การปรับขึ้นราคาตั๋วรถไฟใต้ดินเป็นข่าวที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในจีน การเพิ่มราคาครั้งนี้ให้เหตุผลว่าเพื่อที่จะลดจำนวนผู้โดยสารในช่วงเวลาเร่งด่วนก่อนเข้าทำงานและหลังเลิกงาน เกี่ยวกับเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้สนับสนุนปรับขึ้นราคาร้อยละ 40 ขณะที่คัดค้านร้อยละ 60
ทุกวันนี้ ในประเทศจีนมีแต่กรุงปักกิ่งเท่านั้นที่คิดราคาตั๋วรถไฟใต้ดินเป็น 2 หยวนโดยสามารถโดยสารรถไฟใต้ดินได้ตลอดทั้งสาย และจะเปลี่ยนขบวนไปสายอื่นๆ ได้โดยไม่จำกัด ส่วนเมืองอื่นๆ ส่วนใหญ่ตั้งมาตรฐานว่า ราคาเริ่มต้น 2 หยวน หรือ 3 หยวน และคิดเพิ่มตามระยะทางโดยสาร ราคารถตั๋วไฟใต้ดินที่ถูกเป็นพิเศษได้ประกาศใช้เป็นเวลา 7-8 ปี ทำให้เทศบาลเมืองอื่นๆ รู้สึกกดดัน เพราะมักถูกผู้โดยสารตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมราคาตั๋วรถไฟใต้ดินของปักกิ่งถูกถึงขนาดนี้
คนเมืองอื่นๆ จึงอิจฉาคนปักกิ่งในประเด็นนี้ การปรับขึ้นราคาตั๋วครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางด้วย สำหรับคนคัดค้านมีจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่า การปรับขึ้นราคาตั๋วในครั้งนี้ให้เหตุผลว่าลดจำนวนผู้โดยสารในช่วงเวลาเร่งด่วนก่อนเข้าทำงาน และหลังเลิกงาน แต่ผู้โดยสารในช่วงเวลาดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นคนที่ต้องไปทำงาน พวกเขาจะไม่เปลี่ยนเวลาโดยสารเพราะราคาตั๋วที่ปรับขึ้นสองสามหยวน เพราะการไปทำงานสายคงไม่ใช่เรื่องเงินสองสามหยวน เพราะฉะนั้น สำหรับผู้โดยสารเหล่านี้ การคิดราคาตั๋วเพิ่มขึ้นเป็นเพียงเพิ่มภาระด้านเศรษฐกิจ หากแก้ปัญหาจำนวนผู้โดยสารแน่นไม่ได้
ยังมีผู้โดยสารบ่นว่า เมื่อรถไฟใต้ดินปรับขึ้นราคาตั๋ว ผู้คนจึงหันไปใช้บริการรถประจำทาง เมื่อผู้โดยสารรถประจำทางมีจำนวนมากขึ้น ราคาตั๋วรถก็จะปรับขึ้น ผู้คนจึงหันไปใช้รถไฟใต้ดินอีก หากแก้ปัญหาจำนวนผู้โดยสารแน่นด้วยการปรับขึ้นราคาอย่างเดียวจะเป็นวงโคจรที่ไม่มีทางออก
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเสนอว่า เมืองต่างๆ ในต่างประเทศบางแห่งมีวิธีแก้ไขคือ ลดราคาตั๋วรถไฟใต้ดินในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ช่วงเวลาเร่งด่วนก่อนเข้าทำงาน และหลังเลิกงาน หากกรุงปักกิ่งปรับขึ้นราคาในช่วงเร่งด่วนก่อนเข้าทำงาน และหลังเลิกงาน ก็ควรพิจารณาถึงราคาตั๋วในช่วงเวลาที่ไม่ใช่เวลาเร่งด่วน
ขณะเดียวกันก็มีคนเห็นด้วยกับการปรับขึ้นราคา เพราะเห็นว่าการให้รัฐบาลออกค่าชดเชยจำนวนมหาศาลเพื่อการขนส่งมวลชนในระยะยาวก็เป็นไปได้ยาก การปรับขึ้นราคาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ที่สำคัญคือหลังปรับขึ้นราคาแล้ว คุณภาพการบริการจะดีขึ้นไหม นอกจากการปรับขึ้นราคาตั๋วแล้ว ยังมีวิธีอื่นที่แก้ปัญหาการคมนาคมหรือเปล่า
การใช้มาตรการราคาตั๋วถูกเพื่อสนับสนุนให้ผู้คนใช้บริการขนส่งมวลชนมากขึ้นนั้นทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่าชดเชยจำนวนมหาศาล ขณะเดียวกัน ปริมาณผู้ใช้บริการรถไฟใต้ดินมากเกินควร ผู้คนที่ใช้บริการรถเมล์ประจำทางมีน้อยลง เป็นการฟุ่มเฟือยอย่างหนึ่ง
แต่ก็จริงอย่างที่ว่า การใช้วิธีปรับขึ้นราคาเพื่อลดจำนวนผู้โดยสารในช่วงเวลาเร่งด่วนก่อนเข้าทำงาน และหลังเลิกงานเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก สำหรับผู้คนที่ต้องโดยสารรถไฟใต้ดินเพื่อเข้าทำงานนั้น ไม่ว่าจะปรับขึ้นมากเท่าไหร่ก็ต้องใช้บริการเหมือนเดิม แต่หากเพิ่มขึ้นมากเกินไปก็ไม่สอดคล้องกับนโยบายสนับสนุนการใช้บริการขนส่งมวลชน เพราะฉะนั้น หากเพิ่มเป็น 3 หรือ 5 หยวนนั้นก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาการคมนาคมในช่วงเวลาเร่งด่วนแต่อย่างใด
ขณะเดียวกันก็มีบางคนเห็นว่า เทศบาลปักกิ่งไม่ต้องให้ค่าชดเชยกับทุกคนที่มาถึงปักกิ่ง ค่าชดเชยควรจัดให้ผู้คนที่มีรายได้ต่ำ หากไม่ใช่คนที่ทำงาน ดำรงชีวิต แม้กระทั่งคนที่เดินทางมาท่องเที่ยวที่ปักกิ่งทุกคน ที่ผู้คนต้องการคือการคมนาคมที่ราบรื่น และปลอดภัย ค่าชดเชย 1.8 ล้านหยวนที่ให้กับการขนส่งมวลชนนั้นส่วนใหญ่จัดให้รถไฟใต้ดินปักกิ่ง แต่ถ้าเอา 1.8 ล้านหยวนนี้จัดให้กับประกันภัยสังคม หรือกิจการการศึกษาก็จะเป็นประโยชน์ด้วย