หนังสือพิมพ์ฟิลิปปินส์ลงบทความระบุ เกาะหวงเหยียนเป็นดินแดนของจีน
  2012-05-09 16:50:16  cri
หนังสือพิมพ์ Manila Standard Today ของฟิลิปปินส์ฉบับ

วันที่ 28 เมษายนตีพิมพ์บทความหัวข้อ "เกาะแห่งนี้เป็นดินแดนของจีน"ที่เขียนโดยนายวิกตอร์ เอ็น อาร์ชิส นักธุรกิจชาวฟิลิปปินส์ โดยตั้ง และชี้แจงว่า ฟิลิปปินส์มิอาจเปลี่ยนข้อเท็จจริงนี้ได้

บทความระบุว่า แนวหินโสโครกสการ์โบโรห์(Scarborough Shoal)หรือเกาะหวงเหยียนเป็นของจีนจริงๆ จีนพบเกาะแห่งนี้เมื่อปี 1279 ซึ่งเป็นสมัยราชวงศ์หยวน และได้ระบุุไว้ในแผนที่อย่างชัดเจน ตั้งแต่นั้นมา ชาวประมงจากแผ่นดินใหญ่จีนและไต้หวันก็ทำการประมงที่นั่น

ส่วนแผนที่เก่าซึ่งกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปินส์นำำออกมาเพื่อใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงว่าเกาะแห่งนี้เป็นดินแดนของตนนั้น ทำขึ้นเมื่อปี 1820 ช้ากว่าจีนตั้ง 541 ปี

นายวิกตอร์ เอ็น อาร์ชิสย้อนถามว่า ขณะที่ฟิลิปปินส์ประกาศเอกราชจากการปกครองของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1946 นั้น ได้กำหนดอาณาเขตอย่างไร เหตุใดรัฐธรรมนูญฉบับปีค.ศ. 1899 1935 1943 1973 1986 และ 1987 ล้วนไม่ได้จัดหมู่เกาะหนานซากับแนวหินโสโครกสการ์โบโรห์เข้าไว้ในอาณาเขตของฟิลิปปินส์ ทำไมจู่ๆ ก็กลายเป็นเจ้าของเกาะเหล่านี้

เมื่อปลายทศวรรษ 1970 จีนเคยดำเนินการสำรวจทางวิทยาศาสตร์บนแนวหินโสโครกสการ์โบโรห์และบริเวณรอบข้าง ต่อมาเคยตั้งศิลาจารึกไว้ที่นั่นด้วย แต่เมื่อปี 1997 ถูกฟิลิปปินส์ย้ายออกโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากจีน

จนถึงทศวรรษ 1990 แผนที่ทุกฉบับที่ทางการฟิลิปปินส์จัดทำ ล้วนไม่ได้รวมหมู่เกาะสปราตลี(หมู่เกาะหนานซาของจีน)และแนวหินโสโครกสการ์โบโรห์(เกาะหวงเหยียนของจีน)เข้าไว้ในอาณาเขตของฟิลิปปินส์แต่อย่างใด และปี 1961 รัฐสภาฟิลิปปินส์ผ่านมติเลขที่ 3046 ยับยั้งพฤติกรรมชิงอธิปไตยเหนือเกาะเหล่านี้

แต่เมื่อวันที่ 10 มีนาคมปี 2009 ฟิลิปปินส์ปรับปรุงแก้ไขมติดังกล่าว และประกาศมีอธิปไตยเหนือเกาะเหล่านี้โดยลำพังฝ่ายเดียว

มีข้อเท็จจริงที่ไม่ควรมองข้ามอยู่ข้อหนึ่งคือ มีสนธิสัญญาระหว่างประเทศ 3 ฉบับสนับสนุนจีนใช้อธิปไตยเหนือเกาะเหล่านี้ ซึ่งได้แก่ สนธิสัญญาปารีสสหรัฐอเมริกา-สเปนปี 1898 สนธิสัญญาวอชิงตันสเปน-สหรัฐอเมริกาปี 1900 และสนธิสัญญาอังกฤษ-สหรัฐอเมริกาปี 1930 สนธิสัญญาเหล่านี้ล้วนกำหนดชายแดนฟิลิปปินส์ให้อยู่ในเส้นลองจิจูดตะวันออก 118 องศา

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
东盟
v การยื่นคำขาด และเอาจริงของจีนในปัญหาเกาะหวงเหยียนเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง 2012-05-09 13:17:53
v ปฏิบัติการของฟิลิปปินส์ไม่มีส่วนช่วยต่อการแก้ไขปัญหา 2012-05-08 16:48:00
v ผู้เชี่ยวชาญระบุ ฟิลิปปินส์ยากที่จะได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯในกรณีเกาะหวงเหยียน 2012-04-30 16:30:35
v ทะเลจีนใต้ไม่ใช่สวนสนุกที่ไม่มีกฎเกณฑ์ 2012-04-25 17:02:50
v จีนสั่งสอนเรือ 2 ลำที่ปฎิบัติหน้าที่ในน่านน้ำเกาะหวงเหยียน แต่ทางการและสื่อมวลชนฟิลิปปินส์ยังคงทวีความตึงเครียดต่อไป 2012-04-24 17:20:24
v สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำฟิลิปปินส์ชี้แจงจุดยืนของจีนต่อปัญหาเกาะหวงเหยียน 2012-04-18 20:45:19
v เหตุพิพาทหมู่เกาะหมู่เกาะหวงเหยียนคือฟิลิปปินส์ก่อกวนชาวประมงจีน 2012-04-17 17:25:26
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040