ภาพ1-ข้อระวังในขณะเกิดแผ่นดินไหว
ข้อระวังอีกประการหนึ่งคือ เวลาเกิดแผ่นดินไหวและไฟไหม้ ห้ามใช้ลิฟต์ ถ้าหากว่าอยู่ในลิฟต์พอดี ควรรีบกดปุ่มของทุกชั้น ไม่ว่าถึงขั้นไหน เมื่อลิฟต์หยุดรีบวิ่งออกไปทันที ห้ามขับรถหรือขี่จักรยาน และมีข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือควรพกโทรศัพท์มือถือหรือเครื่องสื่อสารอื่นไว้กับตัวตลอด ต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำแนะนำของตำรวจหรือเจ้าหน้าที่บรรเทาภัย ควรเปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำ คำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง
อย่าเชื่อหรือสร้างข่าวลือ เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกจนเกินไปต่อผู้อื่นและสังคม และไม่ใช้ปฏิบัติการตามอำเภอใจ
หลังจากแผ่นดินไหวหยุดหรือไม่สั่นสะเทือนแล้ว ควรตรวจเช็คสภาพการได้รับบาดเจ็บ และทำการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพื่อให้แพทย์ทำการรักษาต่อไป นอกจากนี้ ยังควรตรวจเช็คระบบน้ำ และไฟฟ้า หากมีการรั่วซึมหรือชำรุดเสียหาย ต้องรีบปิดวาล์วทันที เพื่อป้องกันน้ำท่วม ไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด หรือไฟฟ้าช็อต ส่วนการตรวจเช็คระบบแก๊สก็มีความสำคัญมาก ซึ่งวิธีการตรวจง่ายมาก คือใช้การดมกลิ่นเท่านั้นก็ทราบ หากพบว่ามีกลิ่นก็แสดงว่าแก๊สรั่วซึม ต้องรีบเปิดประตูและหน้าต่าง ออกจากอาคาร แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยให้ทราบ
ภาพ2-การตรวจเช็คระบบแก๊สก็มีความสำคัญมาก
หลังจากหนีออกจากอาคารที่เสี่ยงอันตรายแล้ว ไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือโดยไม่จำเป็น เพื่อประหยัดแบตเตอร์รี และก่อนหนีออกจากอาคาร อย่าเพิ่งกดน้ำล้างเครื่องสุขภัณฑ์ ในขณะที่ยังไม่แน่ใจว่าท่อในห้องน้ำมีการแตกหักหรือเสียหายหรือไม่ เวลาวิ่งหนีออกจากอาคาร ควรสวมรองเท้ายางหรือรองเท้าอ่อน เพื่อป้องกันสิ่งปรักหักพัง เศษแก้ว เศษกระเบื้อง อำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่บรรเทาภัยเข้าปฏิบัติงานในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย ผู้ที่ไม่มีหน้าที่หรือไม่เกี่ยวข้อง ห้ามเข้าไปในบริเวณนั้น ๆ อีกอย่างหนึ่งคือ สำหรับผู้ที่อยู่ริมน้ำ ต้องออกจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นใต้น้ำซัดฝั่งหรือสึนามิตามมาได้
ถึงแม้รอดชีวิตจากภัยแผ่นดินไหวได้แล้ว แต่ยังมีปัญหาอีกหลายประการที่ต้องเผชิญ ปัญหาเร่งด่วนก็คือ การป้องกันโรค เพราะในระยะเวลาอันสั้นหลังแผ่นดินไหว ในพื้นที่นั้นๆ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจะถูกทำลายจะไม่สามารถทำงานตามปกติได้ เช่นบ่อน้ำ อ่างเก็บน้ำ ห้องน้ำและสถานที่เก็บขยะ และเนื่องจากหยุดการจ่ายน้ำจ่ายไฟ การเดินทางไม่สะดวก ทำให้การขนส่งสิ่งของบรรเทาภัยเข้าสู้พื้นที่มีความยากลำบากมาก
ในพื้นที่เกิดภัย มีศพของผู้เสียชีวิตและสัตว์จำนวนมาก ซึ่งจะเน่าเปื่อยภายในไม่กี่วัน ประกอบด้วยน้ำเสีย สิ่งขับถ่ายหรือมูลของคนและสัตว์ ตลอดจนขยะ จะกลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ทำให้แมลงวันมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งน้ำและอากาศจะเป็นพิษ จนเกิดโรคติดต่อได้ ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ มักจะมีภูมิต้านทานลดลงอย่างมาก จึงติดเชื้อโรคและเป็นโรคติดต่อได้ง่ายมาก ผู้เชี่ยวชาญเสนอให้ตั้งกระโจมในสถานที่ที่มีแสงแดด ซึ่งแสงอาทิตย์ส่องถึงเพื่อฆ่าเชื้อโรค และล้างมือด้วยสบู่เพื่อป้องกันเชื้อโรค
น้ำเป็นปัญหาสำคัญที่สุด ในกรณีที่ไม่สามารถหาน้ำดื่มและน้ำใช้ที่สะอาดปลอดภัย ขณะที่น้ำจากภายนอกยังส่งมาไม่ถึงนั้น ผู้ประสบภัยคงต้องดื่มน้ำฝน น้ำที่เก็บไว้ในสระน้ำ น้ำจากแม่น้ำ จนกระทั่งน้ำเสียจากโรงงาน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น สำหรับทางราชการ ควรพยายามหาวิธีส่งน้ำสะอาดให้ถึงพื้นที่ประสบภัย และซ่อมแซมท่อส่งน้ำโดยด่วน และที่สำคัญคือ ย้ายศพของผู้เสียชีวิตและสัตว์ออกจากแหล่งน้ำ และทำการฆ่าเชื้อในสถานที่ดังกล่าวอย่างทันท่วงที
ภาพ3-การฆ่าเชื้อในพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวมีความจำเป็นมาก
ในด้านโรคติดต่อ ที่มักเกิดมากที่สุดหลังแผ่นดินไหวมี 3 ประเภท ได้แก่
1.โรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น อหิวาตกโรค และมาลาเรีย วิธีการป้องกันคือไม่รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะห้ามดื่มน้ำที่ไม่ได้รับการฆ่าเชื้อ ควรรับยาฆ่าเชื้อน้ำดื่มจากหน่วยงานทางการ หลังฆ่าเชื้อแล้วต้องต้มจนเดือดถึงจะดื่มได้ ไม่ควรรับประทานอาหารขึ้นรา แช่น้ำ และเน่าเสีย ต้องประกอบอาหารให้สุกเต็มที่ก่อนรับประทาน
2.โรคติดต่อทางเดินหายใจ เช่นไข้หวัดใหญ่ และปอดอักเสบ ให้ใส่หน้ากากอนามัยเวลาอยู่ในพื้นที่อันตรายหรือใกล้กับสถานที่ที่มีศพ
3.โรคผิวหนัง เช่น กลาก วิธีการป้องกันคือ ไม่ใช้ภาชนะและผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน
นอกจากนี้ โรคบาดทะยักก็พบบ่อยหลังเกิดแผ่นดินไหว ดังนั้น ถ้ามีแผลควรไปฉีดยาป้องกันบาดทะยักโดยด่วน
สุดท้ายนี้ เรามีข้อเสนอเกี่ยวกับสิ่งของที่ควรเตรียมไว้ที่บ้านเพื่อรับมือกับภัยแผ่นดินไหวหรือภัยพิบัติอื่นๆ เช่น ขวาน พลั่ว ไขควง เชือก คีม
ผ้าพลาสติก เชือกพลาสติก ถุงมือ ไฟแช็ก เทียน แบตเตอร์รี ยาสามัญ แว่นครอบตา มีด สายยาง เต้นต์ ผ้าห่ม ถุงนอน ไฟฉาย เครื่องดับเพลิง สบู่ ยาสีฟัน ซึ่งของใช้เหล่านี้ควรเก็บไว้ในตู้เครื่องมือที่กันน้ำ เพื่อถือง่าย และใช้สะดวก
ภาพ4-ควรเตรียมสิ่งข้องจำเป็นไว้ที่บ้านเพื่อรับมือกับแผ่นดินไหว
นอกจากนั้น ยังควรเตรียมกรรไกร กระดาษทิชชู่ ถ้วย ถุงพลาสติกขนาดเล็ก ควรเตรียมแอลกอฮอล์เพื่อใช้ในการล้างและฆ่าเชื้อหากเกิดแผล ยาปฏิชีวนะ ยาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ ยารักษาท้องเสีย และน้ำยาหยอดตาเพื่อป้องกันและรักษาโรคตาแดง ส่วนผ้าพันแผล เทปและสำลีสำหรับปฐมพยาบาลก็เป็นสิ่งของที่ควรเตรียมไว้ มนุษย์ไม่สามารถป้องกันและยับยั้งภัยธรรมชาติได้ ดังนั้น วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา เพื่อลดความเสี่ยงการเสียชีวิต และลดความเสียหายของบุคคลและสังคมให้น้อยลง