ปักกิ่งเพลินเพลิน "หย่ง ชุน ดาวรุ่งพุ่งแรงของวงการวรรณกรรมแปลเมืองไทย " (2)
  2012-10-25 18:14:33  cri

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว บทสัมภาษณ์"ปานชีวา บุตราช" นักแปลมือทองที่แปลงานเขียนจีนเป็นไทยมาแล้ว 35 เล่มในช่วง 5 ปีนี้ กำลังได้อรรรสและเพลิดเพลินจากประสบการณ์นักแปลของเธอ สำหรับสัปดาห์นี้เธอจะพูดถึงความประทับใจในงานแปล รวมถึงกระแสของนักอ่านไทยและแวดวงวรรณกรรมแปลจีนในไทยต่อ

- จากการแปลหนังสือมากว่า 30 เล่ม อยากทราบจำนวน ณ ตอนนี้ว่ากี่เล่มแล้ว และประทับใจเล่มไหนมากที่สุด เพราะอะไร

เล่มที่ 35 กำลังจะออกแล้วค่ะ และเล่มที่ชอบที่สุดก็คงจะเป็นหนังสือเล่มแรกที่แปล บังเอิญไปเจอในร้านและยืนอ่านจนจบเล่ม ชื่อว่า "เรื่องบันทึกของหม่าเยี่ยน" หรือ ภาษาจีนเรียกว่า "หม่าเยี่ยนรื่อจี้" เป็นเรื่องของเด็กผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในเขตหนิงเซี่ย ซึ่งเป็นเขตที่องค์การอนามัยโลกได้สำรวจและประกาศออกมาว่า เป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ เนื่องจากกันดารมาก ด้วยความที่เป็นเด็กผู้หญิงและที่บ้านไม่ส่งเสริมให้เรียน ให้แต่น้องชายเรียน จึงเกิดความน้อยใจตามประสาเด็กๆ ก็เขียนไดอารี่ระบายความในใจไปเรื่อยๆ แต่ว่า พอถึงจุดๆ หนึ่งที่ไม่ได้เรียนและต้องออกไปทำไร่ไถนาแล้ว จนอยู่มาวันหนึ่งบังเอิญมีนักข่าวชาวต่างประเทศไปที่หมู่บ้าน แม่ก็เอาไดอารี่ของลูกสาวไปให้นักข่าวอ่านให้ฟัง ไม่รู้นึกยังไงก็ไม่รู้ เพราะก่อนหน้านี่ทะเลากับลูกสาวเลยอยากรู้ว่าลูกสาวคิดอะไรอยู่ นักข่าวก็เอาไปแปลและเผยแพร่เป็นภาษาต่างๆ ซึ่งตัวเองอ่านแล้วก็ประทับใจในความสู้ชีวิตของเด็กคนหนึ่งและนี่มันยุคสมัยไหนแล้ว ยังมีเรื่องแบบนี้อยู่อีก ขณะที่อ่านเรื่องนี้ทำให้ย้อนคิดว่า ไม่น่าเชื่อว่ายังมีคนกินกาแฟแก้วละเป็นร้อยๆ ใช้มือถือเครื่องละเป็นหมื่นๆ ในขณะที่ยังมีเด็กคนหนึ่งเดินไปเรียนหนังสือวันละห้ากิโลเพราะไม่มีเงินแค่หยวนเดียวหรือห้าบาท ไม่มีเงินขึ้นรถ

 ผลงานการแปลเล่มแรก สุดประทับใจของปานชีวา บุตราช

- หนังสือเรื่องนี้มีกระแสอย่างไรในจีน โด่งดังมากน้อยแค่ไหน

ตอนนั้นเล่นนี้ค่อนข้างดัง เท่าที่ทราบแม่ของหม่าเยี่ยนได้ออกรายการโทรทัศน์ของจีนด้วย และตอนนี้ผู้เขียนหรือตัวหม่าเหยี่ยนเองได้ไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศสด้วยการช่วยเหลือของนักข่าวคนนั้น หนังสือก็ได้พิมพ์หลายภาษารวมถึงฉบับภาษาไทยก็ได้พิมพ์ถึงสี่ครั้ง

- เรื่องนี้แปลจากจีนเป็นไทย หรือภาษาอังกฤษเป็นไทย

เทียบคู่ทั้งสองภาษาทั้งจีนและอังกฤษ รวมถึงเทียบกับฉบับภาษาฝรั่งเศสเองด้วย เพราะว่าในฉบับจีนเองก็จะมีเนื้อหาบางส่วนที่ถูกตัดทอนออกไป อย่างเช่น ชื่อญาติพี่น้องแท้จริง เป็นต้น ในขณะที่เล่มภาษาอังกฤษหรือฝรั่งเศสจะมีชื่อเต็ม ก็ได้นำไปพูดคุยกับกองบรรณาธิการก็บอกว่า ถ้าผู้แปลสามารถตรวจทานสองภาษาคู่กันหรือสามภาษาคู่กันได้ยิ่งดี เพราะว่าจะได้เนื้อหาส่วนที่สมบูรณ์ที่สุดออกมา

- กระแสการอ่านหนังสือแปลจากจีน ในปัจจุบันสำหรับนักอ่านชาวไทยมีกระแสอย่างไรบ้างและได้รับการตอบรับมากน้อยแค่ไหน

คิดว่า ดีขึ้นจากเมื่อก่อน คือเมื่อก่อนตลาดหนังสือจีนค่อนข้างแคบ จะมีแค่กลุ่มเดียวเป็นที่นิยมมากๆ ก็พวกนิยายกำลังภายใน แต่ปัจจุบันนอกจากนิยายกำลังภายในแล้วยังมีงานแนวอื่น เช่น นิยายของสำนักพิมพ์แจ่มใส เป็นนิยายชุด "มากกว่ารัก" เป็นความรักกุ๊กกิ๊กขององค์ชายกับสาวชาวบ้าน หรือไม่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักระหว่างชนชั้นซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้นไม่มีอยู่จริง แต่พอมาเป็นนิยายแล้วสามารถทำให้คนอ่านพออ่านแล้วมีความสุขได้คิดได้ฝันไปเยอะแยะ ตรงนี้เป็นจุดนึงที่ทำให้ตลาดหนังสือจีนในบ้านเราเริ่มมีหนังสือในแนวอื่นขึ้นมาอีกนอกเหนือจากนิยายกำลังภายใน

- แล้วคุณชุนได้แปลนิยายแนวกุ๊กกิ๊กแบบนี้บ้างไหม

มีค่ะ เมื่อก่อนตอนทำงานแปลให้สำนักพิมพ์นี้ ก็ได้แปลนิยายชุดเอเชี่ยน ซีรีย์เกี่ยวกับเรื่องความรักของสาวออฟฟิศ หลังจากนั้นทางสำนักพิมพ์ก็เบนเข็มมาทำนิยายย้อนยุคแต่ยังคงความกุ๊กกิ๊กอยู่ จำได้เรื่องที่แปลชื่อว่า "เก๋อเก่อเปี๋ยโต้วเล่อ" หรือแปลประมาณว่า "องค์หญิง อย่าล้อเล่นอีกเลย" เป็นเรื่องขององค์หญิงที่ถูกลักพาตัวไปตั้งแต่เด็กๆ ถูกเอาไปขายเป็นคนรับใช้แล้วก็ไปเจอกับพระเอกไปไถ่ตัวมาเลี้ยงไว้ที่บ้าน และส่วนพระเอกก็เป็นพ่อค้าด้วยก็รู้จักคนในรั้วในวัง สุดท้ายองค์หญิงก็ได้เจอกับพ่อแม่

สำนักพิมพ์แจ่มใสจำหน่ายนิยายจีนแนวกุ๊กกิ๊ก ที่ถูกใจผู้อ่านและได้รับความนิยมในไทย

1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040