คุณนรินรัตน์: อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรต่อการขยายความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนในระดับอุดมศึกษาระหว่างจีน-ไทยให้มากขึ้น
อาจารย์เกื้อพันธุ์:ในฐานะที่จีน และไทยเป็นมิตรประเทศ ดิฉันก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง การตั้งสถาบันขงจื๊อ ซึ่งได้ทราบว่าในประเทศไทยมีจำนวนมากกว่าทุกประเทศในโลก ตรงนี้นับว่าสถาบันขงจื๊อนั้นมีส่วนในการที่ทำให้การศึกษาภาษาจีนแพร่หลายสู่ประชาชนทั่วประเทศ เพราะว่าหลักของเขาคือ เขาจะสอนภาษาจีน สอนวัฒนธรรมจีน โดยไม่คำนึงถึงกำไร คล้ายๆ ว่าเลี้ยงตัวได้ก็ได้ จุดตรงนี้ก็เลยเป็นเหตุให้คนที่เข้าไปประจำอยู่สามารถที่จะสอน หรือสามารถที่จะร่วมมือกับโรงเรียนไหนที่ไม่มีครู แล้วอยากเปิดสอนภาษาจีน มันก็ได้ขึ้นมา อันนี้เป็นข้อดีมาก แต่ทีนี้ถ้ามองออกไป ดิฉันก็มองว่า ในระดับพื้นฐาน สถาบันขงจื๊อในประเทศไทยดิฉันไม่ได้ดูที่อื่น เขาก็ทำได้ แต่ว่าถ้าได้สามารถลงลึกกว่านี้ นั่นก็คือเน้นการสอนถึงระดับอุดมศึกษา หรือระดับมหาบัญฑิต สถาบันขงจื๊อก็มีประโยชน์มากยิ่งขึ้น เพราะว่าแต่ละสถาบันในแต่ละที่ดูกิจกรรมที่เขาทำกันก็คล้ายๆ กัน เพราะฉะนั้น ถ้ามีกิจกรรมอะไรที่เด่นขึ้นมา แล้วก็จะช่วยทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนภาษาจีนที่ลึกมากขึ้น อันนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง อยากเสนอแนะตรงนี้นะคะ
คุณนรินรัตน์: ขอให้อาจารย์ช่วยกล่าวถึงความหวัง และความปรารถนาที่จะเห็นการศึกษาของจีนเป็นเช่นดั่งเศรษฐกิจของจีนที่จะพัฒนากลายเป็นระดับหนึ่งของโลก
อาจารย์เกื้อพันธุ์:เพราะว่าเป็นชาวต่างชาติที่อยู่ในจีนนานแล้ว แล้วก็ที่มาอยู่ติดต่อกันปีนี้ก็เป็นปีที่ 6 ดิฉันมองว่าประเทศจีนก้าวหน้ารวดเร็วมาก เรื่องที่เรายอมรับทั่วโลกก็คือ ก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ แต่ว่าในเรื่องการศึกษา ดิฉันจำได้ว่า เมื่อประมาณปี 2506 2507 ซึ่งเป็นระยะเตรียมการที่จะมีกิฬาโอลิมปิก ตอนนั้นก็พบว่า ทางสถาบันศึกษาก็ดี ทางรัฐบาลก็ดีก็เร่งให้นักศึกษารู้ภาษาต่างประเทศ อย่างน้อยรู้อยู่แล้ว เช่นนักศึกษาที่เรียนมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่ง ตรงนี้ก็มีการรณรงค์หลายอย่างเพื่อจะให้เกิดความรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งน่าจะนับว่าเป็นภาษากลาง อบรมโชเฟอร์แท็กซี่ อบรมคนขายของ ดิฉันก็มองว่า การทำงานตรงนี้ทำได้อย่างเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นก็เรียกว่า การศึกษานี้ขยับขึ้นมา คือทำให้คนจีนสามารถติดต่อกับชาวต่างชาติ เอื้ออำนวยประโยชน์ทั่งต่อตัวเอง และต่ออีกฝ่ายหนึ่งได้ เพราะเดี๋ยวนี้ในโลกยุคปัจจุบันนั้น คงจะต้องเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อกัน ถ้าถามถึงความหวังที่จะเห็นการศึกษาของจีนก้าวหน้าไปนั้น บอกตรงๆ นี่เป็นความหวังจริงๆ ในฐานะครูคนหนึ่ง เราก็หวัง เพราะว่าในส่วนที่เราจะไป ดิฉันบอกตรงๆ เลยว่า ถ้าออกไปภาษาจีนก็ไม่รู้ แล้วก็ออกไปต่างมณฑลมากๆ ภาษาอังกฤษก็ลำบาก เพราะฉะนั้นดิฉันก็มีความหวังว่า ใน 10 ปี หรือในอีก 20 ปีข้างหน้า การศึกษาในประเทศจีนนั้นก็จะก้าวหน้า มันอาจจะไม่เร็วเหมือนเศรษฐกิจ เพราะเศรษฐกิจเป็นเรื่องเงินเรื่องค้าขาย มันทำได้เร็ว แต่การศึกษาเป็นเรื่องค่อนข้างช้า มันไม่สามารถจะเอา1+1 เป็น 2 ได้ แต่เชื่อว่า ด้วยความพยายามของรัฐบาล ทั้งรัฐบาลกลาง อย่างเช่น การประชุมสองสภา และความพยายามของรัฐบาลท้องถิ่น ดิฉันก็มีความหวังว่า การศึกษาของประเทศจีนจะก้าวขึ้นไป เรียกว่าอยู่ในฐานะอันดับ 1 ของเอเชียในเวลาไม่ไกล และก็จะก้าวขึ้นสู่ระดับแนวหน้าของโลกในอนาคตข้างหน้า ดิฉันหวังอย่างนั้น
คุณนรินรัตน์: คุณผู้ฟัง ผู้ชมคะ รายการสำหรับวันนี้ก็ดำเนินมาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว เรารู้สึกเป็นเกียรติ และยินดีอย่างยิ่ง ในโอกาสนี้ขอขอบพระคุณอาจารย์ทั้งสองท่านที่ได้สระเวลา และให้เกียรติมาแสดงมุมมองในด้านการศึกษาในวาระของการประชุมสองสภาของจีนในวันนี้ค่ะ สวัสดีค่ะ
(cici)