รู้จักระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย(ตอนจบ)
  2014-12-29 11:42:25  cri

โรคมะเร็งซึ่งเป็นโรคอันตรายมากที่สุดของมนุษยชาติ ใช้ยาเคมีรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสามารถรักษาให้หายเป็นปกติ ยืนยันให้เห็นว่า ศักยภาพการรักษาโรคของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสูงกว่ายาเคมี

เมื่อก่อน วงการแพทย์ไม่ได้ตระหนักว่า ผลข้างเคียงของยาเคมีจะมากถึงขนาดนี้ ทำให้ระบบคุ้มกันของผู้ป่วยประสบผลเสียไม่มากก็น้อยแล้วแต่ตัวยา บัดนี้ สมาคมแพทย์ในสหรัฐอเมริกาเตือนเจ้าหน้าที่การแพทย์ทั้งหมดในสหรัฐฯ ให้ระมัดระวังเรื่องการออกใบสั่งยา โดยเน้นว่า แพทย์มีความรับผิดชอบต่อการชี้แจงผลการรักษาของตัวยา โดยเฉพาะผลข้างเคียง จำเป็นที่จะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจดีว่าผลข้างเคียงของตัวยาเป็นอย่างไร ทางสมาคมฯ จึงมีคำสั่งห้ามหมอใช้ยาแก้อักเสบกับผู้ป่วยง่ายๆ ยกเว้นกรณีที่แน่ใจแล้วว่าผู้ป่วยเป็นหวัดเพราะติดเชื้อ มิฉะนั้น คุณวุฒิการทำงานของหมอจะถูกสมาคมยึดไป

ข้อมูลสถิติที่ไม่สมบูรณ์จากสมาคมแพทยศาสตร์ในสหรัฐฯ ระบุว่า ทุกปี พลเมืองอเมริกันจำนวน 9,600,000 คนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะผลข้างเคียงจากยาเคมี มี 28,000 คนเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจที่เกิดจากการทานยาแก้โรคหัวใจชนิดหนึ่ง มีอีก 3,300 คนถูกยาแก้อักเสบหัวเข่าคร่าชีวิตไป

นอกจากนี้แล้ว ในแต่ละปี เนื่องจากจากผลข้างเคียงของยา ชาวสหรัฐจำนวน 163,000 คนมีอาการความทรงจำเสื่อม จำนวน 38,000 คนป่วยโรคอัลไซเมอร์ และจำนวน 28,000 คนป่วยโรคกระดูกพรุน

ส่วนประกอบสำคัญของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

มองในแง่จุลภาค ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายดูเหมือนกองทัพ 3 เหล่าทัพ อวัยวะต่างๆ ทำหน้าที่เสมือนทั้งทหารบก ทหารเรือและทหารอากาศ เมื่อมีศัตรูบุกเข้าร่างกาย ก็จะจัดกำลังรบไปกำจัดให้หมดสิ้น ไขกระดูกมีหน้าที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นเซลล์เพชฌฆาต เซลล์เหล่านี้จะถูกนำส่งไปยังต่อมไทมัส

ต่อมไทมัสดูเหมือนค่ายทหาร เป็นที่ประจำการของเซลล์ต้านทานโรคหลายชนิด เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติ ต่อมไทมัสก็จะส่งเซลล์ต้านทานไปจัดการ คนทั่วไปอาจจะไม่ได้ยินชื่อต่อมไทมัสมาก่อนเพราะไม่ถูกพูดถึงบ่อยๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าต่อมไทมัสไม่สำคัญ สมรรถนะการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ผ่านเคมีบำบัดแล้ว ส่วนใหญ่จะเสื่อมโทรมลง แพทย์มักจะฉีดยากระตุ้นต่อมไทมัสเพื่อช่วยเสริมความสามารถการต้านทานเชื้อโรค

ม้ามก็เป็นอวัยวะที่มีสมรรถนะในการคุ้มกันโรคที่สำคัญเช่นกัน ในม้ามมีเซลล์วี(V cells) มากมาย ซึ่งมีหน้าที่สร้างสารภูมิต้านทานประเภทต่างๆ ในกรณีที่มนุษย์เป็นหวัดหรือเด็กเพิ่งรับการฉีดวัคซีน ม้ามก็ดูเหมือนมีอาการบวมและโตขึ้นกว่าปกตินิดหน่อย นี่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ สะท้อนให้เห็นว่า ม้ามกำลังผลิตอาวุธในร่างกาย ซึ่งก็คือโปรตีนต่อต้านเชื้อโรคอย่างเต็มความสามารถอยู่

ระบบน้ำเหลืองเป็นเสมือนเครื่องกรองในร่างกาย มีหน้าที่รวบรวมเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่บุกเข้าร่างกาย แล้วเซลล์อิมมูนก็จะกำจัดศัตรูจากภายนอกเหล่านี้ให้หมดสิ้น เพราะฉะนั้น จับต่อมน้ำเหลืองของคนเป็นหวัดก็จะรู้สึกแข็งกว่าธรรมดา เป็นสัญลักษณ์แสดงว่า ระบบคุ้มกันกำลังสู้รบอยู่ หลังจากอาการเป็นหวัดหายแล้ว ต่อมน้ำเหลืองก็จะอ่อนนุ่มลงเหมือนเดิม

ทั้งต่อมทอนซิลและไส้ติ่ง ล้วนเป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบคุ้มกันในร่างกาย บทบาทหลักๆ ของต่อมทอนซิลคือ ช่วยร่างกายต้านทานการติดเชื้อ ส่วนไส้ติ่งทำหน้าที่กวาดล้างเชื้อไวรัสประเภทต่างๆ ที่บุกเข้าช่องท้องส่วนล่าง ดังนั้น ทุกวันนี้ คุณหมอก็จะไม่แนะนำให้ผู้ป่วยผ่าตัดต่อมทอนซิลหรือไส้ติ่ง ยกเว้นในกรณีที่จำเป็น

1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040