หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้ารายงานว่า หลายประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะปรับค่าแรงงานต่ำสุดให้สูงขึ้นพร้อมกันโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2013 เป็นต้นไป
หลังจากไทยได้ปรับค่าแรงขึ้นใน 7 จังหวัดรวมทั้งกรุงเทพฯ ขึ้นเป็น 300 บาทต่อวันในเดือนเมษายนที่ผ่านมาแล้ว นโยบายขึ้นค่าแรงดังกล่าวนี้จะครอบคลุมทั่วประเทศไทยโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2013
รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศว่า เงินเดือนต่ำสุดในกรุงจาการ์ตา จะปรับจาก 1.53 ล้านรูเปียห์อินโดนีเซียขึ้นเป็น 2.2 ล้านรูเปียห์อินโดนีเซีย ซึ่งได้ปรับขึ้นถึง 44% โดยจะเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2013 เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้ เวียดนามก็เคยรายงานว่า เวียดนามจะแบ่งเขตเป็น 4 เขต เพื่อปรับเงินเดือนต่ำสุดอยู่ระหว่าง 1.65-2.35 ล้านด่อง เงินเดือนต่ำสุดของเมืองฮานอยและ โฮจิมินห์ปรับสูงขึ้น 35% คิดเป็น 2.7 ล้านด่องโดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2013 เป็นต้นไป
และมาเลเซียจะเริ่มใช้ระบบเงินเดือนต่ำสุดเป็นครั้งแรก เงินเดือนต่ำสุดของกรุงกัวลาลัมเปอร์จะคิดเป็น 900 ริงกิตโดยเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2013
แรงงานในภาคอุตสาหกรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นเคยชินกับการพึ่งพาอาศัยแรงงานที่มีเงินเดือนไม่ถึง 200 เหรียญสหรัฐฯ การขึ้นเงินเดือนเร็วเกินไปอาจจะทำให้ความได้เปรียบของการมีต้นทุนทางแรงงานต่ำของประเทศเกี่ยวข้องเสียไปบ้าง
บุคคลวงการเศรษฐกิจบางคนวิตกว่า การปรับมาตรฐานเงินเดือนต่ำสุดจะทำให้ต้นทุนการดำรงชีวิตในเขตเอเชียตะวันออกสูงขึ้น และทำให้เกิดเงินเฟ้อด้วย ธนาคารสวิตเซอร์แลนด์คาดว่า หลังจากเงินเดือนไทยได้ปรับขึ้น 12% ในปีนี้แล้ว ปี 2013 เงินเดือนในไทยจะปรับสูงขึ้นอีก 10% ระดับเงินเฟ้อเฉลี่ยของประเทศไทยในปี 2013 จะเพิ่มขึ้นจาก 4.3%เ ป็น 5.7% แต่ผู้เชี่ยวชาญที่ให้สัมภาษณ์ระบุว่า เนื่องจากระดับการขึ้นเงินเดือนของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังอยู่ในขอบเขตที่ยังควบคุมได้ เพราะยังมีช่องว่างที่สามารถปรับได้อีก และยังคงต่ำกว่าประเทศตะวันตกอีกมาก
(Ying/zheng)