นักวิชาการจีนระบุ ต้องส่งเสริมการอนุรักษ์มรดกโลกในจีนอย่างยั่งยืน (2)
  2014-10-09 14:25:49  cri

เมื่อปี 1986 โบราณสถานของจีนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น จีนประสบความสำเร็จอีกหลายๆ ครั้งในการยื่นขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก ทำให้มรดกโลกในจีนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ทำให้การอนุรักษ์มรดกโลกของจีนได้รับความสนใจจากทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน โบราณสถานที่เป็นมรดกโลกในบางพื้นที่ของจีนไม่ได้รับการดูแล อนุรักษ์อย่างเหมาะสม

นายซู จื้อเลี่ยง หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฝึกหัดครูเซี่ยงไฮ้แสดงความกังวลว่า

รัฐบาลท้องถิ่นบางพื้นที่เข้าใจผิดว่า การขึ้นทะเบียนโบราณสถานเป็นมรดกโลกนั้นจะทำให้สถานที่แห่งนั้นมีชื่อเสียง สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากขึ้น ด้วยความคิดเห็นเช่นนี้ หลังสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว รัฐบาลท้องถิ่นมักจะเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างต่างๆ ภายใน หรือรอบๆ บริเวณสถานที่มรดกโลกแห่งนั้น เพื่อสร้างความสะดวกและรองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น แต่จริงๆ แล้ว การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นผลดีต่อการอนุรักษ์มรดกโลกเลย

นายซู จื้อเลี่ยง ยังกล่าวว่า ต้องยอมรับว่า เมื่อสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว ก็จะมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้น และสร้างรายได้จำนวนมหาศาลให้กับพื้นที่นั้น ยกตัวอย่าง เช่น เมืองโบราณลี่เจียง หลังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รายได้จากการท่องเที่ยงของเมืองนี้ภายในระยะเวลา 3 ปีสูงถึง 1,300 ล้านหยวน อีกตัวอย่างหนึ่งคือ เมืองโบราณผิงเหยา หลังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี 2004 รายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองนี้เพิ่มขึ้น จากปีละ 820,000 หยวนมาเป็น 48 ล้านหยวน มากกว่าแต่ก่อน 58 เท่า

อย่างไรก็ตาม การหารายได้จากโบราณสถานที่เป็นมรดกโลกจนมากเกินควรนั้นทำให้มรดกโลกได้รับความเสียหายอย่างหนัก เช่น ช่วงหลายปีมานี้ สภาพโดยรวมของถ้ำม่อเกาได้เสื่อมโทรมไปมาก ภาพเขียนภายในถ้ำจำนวนมากกำลังค่อยๆ จางหายไป ทั้งนี้เป็นเพราะว่า สถานที่แห่งนี้ได้รับนักท่องเที่ยวมากเกินไป คาร์ บอนไดออกไซด์และไอน้ำที่เกิดจากนักท่องเที่ยวที่เข้าชมได้ส่งผลกระทบต่อภาพเขียนในถ้ำอย่างมาก ผลการวิจัยเผยว่า ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ผลกระทบจากนักท่องเที่ยวมากกว่าผลกระทบจากธรรมชาติในช่วงเวลากว่าพันปี

นายซู จื้อเลี่ยง หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฝึกหัดครูเซี่ยงไฮ้ ยังล่าวว่า หลายประเทศใช้มาตรการอย่างเข้มงวดมากในการอนุรักษ์โบราณสถานที่เป็นมรดกโลก เช่น เมืองเล็กๆ ของสาธารณรัฐเช็กที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้รับการอนุรักษ์อย่างดีมาก โบราณสถานทุกแห่งในเมืองได้รับการอนุรักษ์ให้คงอยู่ในสภาพเดิมอย่างสมบูรณ์ เขาจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้าชม ขณะที่บัตรเข้าชมจำหน่ายในราคาต่ำมาก บางสถานที่ให้เข้าชมฟรีด้วยซ้ำ แต่โบราณสถานหลายแห่งในจีนไม่ได้รับการอนุรักษ์อย่างที่เขาทำ เช่นหมู่บ้านน้ำ "โจวจวง" ในมณฑลเจียงซูทางภาคตะวันออกของจีน แต่ละวันมีคนเข้าชมเยาะมาก แออัดมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงสุดสัปดาห์ วันหยุดราชการ และปิดเทอม การที่มีผู้เข้าชมเป็นจำนวนมากนั้นทำให้บ้านพักโบราณล้ำค่าทั้งด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมบางส่วนถูกทำลาย

นายถัง เฟย นักวิเคราะห์วัฒนธรรมของจีนชี้ว่า โบราณสถานในจีนหลังรับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว รัฐบาลท้องถิ่นมักจะดำเนินโครงการก่อสร้างขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมและด้านอื่นๆ เพื่อพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้ขัดกับเป้าหมายในการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเป็นมรดกโลก สำหรับสถานที่ ที่เป็นมรดกโลก สิ่งสำคัญอันดับหนึ่งคือ ต้องได้รับการอนุรักษ์เป็นอย่างดี เขากล่าวว่า

1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040