เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว พลเอกเต็ง เส่งและนายจูเลีย ไอลีน กิลลาร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียเคยพบปะกันเป็นครั้งแรกในที่ประชุมสุดยอดเอเชีย - ยุโรปซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียงจันทน์ และเมื่อเดือนพฤศจิกายนของปีที่แล้ว นายจอห์น คีย์ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ก็เคยไปเยือนเมียนมาร์ และมีจัดการประชุมขึ้นระหว่างผู้นำสองประเทศ ส่วนพลเอกเต็ง เส่งเดิมทีมีกำหนดการไปเยือนสองประเทศนี้ในเดือนธันวาคมของปีที่แล้ว แต่ติดภารกิจอื่นทำให้ต้องเลื่อนเวลาออกไป
กล่าวได้ว่า ในหมู่ประเทศตะวันตกนั้น ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีความสัมพันธ์ค่อนข้างดีกับเมียนมาร์ และมีการคว่ำบาตรต่อเมียนมาร์ค่อนข้างอ่อนโยน
ออสเตรเลียและเมียนมาร์สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี 1953 และมีจัดตั้งสถานทูตในเมียนมาร์มาโดยตลอด ซึ่งการนี้เป็นการหายากมากในบรรดาประเทศตะวันตก เมื่อเดือนกรกฏาคมปี 2011 นายเควิน รัดด์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลียได้เดินทางไปเยือนเมียนมาร์ ซึ่งนับเป็นนักการเมืองสำคัญของประเทศตะวันตกคนแรกที่ไปเยือนหลังจากรัฐบาลชุดใหม่ของเมียนมาร์ขึ้นบริหารงาน ต่อจากนั้น เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2012 นายบ๊อบ คาร์ รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลียก็ได้ไปเยือนเช่น และประกาศยกเลิกการคว่ำบาตรส่วนหนึ่งต่อเมียนมาร์ ขณะเดียวกันยังประกาศให้เงินช่วยเหลือ 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนของโรงเรียนระดับต่างๆ เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ออสเตรเลียประกาศว่าจะเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการบริหารของรัฐบาลแก่เมียนมาร์ อีกทั้งจะช่วยให้เมียนมาร์วางโครงสร้างและระบบการลงทุนจากต่างประเทศให้สมบูรณ์แบบ
สำหรับนิวซีแลนด์ ได้สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับเมียนมาร์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 1954 และต่อมาเดือนพฤศจิกายนปี 2012 นายจอห์น คีย์ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ไปเยือนเมียนมาร์อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นผู้นำนิวซีแลนด์คนแรกที่ไปเยือนเมียนมาร์หลังจากสองประเทศสร้างความ สัมพันธ์ทางการทูตขึ้นเป็นต้นมา หลังการเยือน นายจอห์น คีย์ประกาศให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจมูลค่า 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่เมียนมาร์ และมีแผนระยะ 5 ปีที่จะสร้างฟาร์มเลี้ยงโคนมให้ เพื่อช่วยเหลือชาวปัศุสัตว์ท้องถิ่น นอกจากนั้น นิวซีแลนด์ยังจะเปิดสถานทูตในเมียนมาร์อีกครั้งในอีกไม่นานข้างหน้า
(Ton/Lin)