่เช้า หลังหน้าแล้วก็หลับอยู่ ถามกันนี่ เขาต้องทำตัวเลี้ยงตัวเขา รวมทั้งส่งบ้านด้วย เพราะฉะนั้น เด็กพวกนี้จะจบได้ถึง 6 ปีหรือ 7 ปี มันก็ดีที่สุดแล้ว แต่อย่างนี้เชื่อว่า ไม่มีเลยในจีน เท่าที่พอมองเห็นคร่าว ๆ คืออย่างนี้

คุณนรินรัตน์:อยากจะเรียนถามอาจารย์เฉินลี่นะคะว่า ภาคภาษาไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งมีวิธีการอย่างไรที่จะเพิ่มคุณภาพในการเรียนการสอนเพื่อที่จะผลิตบุคคากรระดับคุณภาพ

อาจารย์เฉินลี่:สำหรับภาควิชาภาษาไทย ข้อหนึ่ง เราก็จะปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนทุก 3 ถึง 4 ปีค่ะ หลักสูตรการเรียนการสอนที่ใช้ในปัจจุบันตั้งขึ้นในปีค.ศ. 2007 ค่ะ ตั้งแต่ปีที่แล้วจนถึงปีนี้ก็กำลังรวมข้อเสนอแนะจากอาจารย์และนักศึกษา กำลังปรับปรุงอยู่ อย่างเช่นวิชาใดที่ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ก็อาจจะลดชั่วโมงเรียนในรุ่นหน้า วิชาใดที่ได้รับความนิยมจากนักศึกษา ก็อาจจะเพิ่มชี่วโมงเรียน ข้อสองก็คือ ตอนนี้จะพัฒนานักศึกษาให้เป็นบุคลากรแบบมีความรู้รอบด้าน ก็คือจะสนับสนุนพวกเขาไปเรียนเพิ่มเติมวิชาอื่น ๆ ไม่เพียงแต่ภาษาต่างประเทศเท่านั้น จะให้พวกเขาไปเลือกวิชาที่ตนเองชอบ สนใจ หรือว่าที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่วิชาเอกของตัวเองไปเรียนที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ชิงหวา เหรินต้าก็ได้ค่ะ ข้อสามก็คือเราก็จะพยายามดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่อยู่ค่ะ นอกจากมีการแลกเปลี่ยนทางด้านอาจารย์แล้ว ก็ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนทางด้านนักศึกษาด้วยค่ะ ตรงนี้ เราก็อยากจะให้นักศึกษาวิชาเอกภาษาไทยของมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งเรียนในรูปแบบ "3+1" ก็คือ 3 ปีเรียนที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง แล้วก็อีกหนึ่งปี ไปเรียนที่ราชภัฎเชียงใหม่ ตอนนี้กำลังปรึกษากับราชภัฎเชียงใหม่อยู่ จะโอนหน่วยกิตอย่างไร จะเปิดสอนวิชาอะไรค่ะ

บุ๋ม-ประเทศไทยมีประสบการณ์อย่างไรบ้างในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอน และการผลิตบุคลากรระดับสากล

เกื้อพันธุ์-ขอเรียนเพิ่มเติมของอาจารย์เฉินลี่นิดหนึ่ง จริงๆ แล้วที่บอกว่าส่วนหนึ่งที่ถามว่า มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งผลิตบุคลากรระดับสากลอย่างไร มีโครงการหนึ่งที่ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เราเปิดสอนปริญญาโทสาขาการแปลจีน-ไทย ไทย-จีน ทางแม่ฟ้าหลวงจะสอนทางทฤษฎี ทางมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งโดยภาควิชาภาษาไทยก็จะสอนปฏิบัติ ด้วยวิธีนี้ เราผลิตบุคคลที่ออกมาถึง 2 รุ่น ถ้านับจำนวนอาจจะน้อยนิดหนึ่ง เพราะรุ่นแรกโครงการนำร้องมี 1 คน ซึ่งเมื่อจบออกไปแล้ว เขาเป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศของไทย เพราะฉะนั้น งานแรกที่มาทำในจีนก็คือเป็นล่ามให้ท่านนายกรัฐมนตรีไทยนะคะ อย่างนี้เห็นจะเรียกได้ว่า มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศนั้นผลิตบุคลากรระดับสากล รุ่นที่ 2 ที่ทำนี่ก็เป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทั้งสองคนนั้นเป็นผู้แปล 5 สหัสวรรษแห่งอักษรจีน แล้วก็โดยพื้นฐานเขาก็เป็นนักแปล คนหนึ่งเป็นนักแปลอาชีพอยู่แล้ว อีกคนก็เป็นครูภาษาจีนที่เก่งมาก และขณะนี้กำลังเรียนปริญญาเอกอยู่ นี่คืองานที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งได้ร่วมกัน เมื่อกี่นี้ที่บอกว่า สถาบันอุดมศึกษาในไทยทำอะไรบ้าง ที่บอกว่าที่เป็นการพัฒนาสถาบัน ดิฉันอยากเรียนให้ทราบว่า ในขณะนี้ กระแสจีนแรงมากในไทย ในประเทศจีนเปิดมหาวิทยาลัยสอนภาษาไทย 8 แห่ง ใช่ไหมคะ แต่ในประเทศไทยเกือบทุกมหาวิทยาลัยก็เรียนภาษาจีน ดิฉันอยากยกตัวอย่างว่า เช่นมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเปิดสอนธุรกิจจีนศึกษา เขามีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในจีน 8 แห่งที่จะส่งนักศึกษาขณะที่เรียน 1 ปีเขาจะมาเรียนที่นี่ อันนี้ สงขลานครินทร์น่าจะทำอย่างกว้างขวางที่สุด แต่ว่าที่อื่นก็ทำ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เองก็ทำ หลายมหาวิทยาลัยทำอย่างนี้ และการเรียนการสอนภาษาจีนในจุฬาฯ เขาก็มีกำหนดว่า 1 เทอมคุณจะต้องมาวิจัยในปักกิ่ง โดยที่มีศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยปักกิ่งที่เป็นคู่สัญญาควบคุมดูแล เพราะฉะนั้นในไทยก็พยายามอย่างนี้ ตัวอย่างที่ยกมานี้เป็นเรื่องภาษาจีน แต่อย่างไรก็ตาม เราเรียกว่าทุกสถาบันอุดมศึกษาของไทยก็ทำเรื่องนี้ มหาวิทยาลัยบูรพาเขาก็มีคู่สัญญา เกือบทุกที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีกับมหาวิทยาลัยชนชาติยูนนานอะไรทำนองนั้น ที่จะมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษากัน ระบบ 3 -1 หรือ 2-2 นั้นได้ทำกันหลายที่ เพราะฉะนั้น ถ้าดูตรงนี้หมายความว่า เราเป็นบุคลากรที่จะก้าวออกไปนอกประเทศได้ ตรงนี้ดิฉันไม่สันทัดกับมหาวิทยาลัยที่เป็นเรื่องอื่นๆ เช่นที่เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ เรื่องการแพทย์ แต่ก็ทราบว่าในทางวิทยาศาสตร์เราก็มีการสนับสนุนอย่างนี้กัน ในไทยก็ทำอย่างนั้นค่ะ

(cici/Cui)


1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040